ละโคนโขล

ละโคนโขล (เขมร: ល្ខោនខោល) เป็นนาฏกรรมสวมหน้ากากอย่างหนึ่งในประเทศกัมพูชา มีลักษณะใกล้เคียงกับการแสดงโขนของประเทศไทย ปัจจุบันมีละโคนโขลในกัมพูชาสองรูปแบบได้แก่ ละโคนโขลวัดสวายอัณแดต และละโคนโขลคณะระบำหลวงกัมพูชา[1][2] แต่เดิมจะใช้ผู้หญิงในการแสดง ต่างจากโขนของไทยที่จะใช้ผู้ชายแสดง[3]เดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 กระทรวงวัฒนธรรมของประเทศไทยได้ประกาศขอขึ้นบัญชีโขนเป็นมรดกโลก ทำให้ประชาชนในประเทศกัมพูชาไม่พอใจ และพากันแสดงความคิดเห็นว่าโขนเป็นวัฒนธรรมของคนกัมพูชาเท่านั้น[4][5][6] พอล เชมเบอร์ (Paul Chamber) จากสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองว่าเป็นการปลุกกระแสชาตินิยมกัมพูชามากกว่าจะการโต้เถียงเกี่ยวกับมรดกทางศิลปวัฒนธรรม[7]ยูเนสโกได้พิจารณาขึ้นทะเบียน ละโคนโขลคณะวัดสวายอัณแดต (ល្ខោនខោល វត្តស្វាយអណ្ដែត) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเร่งด่วนเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561[8][9] และกัมพูชาได้เขียนคำร้องแก่ยูเนสโกว่า "ขอแลกเปลี่ยนครูโขนจากประเทศเพื่อนบ้านไปช่วย รวมถึงบทละครที่กัมพูชายังไม่ครบสมบูรณ์"[10]

ละโคนโขล

รายการ มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่ต้องได้รับการสงวนรักษาอย่างเร่งด่วน
ประเทศ  กัมพูชา
ขึ้นทะเบียน 2561 (คณะกรรมการสมัยที่ 13)
เกณฑ์พิจารณา U.1, U.2, U.3, U.4, U.5
ภูมิภาค ** เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง 1374
สาขา ธรรมเนียมและการแสดงออกทางมุขปาฐะ, ศิลปะการแสดง, แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล

แหล่งที่มา

WikiPedia: ละโคนโขล http://socialnews.teenee.com/penkhao/22395.html http://whc.unesco.org/en/list/?search=&search_by_c... http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?n... https://thestandard.co/khon-unesco-intangible-cult... https://morning-news.bectero.com/m/main.php?m=news... https://issuu.com/lekprapai/docs/_______ https://issuu.com/lekprapai/docs/discourse_cambodg... https://www.matichonweekly.com/column/article_1554... https://www.matichonweekly.com/culture/article_225... https://mgronline.com/indochina/detail/96200000011...