ประวัติ ของ วัดกู้

วัดกู้ สันนิษฐานว่าสร้างมาแต่สมัยกรุงธนบุรี โดย "พระยาเจ่ง" หัวหน้าครอบครัวมอญที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สันนิษฐานได้จากจิตรกรรมและศิลปะภายในวัดที่เป็นแบบมอญ[2] เดิมเชื่อว่า วัดกู้ ตั้งชื่อตามเหตุการณ์กู้เรือและพระศพของของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีขึ้นมา แต่วัดกู้ เดิมชื่อวัดท่าสอน หรือ วัดหลังสวน เมื่อชาวมอญอพยพมาอยู่ ณ บริเวณนี้ พวกเขาเรียกพื้นที่นี้ว่า กวานกู้ ซึ่งเป็นภาษามอญแปลว่าบ้านไร่ ดังนั้นชื่อวัดกู้นี้จึงเกิดขึ้นมาก่อนเหตุการณ์ของพระนางเรือล่ม[3][4]

บริเวณวัดยังมี "ศาลสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์" หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "ศาลพระนางเรือล่ม" สร้างขึ้นในบริเวณที่เชื่อกันว่าเรือพระประเทียบของสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวีล่ม ตัวศาลนั้นจำลองแบบจากศาลาจตุรมุขของพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ในพระราชวังบางปะอิน ภายในประดิษฐานศาลและเรือที่กู้ขึ้นมา[5] แต่แท้จริงแล้วสถานที่เกิดเหตุอยู่ที่หน้าวัดเกาะพญาเจ่ง หรือวัดเกาะบางพูด โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างพระเจดีย์เป็นพระราชอนุเสาวรีย์ขึ้นยังตำแหน่งที่เกิดเหตุ ณ ที่นั่น[6]

ใกล้เคียง

วัดกู้ วัดกล้าชอุ่ม วัดคู้บอน วัดกู่เต้า วัดกูบังตีกา วัดกล้วย (อำเภอเมืองนนทบุรี) วัดกู่คำ (จังหวัดน่าน) วัดกู่ผางลาง วัดกล้วย (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา) วัดคู้สนามจันทร์