ระบบวรรณยุกต์ ของ วรรณยุกต์

ในภาษาที่มีวรรณยุกต์ หรือ "ภาษาวรรณยุกต์" ทุกพยางค์จะมีระดับเสียงที่กำหนดไว้แล้ว ดังนั้น พยางค์สองพยางค์สามารถมีพยัญชนะที่เหมือนกัน และ สระที่เหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถมีวรรณยุกต์ที่ไม่เหมือนกันได้

กลุ่มภาษาไท

ภาษาไทยมาตรฐาน

ภาษาไทยมาตรฐานมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ

  1. คา [kʰaa˧]
  2. ข่า [kʰaa˨˩]
  3. ข้า/ค่า [kʰaa˥˩]
  4. ค้า [kʰaa˦˥]
  5. ขา [kʰaa˨˦]

ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aa] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์

ภาษาลาวถิ่นเวียงจันทน์ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ

  1. กา (ກາ) [kaa˨˩]
  2. ขา (ຂາ) [kʰaa˨˦]
  3. ข่า/ค่า (ຂ່າ/ຄ່າ) [kʰaa˧]
  4. ข้า (ຂ້າ) [kʰaa˧˩]
  5. คา (ຄາ) [kʰaa˧˥]
  6. ค้า (ຄ້າ) [kʰaa˥˩]

ดั่งภาษาไทย ทุกคำที่กล่าวข้างบน ยกเว้น กา ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [kʰ] (มิใช่รูปพยัญชนะ คือ ข ค) และเสียงสระเดียวกัน คือ [aa] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน (มิใช่รูปพยัญชนะ เช่น ไม้เอก ไม้โท)

ภาษาไทยถิ่นเชียงใหม่

คำเมืองถิ่นเชียงใหม่ส่วนใหญ่มีวรรณยุกต์ 6 เสียง คือ

  1. กา [kaa˦˦]
  2. ก่า [kaa˨˨]
  3. ก้า [kaa˦˩]
  4. ก้า (โทพิเศษ) [kaa˥˧]
  5. ก๊า [kaa˦˥˦]
  6. ก๋า [kaa˩˦]

ทุกคำที่กล่าวข้างบน ล้วนแต่ประกอบด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน คือ [k] และเสียงสระเดียวกัน คือ [aa] แต่มีเสียงวรรณยุกต์ซึ่งไม่เหมือนกัน และไม่มีในภาษาไทย

ภาษาจีนกลาง

ภาษาจีนกลางมีวรรณยุกต์ 5 เสียง คือ

  1. mā (媽/妈) "แม่"
  2. má (麻/麻) "กัญชา"
  3. mǎ (馬/马) "ม้า"
  4. mà (罵/骂) "ด่า"
  5. ma (嗎/吗) (คำลงท้ายใช้ถามคำถาม)