การปะทุ ของ ลาเคอร์เซ

ปรากฏการณ์ภูเขาไฟในประเทศเยอรมนีนั้นย้อนหลังไปได้หลายล้านปี ซึ่งเกี่ยวกับพันกับรอยร้าวซีโนโซอิกยุโรปที่ทวีตัวขึ้นเนื่องจากแผ่นเปลือกโลกยูเรเชียกับแอฟริกาชนกัน

การระเบิดครั้งแรก ๆ ของทะเลสาบแห่งนี้ ซึ่งเกิดในปลายฤดูใบไม้ผลิหรือต้นฤดูร้อน ส่งผลให้ต้นไม้ราบออกไปถึง 4 กิโลเมตร หินหนืดทำให้เกิดเส้นทางเปิดเข้าสู่พื้นผิวซึ่งปะทุอยู่ราว 10 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มเถ้าถ่านพุ่งขึ้นสูงถึงราว 35 กิโลเมตร การปะทุดำเนินไปหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน ก่อให้เกิดหินตะกอนภูเขาไฟไหลออกมาเป็นทาง พัดพาเทฟราท่วมหุบเขายาวไปถึง 10 กิโลเมตร และที่ใกล้ปล่องภูเขาไฟนั้น มีสิ่งทับถมหนากว่า 50 เมตร และแม้ในจุดที่ห่างออกไป 5 กิโลเมตร ก็ยังหนาถึง 10 เมตร เชื่อว่า พืชและสัตว์ในรัศมีราว 60 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงเหนือ และ 40 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้ น่าจะถูกทำลายไปทั้งสิ้น[6] มีการประเมินว่า มีหินหนืดปะทุออกมา 6 ลูกบาศก์กิโลเมตร[7] ซึ่งก่อให้เกิดเทฟราราว 16 ลูกบาศก์กิโลเมตร[8] การปะทุแบบพลิเนียนที่มหาศาลเช่นนี้ มีค่า 6 ตามดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ

เทฟราที่ทับถมขึ้นจากการปะทุนี้ทำให้เกิดเป็นเขื่อนขึ้นในรัฐไรน์ลันท์ โดยเป็นทะเลสาบขนาด 140 ตารางกิโลเมตร เมื่อพื้นที่เขื่อนนั้นแตก น้ำที่ทะลักออกมาก็ไหลไปตามกระแสน้ำ และทิ้งสิ่งทับถมไว้ไกลถึงเมืองบอนน์[7] มีการระบุว่า ผลกระทบเกิดในพื้นที่กว่า 300,000 ตารางกิโลเมตร แผ่ไปตั้งแต่ตอนกลางประเทศฝรั่งเศสจนถึงตอนเหนือประเทศอิตาลี และตอนใต้ประเทศสวีเดนจนถึงประเทศโปแลนด์[9] นอกจากนี้ ยังก่อให้ประเทศเยอรมนีเกิดฤดูร้อนที่หนาวเย็นไปหลายปีและภาวะสิ่งแวดล้อมสับสนถึง 20 ปี สภาพชีวิตของประชากรท้องถิ่น ซึ่งเรียกว่า วัฒนธรรมเฟเดอร์เมสเซอร์ ก็ได้รับความวุ่นวายเช่นกัน ก่อนเกิดการปะทุนั้น คนกลุ่มนี้ดำรงชีพด้วยการหาของป่าและล่าสัตว์โดยใช้หอกและธนู แต่หลังเกิดการปะทุแล้ว พื้นที่ที่คนกลุ่มนี้อาศัยอยู่ โดยเฉพาะแอ่งทือริงเงิน ได้รับผลกระทบมากที่สุด ทำให้ประชากรคนกลุ่มนี้ลดลงอย่างยิ่ง[10]

อนึ่ง เคยมีการอภิปรายว่า การปะทุนี้น่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดยังเกอร์ไดรอัส ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่หนาวเย็นไปทั่วโลกในช่วงใกล้สิ้นยุคน้ำแข็ง เพราะเป็นช่วงเวลาที่ประจวบกันพอดี[11] แต่การลำดับเวลาที่ปรับปรุงใหม่และเผยแพร่ใน ค.ศ. 2021 นั้น แสดงให้เห็นว่า ยังเกอร์ไดรอัสเกิดขึ้นราว 200 ปีหลังการปะทุนี้ จึงน่าจะเป็นไปไม่ได้อีกที่การปะทุนี้จะเป็นสาเหตุของยังเกอร์ไดรอัส[12]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลาเคอร์เซ http://www.b-tu.de/fg-gewaesserschutz/publikatione... http://geosociety.org/meetings/2011munich/fieldTri... http://www.therafoundation.org/articles/volcanolog... https://books.google.com/books?id=gwVQwrwendQC&pg=... https://translate.google.com/translate?hl=en&sl=de... https://www-docs.b-tu.de/fg-gewaesserschutz/public... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2008PPP...270..1... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1995E&PSL.133..1... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/1999QuInt..61...... https://ui.adsabs.harvard.edu/abs/2002QuRes..58..2...