ข้อวิจารณ์ ของ ลัทธิข้อยกเว้นไทย

นักวิชาการตะวันตกบางส่วนถือประเด็นกับญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทย บ้างถือว่าหัวสูง (elitist) และรู้สึกว่ามันก่อให้เกิดความไม่ลงรอยระหว่างชาวไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี สำคัญต้องเข้าใจว่าคำ "ลัทธิข้อยกเว้น" ในบริบทนี้ไม่ได้หมายความว่าเหนือกว่า แต่หมายถึงความไม่เหมือนผู้ใด และความรู้สึกว่าประเทศไทยมีลักษณะเฉพาะซึ่งไม่พบในภูมิภาคอื่นมากกว่า

ลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยว

นักวิจารณ์ญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทยอ้างความโอหังชาตินิยมว่าเป็นอุปสรรคต่อบูรณาการอาเซียน ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อความมั่งคั่งและเสถียรภาพโดยการทำให้โครงสร้างทางสังคมของไทยที่ไม่เท่าเทียมว่าชอบด้วยเหตุผล[3] ในปี 2561 รัฐบาลไทยสร้างการรณรงค์ "อำนาจอ่อน" ชื่อ ไทยนิยม เพื่อส่งเสริมญัตติลัทธิข้อยกเว้นไทย นักวิชาการไทยบางส่วนเรียกว่าเป็น "แค่โฆษณาชวนเชื่อของรัฐ"[4]

ในบางโอกาส ผู้ถือลัทธิข้อยกเว้นไทยใช้เพื่ออ้างเหตุผลขัดขวางเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น ดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เจตนาขัดขวางผู้สังเกตการณ์การเลือกตั้งชาวต่างชาติ โดยอ้างว่า "คนไทยภูมิใจที่จัดการเลือกตั้งโดยปลอดอิทธิพลต่างประเทศ"[5]

สิทธันตนิยมทางการเมือง

มีหลายเหตุการณ์ที่ชาวเน็ตชาตินิยมชาวไทยแสดงลัทธิข้อยกเว้นไทยเพื่อตอบโต้ข้อวิจารณ์จากชาวต่างประเทศ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ บางทีมีการใช้ลัทธิข้อยกเว้นไทยเพื่อปัดข้อวิจารณ์ต่อลัทธิอำนาจนิยม ดังเช่น ในสุนทรพจน์ของพลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ว่า

"ระบอบประชาธิปไตยในโลกนี้ล้วนแล้วแต่มีวัฒนธรรมของระบอบประชาธิปไตยของตัวเอง ท่านลองถามตัวเองว่าเมื่อท่านไปอยู่ประเทศอื่น ไปศึกษาไปเรียน หรือไปเที่ยวประเทศอื่น ทำไมท่านจะต้องปรับตัวให้เข้ากับประเทศอื่นตามระบอบประชาธิปไตยของประเทศนั้น [...] เราอยู่กันแบบไทย ๆ นี่คือวัฒนธรรมของระบอบประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ขอให้รักกันจะไปร่ำไปเรียนที่ไหนมา ไปเอาตำราประเทศไหน ไม่อยากจะเอ่ยชื่อ เอาของเขามาแล้วมาดูด้วยว่าควรจะมาดัดแปลง แต่ไม่ใช่พยายามจะเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข อย่าไปเอาความซ้ายจัดที่ไปเรียนมาแล้วมาดัดจริต ประเทศอื่นเขาไม่มีที่จะมีแบบนี้ นี่คือเมืองสยาม เมืองแห่งรอยยิ้ม เมืองที่เรามีระบอบประชาธิปไตยของเราแบบนี้ สิ่งที่ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ ต้องการคือมีคนไทยรักกัน หันหน้าเข้าหากัน"

ความคล้ายกับชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อื่น

นักวิชาการส่วนใหญ่เสนอว่าในความเป็นจริงแล้ววัฒนธรรมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติ โดยยกประวัติศาสตร์ว่าประเทศไทยวิวัฒนามาจากอาณาจักรอินเดียอย่างจักรวรรดิขแมร์และอาณาจักรอยุธยา จึงมีความคล้ายหลายประการระหว่างวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มวยไทยกับประดัลเสรี หรือสงกรานต์กับตะจาน[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง