โอกาสที่ใช้บรรเลง ของ วงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์มอญแท้จริงแล้วใช้บรรเลงได้ในงานมงคล แต่คนไทยส่วนใหญ่นิยมใช้บรรเลงในงานศพ สืบเนื่องมาจากมีการนำวงปี่พาทย์มอญไปบรรเลงในงานพระบรมศพสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริว่า พระราชมารดาของพระองค์นั้นทรงมีเชื้อสายมอญโดยตรง จึงโปรดให้นำวงปี่พาทย์มอญมาบรรเลง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้เป็นความเชื่อและยึดถือมาโดยตลอดว่า วงปี่พาทย์มอญเล่นเฉพาะงานศพเท่านั้น[2]

งานศพสมัยก่อนนั้นจะใช้เพลงประโคมที่เรียกว่า"ประจำวัด"โดยจะประโคมหลังการสวดพระอภิธรรมเสร็จสิ้น เช่นเดียวกับวงปี่พาทย์นางหงส์ นอกจากนี้ก็ยังมีเพลงเวียนเมรุ หาบกล้วย จุดเทียน ในยุคหลังๆได้มีครูดนตรีไทยที่มีเชื้อสายมอญแต่งเพลงมอญให้วงปี่พาทย์มอญเช่นประจำบ้าน ย่ำเที่ยง ย่ำค่ำ ฯลฯ

ในยุคปัจจุบันก็มีเพลงมอญเกิดขึ้นอย่างมากมาย ส่วนใหญ่ก็จะนำเพลงที่คนส่วนใหญ่รู้จักนำมาแต่งเป็นสำเนียงมอญ ทำให้เพลงมอญในปัจจุบันมีความแตกต่างจากเพลงมอญโบราณเป็นอย่างมาก[3]

ใกล้เคียง