รูปแบบไฟ ของ ลักษณะไฟ

ไฟนิ่ง

ไฟนิ่ง (Fixed light) ย่อว่า "F" เป็นไฟที่ส่องต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

ไฟวับ

ไฟวับ (Flashing light) คือไฟที่เป็นจังหว่ะซึ่งมีระยะเวลารวมของความสว่างสั้นกว่าระยะเวลาของความมืด และแสงวับของไฟมีระยะเวลาเท่ากันหมด โดยปกติจะใช้กับไฟวับจังหว่ะเดียวซึ่งจะทำให้เห็นไฟกระพริบเพียงจังหว่ะเดียววนซ้ำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งกรณีนี้จะเรียกโดย่อว่า "Fl" นอกจากนี้คำนี้ยังใช้ได้กับไฟวับในรูปแบบชุดที่วนเป็นชุดอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน ซึ่งในกรณีนี้จะใช้ตัวย่อคือ "Fl (2)" หรือ "Gr Fl (2)" สำหรับไฟวับชุดละ 2 ครั้ง การใช้งานในอีกรูปแบบคือในรุปแบบจังหว่ะเพิ่มเติม ซึ่งเป็นชุดที่ต่อเนื่องกันและมีการวับไฟต่างกัน เช่น "Fl" (2+1) หมายถึงไฟวับชุดแรก 2 ครั้ง ตามมาด้วยชุดต่อไป 1 ครั้ง

ในบางกรณีในการใช้งาน[3] เมื่อใช้ไฟวับยาวเกิน 2 วินาที ไฟดังกล่าวจะถูกเรียกว่า "ไฟวับยาว" (Long flashing) ตัวย่อคือ "L.Fl"

หากความถี่ในการวับสูง (มากกว่า 30[4] ถึง 50[3] ครั้งต่อนาที) ไฟนี้จะเรียกว่า "ไฟวับเร็ว" ดูรายละเอียดได้ด้านล่าง

ไฟวาบ

ไฟวาบ (Occulting light) คือไฟที่เป็นจังหวะซึ่งมีระยะของความสว่างในแต่ละช่วงนานกว่าระยะเวลาของความมืด พูดอีกอย่างก็คือมันตรงข้ามกับไฟวับซี่งมีระยะของความมืดนานกว่าระยะเวลาของความสว่าง มีลักษณะเหมือนปิดไฟกระพริบ แทนที่จะเป็นเปิดไฟกระพริบ เช่นเดียวกับไฟวับที่สามารถใช้ใช้ไฟวาบในการวาบไฟแค่ช่วงเดียว หรือสามารถจัดกลุ่มและทำซ้ำอย่างสม่ำเสมอได้ ย่อได้ว่า "Oc" จัดเป็นกลุ่ม Oc (3) หรือหมู่ประกอบกัน Oc (2+1)

กลไกการบังแสงของนาฬิกาที่เคยใช้งานอยู่ที่ประภาคารเกาะโคเค็ต

คำว่าบดบังถูกนำมาใช้เนื่องจากแต่เดิมทีจังหว่ะไฟนั้นได้มาจากการใช้กลไก (เช่น การโรลลิ่งชัตเตอร์หรือการใช้ฉากตั้งกั้น) ในการบังแสงเป็นระยะจากการมองเห็น

ไฟช่วงเท่า

ไฟช่วงเท่า (Isophase light) ย่อว่า "Iso" เป็นไฟที่มีช่วงคาบสว่างและคาบมืดยาวเท่ากัน คำนำหน้ามาจากภาษากรีก iso- แปลว่า "same" (เหมือนกัน)

ไฟวับเร็ว

ไฟวับเร็ว (Quick light) ย่อว่า "Q" เป็นกรณีพิเศษของไฟวับที่มีความถี่สูง (มากกว่า 30[4] หรือ 50[3] ครั้งต่อนาที) ซึ่งหากถ้าลำดับของการกระพริบถูกขัดจังหว่ะด้วยช่วงมืดซ้ำ ๆ กันเป็นประจำซึ่งมีระยะเวลาที่คงที่และนาน ไฟนั้นจะแสดงแบบ "วับเร็วเป็นห้วง ๆ" (Interrupted quick) หรือย่อว่า "I.Q"

บางครั้งก็ใช้สัญลักษณ์แบบกลุ่มที่คล้ายคลึงกับไฟวับและไฟวาบ[3] เช่น Q (9)

ในบางครั้ง อาจเกิดไฟวับด้วยความเร็วที่แตกต่างกันอีก[3]ระหว่าง ไฟวับ (มากกว่า 50 แต่น้อยกว่า 80 ครั้งต่อนาที) ไฟวับเร็วมาก (Very quick) (ตั้งแต่ 80 แต่ไม่เกิน 160 ครั้งต่อนาที ย่อว่า "V.Q") และ ไฟวับเร็วที่สุด (Ultra quick) (ตั้งแต่ 160 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป ย่อว่า "U.Q") ซึ่งสามารถใช่ร่วมกับสัญลักษณ์การขัดจังหว่ะ เช่น V.Q (9) คือกลุ่มไฟวับเร็วมากหนละ 9 ครั้ง ซึ่งลักษณะของไฟวับเร็วยังสามารถนำไปใช้กับลักษณะแบบอื่นได้อีก เช่น VQ (6) LFl คือไฟวับเร็วมากหนละ 6 ครั้ง และตามด้วยไฟวับยาว

ไฟรหัสมอร์ส

ไฟรหัสมอร์ส (Morse code light) ย่อว่า "Mo" คือไฟที่มีลักษณะของแสงที่มีระยะในการวับและวาบที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน (จุดและขีด) จัดเป็นกลุ่มเพื่อแสดงอักขระหรืออักษรในรหัสมอร์ส ตัวอย่างเช่น "Mo (A)" คือไฟซึ่งแต่ละช่วงจะแสดงแสงวับในช่วงสั้น ๆ (จุด) ตามด้วยแสงวาบซึ่งนานกว่า (ขีด) ซึ่งเป็นรหัสมอร์สของ "A" ·–

ไฟนิ่งและวับ

ไฟนิ่งและวับ (Fixed and flashing) ย่อว่า "F. Fl" เป็นไฟนิ่งที่มีความเข้มต่ำและมีไฟวับที่มีความเข้มสูงแทรกเข้ามา

ไฟสลับ

ไฟสลับ (Alternating) ย่อว่า "Al" เป็นไฟที่แสดงสีสลับกัน ตัวอย่างเช่น "Al WG" จะแสดงไฟสีขาว (White) และสีเขียว (Green) สลับกัน