การทำงาน ของ วรวีร์_มะกูดี

วงการฟุตบอล

วรวีร์กลับมาเกี่ยวข้องกับฟุตบอลอีกครั้ง[ไม่แน่ใจพูดคุย] เมื่อเข้าไปเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลตำรวจดับเพลิง ในระดับถ้วยพระราชทานประเภท ข ประมาณ 2 ปี ก่อนจะทำการก่อตั้ง รวมถึงเป็นผู้จัดการสโมสรฟุตบอลโรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์ (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2532) และสโมสรฟุตบอลโรงเรียนศาสนวิทยา (เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2535) จนกระทั่งเลื่อนชั้นขึ้นไปแข่งในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ก

ในสมัยที่ พลตำรวจโท ชลอ เกิดเทศ เป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการติดต่อทาบทามวรวีร์ ให้เข้ามาเป็นรองเลขาธิการสมาคมฯ เป็นตำแหน่งแรก เพื่อช่วยเหลืองานกับวิจิตร เกตุแก้ว เลขาธิการสมาคมฯ ในชุดนั้น หลังจาก พลตำรวจโท ชลอ พ้นจากตำแหน่งนายกสมาคมฯ เมื่อปี พ.ศ. 2538 วิจิตรก็ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พร้อมกันนั้น วรวีร์ก็เลื่อนขึ้นเป็นเลขาธิการสมาคมฯ โดยอยู่ในตำแหน่งดังกล่าว เป็นเวลา 12 ปี ก่อนที่วิจิตรจะลาออกเมื่อปี พ.ศ. 2550 และจากนั้น สภากรรมการสมาคมฟุตบอลฯ ลงมติเลือกวรวีร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฯ เป็นคนที่ 15 และต่อเนื่องเป็นวาระที่ 3 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน

สำหรับการดำรงตำแหน่งระดับนานาชาตินั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 วรวีร์เป็นสมาชิกผู้บริหาร (Executive member) ของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า)[4] จนถึงปี พ.ศ. 2558 จึงเลื่อนขึ้นไปเป็นที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารสหพันธ์ฯ[5] ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 วรวีร์ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นประธานสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) โดยมีการประชุมสมาชิกของสมาพันธ์ เพื่อลงคะแนนเลือกตั้งที่ประเทศมาเลเซีย[6] แต่ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า เชค ซัลมาน บิน อิบราฮิม อัล-คอลิฟะห์ จากประเทศบาห์เรนชนะ ซึ่งมีกระแสข่าวว่า เชค อะห์หมัด อัล-ฟาฮัด อัล-อะห์เหม็ด อัล-ซาบะห์ ประธานสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย ให้การสนับสนุน ได้รับคะแนนเสียงสูงสุด จึงเข้าเป็นประธานเอเอฟซีดังกล่าว[7]

ทั้งนี้ ในวาระการดำรงตำแหน่งของวรวีร์ ทีมชาติไทยได้รับการจัดอันดับโลกฟีฟ่ามีอันดับต่ำสุดในประวัติฟุตบอลไทย โดยต่ำสุดที่อันดับ 158 ของโลก (ก.ย. 2557) [8][9]

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการอิสระฝ่ายวินัยและจริยธรรม ของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ออกคำสั่งให้วรวีร์ยุติการเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมใดๆ ในวงการฟุตบอลทั้งในและต่างประเทศ เป็นเวลา 90 วันโดยให้มีผลทันที เพื่อให้มีการตรวจสอบข้อกล่าวหา กรณีละเมิดประมวลจริยธรรมของฟีฟ่า มาตรา 83 วรรค 1 หรือไม่[10][11] โดยวรวีร์กล่าวต่อมาว่า เขารับทราบคำสั่งของฟีฟ่าดังกล่าวแล้ว แต่ยังคงข้องใจอยู่ว่า คณะกรรมการฯ ออกคำสั่งเช่นนี้ได้อย่างไร เพราะทำให้ตนเสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำสั่งดังกล่าวยังไม่เป็นที่สุด ดังเช่นกรณีของมีแชล ปลาตีนี ประธานสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ซึ่งฟีฟ่าออกคำสั่งลักษณะเดียวกันมาก่อนหน้า ก็ยังสามารถจัดประชุมคณะกรรมการบริหารของยูฟ่าได้ตามปกติ เขาจึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของสมาคมฯ ทำเรื่องอุทธรณ์อย่างเร่งด่วน ตามสิทธิซึ่งฟีฟ่าเปิดช่องไว้ให้[12]

