วงศ์หนูทุ่ง
วงศ์หนูทุ่ง

วงศ์หนูทุ่ง

วงศ์หนูทุ่ง เป็นวงศ์ของสัตว์ฟันแทะขนาดเล็กจำพวกหนูวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อว่า Cricetidae เป็นวงศ์ที่มีสมาชิกหลากหลายมากมาย อาทิ แฮมสเตอร์, แฮมสเตอร์แคระ, หนูเลมมิ่ง, หนูทุ่ง ซึ่งยังสามารถแยกออกเป็นวงศ์ย่อย ๆ ได้อีก (ในบางข้อมูลจัดให้เป็นวงศ์เดียวกับ Muridae[1])หนูในวงศ์นี้มีประมาณ 600 ชนิด กระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะในซีกโลกใหม่ และยังพบได้ที่ ยุโรป และเอเชีย เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก โดยขนาดเล็กที่สุด คือ หนูแคระโลกใหม่ มีขนาดยาวประมาณ 5–8 เซนติเมตร (2.0–3.1 นิ้ว) และน้ำหนักประมาณ 7 กรัม (0.25 ออนซ์) จนถึงขนาดใหญ่ที่สุด คือ หนูมัสก์ ที่ยาว 41–62 เซนติเมตร (16–24 นิ้ว) และมีน้ำหนัก 1,100 กรัม (39 ออนซ์) หางมีความเรียวยาวไม่มีขนและมีเกล็ด มีขนาดที่แตกต่างกันออกไป ใช้สำหรับทรงตัวและเกาะเกี่ยวได้โดยเฉพาะหนูที่อาศัยอยู่ในท้องทุ่ง หรือพื้นที่เกษตรกรรม ขนส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลและส่วนท้องสีขาว แต่ก็มีสีต่าง ๆ แตกต่างกันไปได้[2]เช่นเดียวกับหนูในวงศ์ Muridae คือ พบได้แทบทุกภูมิประเทศที่มีความแตกต่างหลากหลาย ตั้งแต่อาร์กติกเซอร์เคิล, ท้องทุ่ง, ทะเลทรายที่แห้งแล้ง, บ้านเรือนของมนุษย์ หรือพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยปกติเป็นสัตว์ที่กินเมล็ดพืชเป็นอาหาร แต่ก็กินอาหารได้หลากหลายมาก เช่น เนื้อสัตว์, ซากสัตว์, อาหารที่กินเหลือ, แมลง เป็นต้น ฟันมีลักษณะเป็นฟันแทะที่งอกใหม่ได้ตลอดเวลา ในอัตราปีละ 5 นิ้ว เป็นฟันที่มีความแข็งแรง ซึ่งทำให้แทะได้แม้แต่สายไฟ หรือฝาผนังปูนซีเมนต์ สามารถเขียนเป็นสูตรฟันได้ว่า 1.0.0.3 1.0.0.3 {\displaystyle {\tfrac {1.0.0.3}{1.0.0.3}}} [2][3]เป็นสัตว์ที่มีระบบเผาพลาญพลังงานหรือแมตาบอลิซึมเร็วมาก ในวันหนึ่งหัวใจเต้นได้เร็วมาก ถึงขนาดเมื่อเทียบกับหัวใจของช้างจะเท่ากับหัวใจของช้างเต้นถึง 70 ปี จึงเป็นสัตว์ที่มีความตื่นตัว ว่องไวตลอดเวลา โดยจะกินอาหารแทบทุกชั่วโมง โดยวันหนึ่ง สามารถกินอาหารได้มากถึงร้อยละ 40 ของน้ำหนักตัว เทียบเท่ากับมนุษย์กินซีเรียลมากถึงวันละ 80 กล่อง และเมื่อไปถึงที่ไหนมักจะถ่ายฉี่ไว้ ซึ่งเป็นการปล่อยฟีโรโมน รวมถึงการถ่ายมูลทิ้งไว้ด้วย [3]แพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว มีระยะเวลาการตั้งท้องประมาณ 15-50 วัน ปีหนึ่งสามารถออกลูกได้หลายครอกและสามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้เป็นพันตัว[2]ในประเทศไทย มีหนูในวงศ์นี้เพียงชนิดเดียว คือ หนูน้ำดอยอ่างกา (Eothenomys melanogaster)[4] ซึ่งพบได้ที่ดอยอ่างกา จังหวัดเชียงใหม่[5]