ความเป็นมาของมูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ ของ ลุงขาวไขอาชีพ

ในปี 2511 "ลุงขาว" หลังจากรถยนต์ที่ใช้ฝึกสอนอาชีพเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ ไม่สามารถไปฝึกสอนในต่างจังหวัดได้อีก "ลุงขาว" และผู้ฟังวิทยุรวมกลุ่มกันจัดตั้ง "ชมรมสัมมาอาชีพวิทยาทาน" สอนอาชีพง่ายๆ โดยผู้สอนที่มิจิตใจเสียสละ มาสอนให้โดยไม่คิดค่าตอบแทน ในปี 2512 "สันนิบาตเสรีชนแห่งประเทศไทย" ถนนเพลินจิต ได้ให้สถานที่สอนอาชีพเพื่อเป็นวิทยาทานในวันเสาร์และอาทิตย์ มีผู้มาเรียนวันละประมาณ 400 คน วิชาที่จะเรียนก็เป็นอาชีพง่ายๆ เรียนได้ในวันเดียวหรือครึ่งวัน ไม่ต้องมีทุนทรัพย์มาก เช่น การทำขนมครก การทำปาท่องโก๋ เทคนิคการถ่ายภาพและอัดภาพ หรือกระทั่งการทำตุ่มซีเมนต์แบบง่ายโดยใช้กระสอบเย็บขึ้นรูปเป็นตุ่มบนแผ่นซีเมต์ก้นตุ่มที่ได้เตรียมไว้แล้ว ใส่แกลบเข้าไปในกระสอบให้เต็ม ทาจาระบีให้ทั่วแล้วพอกด้วยปูนซีเมนต์ เมื่อปูนแห้งก็นำแกลบและกระสอบออก ก็จะได้ตุ่มตามต้องการ ตุ่มซีเมนต์แบบนี้จะมีขนาดใหญ่เท่าใดก็ได้ตามต้องการเพราะสร้างอยู่กับที่ไม่ต้องเคลือนย้าย ซึ่งผู้ที่เผยแพร่วิธีนี้แก่"ลุงขาว" คือ พ่อค้าชื่อ "หลวง มหานาม" ยังมีการสอนวิชาชีพจากวิทยากรที่เข้ามาช่วยโดยเสียสละเวลามาและไม่มีค่าตอบแทนใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาชีพช่างต่าง ๆ ,การตัดเย็บเสื้อผ้า,การทำขนม เช่น โรตีสายไหม,น้ำหวานบรรจุขวดแบบไม่ใส่สารกันบูด (บุตรสาวลุงขาวสอนเอง),การต่อเรือเล็ก โดยอาจารย์บุญยืน สุวรรณานนท์ ,การสอนซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยอาจารย์นิวัฒน์ แจ้งพลอย การทำดอกไม้ประดิษฐ์ โดยอาจารย์ ประยงค์ บุญประกอบ การสอนศิลปป้องกันตัว การทำซิลค์สกรีน เป็นต้น ภายหลังชมรมสัมมาอาชีพวิทยาทาน ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชมรมลุงขาวไขอาชีพ และ "มูลนิธิลุงขาวไขอาชีพ" องค์กรสมาชิกสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามลำดับ[7]

ใกล้เคียง