เนื่องจากวรวีร์เป็นหนึ่งในผู้สมัครลงรับการเลือกตั้ง ในตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ทางฟีฟ่าจึงส่งคณะทำงานชุดหนึ่ง ให้เดินทางมาเก็บข้อมูล เกี่ยวกับการเลือกตั้งนายก อุปนายก และสภากรรมการสมาคมฯ ชุดใหม่ที่ประเทศไทย เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ให้เกิดความชัดเจนและเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ในวันที่ 13 ตุลาคม จากนั้นก็มีคำแนะนำให้สภากรรมการสมาคมฯ เรียกประชุมวาระพิเศษ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมลงมติ เลื่อนการเลือกตั้งดังกล่าวออกไปก่อน[13] เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม โดยออกมติให้ยกเลิกกระบวนการเลือกตั้งทั้งหมด และให้รอการพิจารณาออกคำสั่งจากฟีฟ่า จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการเลือกตั้งใหม่เป็นลำดับต่อไป พร้อมทั้งลงมติแต่งตั้งให้ภิญโญ นิโรจน์ อุปนายกคนที่หนึ่งของสมาคมฯ ขึ้นรักษาการในตำแหน่งนายกสมาคมฯ โดยให้มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ฟีฟ่าออกคำสั่งระงับดังกล่าวคือ 12 ตุลาคม[14]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลฯ

  • พ.ศ. 2550
    • 18 มีนาคม – ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นลำดับที่ 16
  • พ.ศ. 2551
    • 6 กุมภาพันธ์ - ทีมชาติไทยชุดใหญ่ นำผู้เล่นติดโทษแบน 2 คนเดินทางไปแข่งนัดเจอกับญี่ปุ่นในนัดเยือน[15]
  • พ.ศ. 2554
    • 6 พฤษภาคม - ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2553 ของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ซึ่งมีการเลือกตั้งนายกสมาคม แต่วรวีร์ มะกูดี รักษาการนายกสมาคมฯ ประกาศว่า สภากรรมการมีมติให้เลื่อนการประชุมออกไป และจัดให้มีการประชุมสภากรรมการวาระเร่งด่วน ซึ่งวรวีร์ระบุว่า พบปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจที่มีซ้ำซ้อน[16]
    • 10 พฤษภาคม - อดีตประธาน เอฟเอ อังกฤษ ออกมาแฉว่า วรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ในคณะกรรมการบริหารฟีฟ่าที่ขายเสียงในการโหวตเจ้าภาพฟุตบอลโลก 2018 โดยเบื้องหน้าคือให้อังกฤษมาเตะอุ่นเครื่องกับทีมชาติไทย แต่เบื้องหลังคือขอลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดเกมอุ่นเครื่องนัดนี้ไปทั่วโลก แลกกับการโหวตให้ประเทศอังกฤษเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก[17]
    • 12 พฤษภาคม บังยี แจงปมพัวพันรับสินบนโหวตเจ้าภาพบอลโลก พ้นข้อกล่าวหา ทั่วโลกยอมรับโปร่งใส[18]
  • พ.ศ. 2555
    • 29 กุมภาพันธ์ - วรวีร์ได้เคยให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเงื่อนไขการดำรงตำแหน่งและการตกรอบฟุตบอลโลก 2014 ไว้ เมื่อดำรงตำแหน่งครบสามเดือน ความส่วนหนึ่งว่า "จริง ๆ แล้วผมไม่ใช่คนที่ยึดติดกับตำแหน่ง และไม่เคยคิดจะอยู่ตรงนี้ยาว แต่มีความมุ่งมั่นและเป้าหมายที่วางไว้ในฟุตบอลโลกซึ่งถือเป็นความฝันสูงสุด และหากถึงปี 2014 ยังไม่สามารถจะพาทีมไทยไปบอลโลกได้ ก็จะขอลงจากเก้าอี้เพื่อเปิดทางให้คนอื่นที่มีความสามารถเข้ามาทำงานแทน"[19] แต่ได้ปฏิเสธการลาออกในเวลาต่อมา [20]
  • พ.ศ. 2556
    • 18 ตุลาคม - กรรมการการเลือกตั้ง นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ พ.ศ. 2556 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม จำนวน 3 ใน 5 คนซึ่งเป็นส่วนที่วิรัช ชาญพานิชย์เสนอชื่อ ประกาศว่าไม่รับรองผลการเลือกตั้ง ที่วรวีร์ชนะวิรัช 42 ต่อ 28 เสียง เนื่องจากฝ่ายวิรัชร้องคัดค้าน ว่ามีการใช้สิทธิแทนสโมสรที่มีสิทธิเลือกตั้ง[21]

