ประวัติ ของ วัดดวงดี

วัดดวงดีเป็นวัดที่อยู่ใกล้อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตั้งอยู่ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่-งาน 60 ตารางวา ซึ่งประวัติของวัดไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัดนัก

วัดดวงดีมีนามเดิมหลายชื่อ ได้แก่ พันธนุนมดี (Wat Phanthanu-Namadee), วัดอุดมดี (Wat U-domdee), วัดพนมดี (Wat Phanomdee), วันต้นหมากเหนือ (Wat Tonmark-nua)[1]แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานว่า วัดดวงดีถูกสร้างโดยมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่ผู้หนึ่ง หลังจากที่ พระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว

วัดดวงดีมีชื่อเสียง เพราะเป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ ในแต่ละวันมีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเข้าเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก  เพราะเหตุว่าชื่อวัดเป็นชื่อมงคล. 

ประวัติ วัดดวงดี ตามหลักฐานที่ทางอดีตเจ้าอาวาส (พระอธิการบุญชู อภิปุญฺโญ) ได้ขอให้คุณปวงคำ ตุ้ยเขียว ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติวัดดวงดี เป็นดังนี้

วัดดวงดีนั้นตามปรากฏหลักฐานข้อมูลที่มีมาหลายชื่อ เช่น วัดพันธุนมดี วัดอุดมดี วัดพนมดี หรือ วัดต้นหมากเหนือ. ในปี 2513 คุณปวงคำได้เป็นผู้ช่วยวิจัยในโครงการวิจัยคำจารึกบนฐานพระพุทธรูป ในตำบลศรีภูมิและตำบลพระสิงห์ โดยมี ดร.ฮันส์ เพนธ์ เป็นหัวหน้า ได้พบคำจารึกบนฐานพระพุทธรูปโลหะองค์หนึ่ง ประดิษฐานอยู่ในวิหาร จารึกด้วยอักษรไทยยวน มีความว่า”สกราชได้ 859 ปีวายสี พระเจ้าตนนีแสนนึงไว้วัดต้นมกเหนือ”  (จ.ศ. 859 พ.ศ. 2039 สมัยพระเจ้ายอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่) พระพุทธรูปองค์นี้น่าจะไม่มีผู้นำมาจากที่อื่น

แต่สร้างขึ้นในวัดนี้ ซึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วัดต้นมกเหนือ หรือ วัดต้นหมากเหนือ"

วัดดวงดีคงสร้างขึ้นหลังจากพระเจ้ามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว (สันนิษฐานว่า) คงจะมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่คนหนึ่งเป็นผู้คิดสร้างขึ้น.

ในปี พ.ศ. 2304 มีหลักฐานในประวัติเมืองเชียงใหม่ว่า เจ้าอาวาสวัดดวงดีได้รับอาราธนาให้ลาสิกขาบท และอัญเชิญให้เป็นเจ้าครองเมืองเชียงใหม่ เป็นระยะเวลาสั้นๆ จนปี พ.ศ. 2306 ล้านนาไทยรวมทั้งเมืองเชียงใหม่ต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าอีกครั้ง ลุจุลศักราช 1136 ตรงกับปีพ.ศ. 2317 

เจ้ากาวิละ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรี สามารถยึดเมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้

เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือนห้าเหนือ เมืองเชียงใหม่จึงเจริญรุ่งเรืองจนถึงปัจจุบัน

มีข้อมูลที่น่าสนใจว่า วัดนี้เคยใช้เป็นสำนักเรียนสำหรับลูกเจ้าขุนมูลนายในสมัยก่อน

และยังเคยถูกใช้เป็นสถานที่เรียนของนักเรียนยุพราชวิทยาลัยก่อนที่จะมีการก่อสร้างแล้วเสร็จอีกด้วย