ลูนาร์เกตเวย์
ลูนาร์เกตเวย์

ลูนาร์เกตเวย์

ลูนาร์เกตเวย์ (อังกฤษ: Lunar Gateway) หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เกตเวย์ เป็นสถานีอวกาศขนาดเล็กที่วางแผนให้อยู่ในวงโคจรของดวงจันทร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ โมดูลที่อยู่อาศัยระยะสั้นสำหรับนักบินอวกาศของทางการ และพื้นที่สำหรับยานสำรวจ และหุ่นยนต์อื่น ๆ เป็นโครงการความร่วมมือข้ามชาติที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานพันธมิตรของสถานีอวกาศนานาชาติสี่แห่ง ได้แก่ นาซา, องค์การอวกาศยุโรป (ESA), องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA) และ องค์การอวกาศแคนาดา (CSA) มีการวางแผนที่จะเป็นทั้งสถานีอวกาศแห่งแรกที่อยู่นอกวงโคจรระดับต่ำของโลกและเป็นสถานีอวกาศแห่งแรกที่โคจรรอบดวงจันทร์[4][5]เดิมชื่อ ดีฟสเปซเกตเวย์ (DSG) สถานีนี้เปลี่ยนชื่อเป็น ลูนาร์ออบิทัลแพลตฟอร์ม-เกตเวย์ (LOP-G) ในข้อเสนอปี ค.ศ. 2018 ของนาซาสำหรับงบประมาณของรัฐบาลกลางสหรัฐปี ค.ศ. 2019[6][7] เมื่อกระบวนการจัดทำงบประมาณเสร็จสิ้น สภาคองเกรสอนุมัติงบประมาณ 332 ล้านเหรียญสหรัฐในการศึกษาเบื้องต้น[โปรดขยายความ][8][9][10]สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่จะศึกษาบนเกตเวย์คาดว่าจะรวมถึงวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ การสังเกตโลก เฮลิโอฟิสิกส์ ชีววิทยาอวกาศขั้นพื้นฐาน สุขภาพและประสิทธิภาพของมนุษย์ มีการวางแผนการก่อสร้างในปี ค.ศ. 2020[11] Construction is planned to take place in the 2020s.[12][13][14] กลุ่มประสานงานการสำรวจอวกาศนานาชาติ (ISECG) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านอวกาศมากกว่า 14 แห่งรวมถึงหน่วยงานหลักทั้งหมด สรุปว่า เกตเวย์จะมีความสำคัญในการขยายการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ดาวอังคาร และลึกลงไปในระบบสุริยะ[15]โครงการนี้คาดว่าจะมีบทบาทสำคัญในโครงการอาร์ทิมิสของนาซาหลังปี ค.ศ. 2024 แม้ว่าโครงการนี้นำโดยนาซาแต่เกตเวย์มีขึ้นเพื่อพัฒนา ให้บริการ และใช้งานร่วมกับซ๊ซา, อีซา, แจ็กซา และพันธมิตรทางการค้า มันจะทำหน้าที่เป็นจุดจัดเตรียมสำหรับการสำรวจขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ทั้งโดยหุ่นยนต์และโดยมนุษย์ และเป็นจุดจัดเตรียมที่เสนอสำหรับแนวคิดดีพสเปซทรานสปอร์ตของนาซาสำหรับการขนส่งไปยังดาวอังคาร[16][12][17]

ลูนาร์เกตเวย์

จำนวนลูกเรือ 4 (แผนการณ์)
สถานะภารกิจ อยู่ระหว่างวัฒนา
ปริมาตรอากาศ ≥125 m3 (4,400 cu ft) (แผนการณ์)[2]
จุดใกล้โลกที่สุด 3,000 km (1,900 mi)[3]
ความเอียงวงโคจร โพลาร์ วงโคจรรัศมีใกล้เส้นตรง (NRHO)
จรวดขนส่ง ฟัลคอน เฮฟวี
เอสแอลเอส บล็อค 1บี
ส่งขึ้นเมื่อ พฤศจิกายน ค.ศ. 2024 (แผนการณ์)[1]
คาบการโคจร ≈7 วัน
ฐานส่ง ศูนย์ปล่อยยานอวกาศเคนเนดี คอมเพล็กซ์ 39
จุดไกลโลกที่สุด 70,000 km (43,000 mi)

แหล่งที่มา

WikiPedia: ลูนาร์เกตเวย์ http://www.planetary.org/blogs/casey-dreier/2019/0... http://www.planetary.org/blogs/jason-davis/2018/20... https://www.nasaspaceflight.com/2017/04/nasa-goals... https://www.space.com/38287-nasa-russia-deep-space... https://spacenews.com/senate-bill-restores-funding... https://www.theguardian.com/science/2018/feb/12/tr... https://www.nasa.gov/artemis-1 https://www.nasa.gov/feature/competition-seeks-uni... https://www.nasa.gov/feature/deep-space-gateway-to... https://www.nasa.gov/feature/nasa-seeks-ideas-for-...