กรณีฟีฟาสั่งให้ยุติการข้องเกี่ยวกับกิจกรรมฟุตบอล

บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม โปรดอภิปรายปัญหาดังกล่าวในหน้าอภิปราย หากบทความนี้เข้ากันได้กับโครงการพี่น้อง โปรดทำการแจ้งย้ายแทน
มีข้อสงสัยว่าบทความนี้อาจละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ระบุไม่ได้ชัดเจนเพราะขาดแหล่งที่มา หรืออ้างถึงสิ่งพิมพ์ที่ยังตรวจสอบไม่ได้ หากแสดงได้ว่าบทความนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แทนป้ายนี้ด้วย {{ละเมิดลิขสิทธิ์}} หากคุณมั่นใจว่าบทความนี้ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ ให้แสดงหลักฐานในหน้าอภิปราย โปรดอย่านำป้ายนี้ออกก่อนมีข้อสรุป

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการอิสระฝ่ายวินัยและจริยธรรม ของสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า) ออกคำสั่งให้วรวีร์ มะกูดี นายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และอดีตกรรมการบริหารฟีฟ่า ระงับความเกี่ยวข้องกับกิจกรรมใดๆ ในวงการฟุตบอลทั่วโลก เป็นเวลา 90 วันโดยให้มีผลทันที เพื่อให้มีการตรวจสอบข้อกล่าวหา กรณีละเมิดประมวลจริยธรรมของฟีฟ่า มาตรา 83 วรรค 1 หรือไม่[22][23] โดยวรวีร์กล่าวต่อมาว่า เขารับทราบคำสั่งของฟีฟ่าดังกล่าวแล้ว แต่ยังคงข้องใจอยู่ว่า คณะกรรมการฯ ออกคำสั่งเช่นนี้ได้อย่างไร เพราะทำให้ตนเสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำสั่งดังกล่าวยังไม่เป็นที่สุด ดังเช่นกรณีของมีแชล ปลาตีนี ประธานสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) ซึ่งฟีฟ่าออกคำสั่งลักษณะเดียวกันมาก่อนหน้า ก็ยังสามารถจัดประชุมคณะกรรมการบริหารของยูฟ่าได้ตามปกติ เขาจึงมอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายของสมาคมฯ ทำเรื่องอุทธรณ์อย่างเร่งด่วน ตามสิทธิซึ่งฟีฟ่าเปิดช่องไว้ให้[24]

