ประวัติ ของ วัดกวิศรารามราชวรวิหาร

วัดกวิศรารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนเพทราชา ทางด้านทิศใต้ของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งมีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของลพบุรี ตามตำนานพระอารามหลวงนั้น บอกประวัติไว้สั้นๆ แต่เพียงว่า วัดนี้เดิมชื่อ วัดขวิด สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงสร้าง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรง สถาปนาใหม่ พระราชทานนามว่า วัดกรวิศยาราม และรัชกาลที่ 5 ทรงปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีกโดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระ ราชทานอุทิศ ถวายเป็นวิสุงคามสีมา ในการทำสังฆกรรมอุปสมบทข้าราชบริพาร นิกาย และวัดขวิด (วัดกรวิศยาราม) ที่ลพบุรี หรือวัดกวิศรารามในปัจจุบัน เป็นวัดรามัญนิกายอีกวัดหนึ่ง

พระอุโบสถมหาอุตเจดีย์และพระอุโบสถศาลาการเปรียญ

จึงมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่ง ให้ผู้ที่เคยซื้ออิฐซื้อปูนตีราคาของร้างในวังนั้น ว่าจะเป็นราคาสักเท่าไร ผู้รับสั่งเป็นอันมากปรึกษาพร้อมกัน ตีราคาว่าประมาณ 500 ชั่งขึ้นไป 600 ชั่งลงมา วัดกวิศราราม แต่เดิมคงเป็นวัดร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา พระอุโบสถเดิม ซึ่งตามลักษณะเป็นพระอุโบสถ สมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชนั้น เป็นพระอุโบสถขนาดย่อมแบบมหาอุด มีประตูเข้าออกทางเดียว ผนัง เจาะเป็นช่องไม่มีหน้าต่าง พระประธานซึ่งเป็นของเก่าแก่มาแต่เดิม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยอู่ทอง หลังคาของเดิมมุงด้วย กระเบื้องลอนแบบจีน ที่เรียกว่ากาบู ภายในพระอุโบสถตกแต่ง โดยเขียนลายประดับเต็มทั่วทั้งที่ผนังและเสาทุกต้น สำหรับพระประธานนั้น นักโบราณคดีตรวจสอบแล้ว ให้ข้อสังเกตว่าพระประธาน ซึ่งเป็นพระขนาดใหญ่ ประดิษฐานในพระอุโบสถมาแต่ต้นนั้น พระพุทธรูป ซึ่งอาจอัญเชิญพระเก่ามาเป็นประธาน แต่ลักษณะของฐานชุกชี และ การประดิษฐานพระนั้น เป็นแบบที่อยู่ในความนิยมเมื่อครั้งก่อนสมัย สมเด็จพระนารายณ์มหาราชมาก บางทีอาจเป็นวัดเก่าแก่ที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรง ปฏิสังขรณ์ขึ้นก็เป็นได้ สันนิษฐานว่าคงจะเป็นเครื่องหมายบอกให้ทราบว่า วัดนี้เป็นวัดที่สมเด็จพระนารายณ์ ฯ ทรงสร้าง และคงจะทำขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์นี้เอง แต่ฝีมือช่างตลอดจนลักษณะ และลวดลายนั้น ผิดแผกจากศิลปกรรมในรุ่นเดียวกัน อาจจะเป็นฝีมือช่างชาวลพบุรี จิตรกรรมฝาผนังที่งดงาม กราบนมัสการรูปเหมือน พระพุทธวรญาณ พระเถระผู้มีคุณธรรมสูง และบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิสังขรณ์ วัดกวิศรารามเรียบร้อยแล้ว ทรงอาราธนาพระสงฆ์ รามัญนิกายมาอยู่จำพรรษา โดยมีเจ้าอาวาสสืบต่อกันมากี่องค์ ไม่ปรากฏ แต่เจ้าอาวาสทุกองค์มีสมณศักดิ์เป็น "พระครูรามัญสมณคุณ" ต่อกันมา จนกระทั่ง เปลี่ยนจากวัดรามัญเป็นวัดมหานิกาย

ใกล้เคียง

วัดกวิศรารามราชวรวิหาร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร วัดสวนดอก (จังหวัดเชียงใหม่) วัดสวนแก้ว วัดกลางสุรินทร์ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร วัดกำแพงแลง วัดเวฬุวัน วัดกุฎีดาว วัดกู้