ขณะที่ฝ่ายกฎหมาย สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ชี้แจง มีใจความสำคัญอธิบายว่า คำสั่งของฟีฟ่าดังกล่าว เป็นลักษณะคล้ายกับการคุ้มครองชั่วคราว เพื่อสอบสวนข้อกล่าวหาที่ยังไม่เป็นรูปธรรม และยังไม่เป็นบทลงโทษที่สิ้นสุด วรวีร์จึงสามารถใช้สิทธิในการอุทธรณ์ เพื่อโต้แย้งหักล้างข้อกล่าวหาดังกล่าวได้อย่างเต็มที่ สำหรับการประชุมใหญ่ของสมาคมฯ เพื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้งนายก อุปนายก และสภากรรมการสมาคมฯ ซึ่งกำหนดล่วงหน้าไว้ให้มีขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคม ที่จะถึงนั้น ยังคงจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป เนื่องจากมิได้เป็นกิจกรรมที่ฟีฟ่าห้ามไว้ รวมถึงที่ประชุมใหญ่ครั้งก่อนหน้า ลงมติไว้ให้กำหนดวาระการเลือกตั้ง ตามเงื่อนไขที่ระบุในข้อบังคับของสมาคมฯ ทุกประการ[25]

ด้านสกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กับธงชัย พรเศรษฐ์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งนายก อุปนายก และสภากรรมการสมาคมฯ ครั้งนี้ ก็ยืนยันเช่นกันว่า ทุกฝ่ายจำเป็นต้องดำเนินการไปตามที่กำหนด โดยที่สกลเห็นว่า วรวีร์ขาดคุณสมบัติเป็นผู้สมัครแล้ว หากวรวีร์ต้องการเป็นผู้สมัคร และดำเนินกิจกรรมฟุตบอลต่อไป ก็ควรจะเร่งยื่นอุทธรณ์ให้เรียบร้อย เพื่อให้มีข้อสรุปก่อนจะเริ่มการเลือกตั้ง ซึ่งตนต้องการให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องทุกประการ เพื่อป้องกันมิให้ฟีฟ่าลงโทษประเทศไทย เช่นเดียวกับกรณีของอินโดนีเซียก่อนหน้านี้ ส่วนธงชัยเห็นว่า วรวีร์ยังเป็นเพียงผู้ต้องสงสัย หากข้อกล่าวหาถึงที่สุดว่ามีความผิดจริง แล้วจึงดำเนินการตามข้อบังคับต่อไปภายหลัง[26]

จากนั้นในวันถัดมา (13 ตุลาคม) เจมส์ จอห์นสัน ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายกิจการสมาคมฟุตบอลฯ ของฟีฟ่า, ซาน จีเหวิน ผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (เอเอฟซี) และคณะทำงานจากฟีฟ่า เดินทางมายังประเทศไทย เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการเลือกตั้งนายก อุปนายก และสภากรรมการสมาคมฯ แล้วจึงหาแนวทางวิธีปฏิบัติให้ชัดเจน และเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายต่อไป หลังจากนั้นสมาคมฯ ออกแถลงการณ์อีกฉบับหนึ่ง มีใจความสำคัญว่า คณะทำงานดังกล่าว กำหนดแนวปฏิบัติแก่สมาคมฯ โดยให้สภากรรมการสมาคมฯ เรียกประชุมวาระพิเศษ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมลงมติ เลื่อนการเลือกตั้งนายก อุปนายก และสภากรรมการชุดใหม่ออกไปก่อน แล้วส่งเรื่องไปยัง คณะกรรมการฉุกเฉินของฟีฟ่า ให้พิจารณาต่อไป เมื่อเห็นชอบก็จะเสนอขึ้นไปยัง คณะกรรมการบริหารฟีฟ่าพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง[27]

ทั้งนี้ การประชุมวาระพิเศษของสภากรรมการสมาคมฯ ดังที่กล่าวแล้ว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม โดยออกมติให้ยกเลิกกระบวนการเลือกตั้งที่ผ่านมาทั้งหมด และให้รอการพิจารณาออกคำสั่งจากฟีฟ่า จากนั้นจึงเริ่มกระบวนการเลือกตั้งใหม่เป็นลำดับต่อไป พร้อมทั้งลงมติแต่งตั้งให้ภิญโญ นิโรจน์ อุปนายกคนที่หนึ่งของสมาคมฯ ขึ้นรักษาการในตำแหน่งนายกสมาคมฯ โดยให้มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ฟีฟ่าออกคำสั่งระงับดังกล่าวคือ 12 ตุลาคม ขณะที่สกล วรรณพงษ์ ผู้ว่าการ กกท.ในฐานะนายทะเบียนสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ เห็นว่าสามารถเลื่อนการเลือกตั้งออกไปได้ เนื่องจากฟีฟ่าพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งหารือกับผู้แทนฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ตนเชื่อว่าจะเกิดผลดีมากกว่า และไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงเห็นควรให้เลื่อนการเลือกตั้งนี้ไปก่อน[28]

ต่อมาในวันที่ 16 ตุลาคม คณะกรรมการฉุกเฉินของฟีฟ่า ลงมติตามธรรมนูญฟีฟ่ามาตรา 7 วรรค 2 ร่วมกับผลการปรึกษากับเอเอฟซี โดยทำการถอดถอนสภากรรมการสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยทั้งคณะ เนื่องจากหมดวาระการดำรงตำแหน่ง แต่ไม่สามารถเลือกตั้งสภากรรมการชุดใหม่ ตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุในข้อบังคับสมาคมฯ และให้แต่งตั้งคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วย พลเรือเอก สุรวุฒิ มหารมณ์ เป็นประธาน, ธนา ไชยประสิทธิ์ เป็นรองประธาน, สัตยา อรุณธารี, มานิต วรรธนะสาร, ชื่นชนก ศิริวัฒน์ เป็นกรรมการ และพินิจ ศศินิน เป็นเลขานุการ ขึ้นเป็นคณะกรรมการกลางทำหน้าที่แทน ซึ่งจะเข้าทำหน้าที่ในการทบทวนหรือแก้ไข ระเบียบการเลือกตั้งสภากรรมการสมาคมฯ รวมถึงดำเนินงานเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งสภากรรมการชุดใหม่ ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 เป็นอย่างช้า ทั้งนี้ คณะกรรมการกลางดังกล่าว ซึ่งมีทั้งผู้แทนของ กกท.และฝ่ายคัดค้านรวมอยู่ด้วย เป็นผลจากที่ผู้แทนของฟีฟ่าและเอเอฟซี หารือกันระหว่างปฏิบัติภารกิจในกรุงเทพฯ ก่อนหน้านี้ไม่นาน[29][30]

จากนั้นสมาคมฯ ออกแถลงการณ์ชี้แจง ถึงกรณีคณะกรรมการกลางดังกล่าวนั้นว่า มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ ในการดูแลควบคุมและจัดการเลือกตั้ง ภายในระยะเวลาซึ่งฟีฟ่ากำหนด, ตรวจสอบระเบียบการเลือกตั้งสภากรรมการสมาคมฯ ซึ่งประกาศใช้เมื่อปี พ.ศ. 2556, ตรวจสอบและรับรองที่มา ในการคัดเลือกผู้แทนสโมสรของทั้ง 6 ลีกภูมิภาค ทั้งนี้ เมื่อมีคณะกรรมการกลางซึ่งฟีฟ่าแต่งขึ้นแล้ว คณะกรรมการการเลือกตั้งสภากรรมการฯ ชุดเดิมย่อมเป็นอันสิ้นสุด และคณะกรรมการกลางดังกล่าว ย่อมไม่สามารถมีส่วนเกี่ยวข้อง หรือเข้าแทรกแซงการบริหารงานของสมาคมฯ อันหมายรวมถึงการแข่งขันฟุตบอล ซึ่งดำเนินการจัดขึ้นโดยสมาคมฯ ทั้งหมด สำหรับข้อร้องเรียนของ พลตำรวจโท พิสัณห์ จุลดิลก ซึ่งคัดค้านต่อคณะกรรมการฉุกเฉินของฟีฟ่า กรณีรับเอกสารเชิญประชุมสมาคมฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน ไม่ครบ 30 วันนั้น คณะกรรมการฉุกเฉินของฟีฟ่าแจ้งผลการพิจารณาว่า การแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับสมาคมฯ ของที่ประชุมใหญ่ เพื่อให้สมาชิกรับรองนั้นมีผลสมบูรณ์ นับว่าการส่งหนังสือเชิญประชุม ปฏิบัติอย่างถูกต้องตามข้อบังคับโดยปริยาย[31]

สำหรับการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการกลางซึ่งฟีฟ่าแต่งตั้ง พลเรือเอก สุรวุฒิ ประธาน นัดหารือนอกรอบกับคณะกรรมการ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม แต่มีกรรมการบางรายติดภารกิจ เป็นเหตุให้ไม่ครบองค์ประชุม หลังจากนั้น พลเรือเอก สุรวุฒิ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า ตนมอบหมายให้กรรมการเข้าอธิบายถึงการทำงาน ต่อสำนักเลขาธิการสมาคมฯ ซึ่งยังคงปฏิบัติหน้าที่รักษาการบริหารสมาคมฯ แม้นายก อุปนายก และสภากรรมการสมาคมฯ ชุดเดิมจะหมดวาระลงแล้วก็ตาม เนื่องจากโครงสร้างของสมาคมฯ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของฟีฟ่าโดยตรง ฝ่ายเลขาธิการจึงเป็นผู้ดำเนินงานบริหารหลักของสมาคมฯ ซึ่งคณะกรรมการกลางชุดนี้ เตรียมประสานขอนำข้อมูลต่างๆ ที่จำเป็นจากสำนักเลขาธิการ เพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป แต่คณะกรรมการกลางจะไม่ก้าวก่ายการบริหารสมาคมฯ เนื่องจากฟีฟ่าระบุชัดเจนให้สำนักเลขาธิการทำหน้าที่ฝ่ายบริหาร แต่หากมีส่วนเกี่ยวข้องหรือผลกระทบ ต่อการเลือกตั้งสภากรรมการสมาคมฯ ก็สามารถเข้าดำเนินการได้ โดยกำหนดการทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับข้อบังคับ ซึ่งคณะกรรมการกลางชุดนี้จะปรับปรุงแก้ไข ซึ่งอาจไม่กำหนดให้ที่ประชุมใหญ่ต้องลงมติ รับรองข้อบังคับเช่นที่เคยปฏิบัติมาก็ได้ ทั้งนี้คาดว่าจะประชุมนัดแรกได้ในวันที่ 26 ตุลาคม[32]

งานการเมือง

วรวีร์ มะกูดี เคยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ได้คะแนน 3,358 เสียง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528[1] ก่อนจะเข้าทำงานการเมืองร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 และต่อมาย้ายสังกัดพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2547 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553[33] จากนั้น นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่งตั้งให้เป็นผู้แทนการค้าไทย ระหว่างวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554[34] ถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2543
    • ผู้แทนสันถวไมตรีด้านกีฬาของประเทศไทย จากกระทรวงการต่างประเทศ[1]
  • พ.ศ. 2545
    • 1 พฤษภาคม –ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[35]
  • พ.ศ. 2551
    • 1 มกราคม - ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 13 บุคคลกีฬาแห่งปี[36]
    • 4 พฤศจิกายน ลาออกจากตำแหน่งคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย[1]
    • 7 ธันวาคม รับตำแหน่งกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[1]
  • พ.ศ. 2553
    • 1 มกราคม - สมาคมนักข่าวช่างภาพกีฬาแห่งประเทศไทย เลือก นายวรวีร์ มะกูดี เป็น 1 ใน 10 บุคคลกีฬาที่น่าสนใจ ประจำปี 2552 พร้อมตั้งฉายา “9 ที่พลาด”[37]
    • 14 กันยายน ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น กรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย[1]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วรวีร์_มะกูดี http://www.fifa.com http://www.fifa.com/aboutfifa/organisation/bodies/... http://www.fifa.com/associations/association=tha/r... http://www.fifa.com/governance/news/y=2015/m=10/ne... http://www.fifa.com/governance/news/y=2015/m=10/ne... http://hilight.kapook.com/view/11394 http://www.meesook.com/news1/html/0008284.html http://news.th.msn.com/sports/%E0%B8%81%E0%B8%81%E... http://www.ryt9.com/s/bmnd/695318 http://sport.sanook.com/991828/%E0%B8%89%E0%B8%B2%...