วัดตายม

วัดตายม เป็นวัดประจำตำบล และชื่อ " วัดตายม " ยังเป็นชื่อเรียกของ ตำบลวัดตายม ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันวัดตายมตั้งอยู่เลขที่ 83 หมู่ที่ 1 ตำบลวัดตายม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นที่ประดิษฐานขององค์ "หลวงพ่อยม" หลวงพ่อยม เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองชาวบ้านวัดตายมและชาวพิษณุโลก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ ปางมารวิชัย มีพุธลักษณะที่งดงาม ศิลปะสมัยสุโขทัย สันนิษฐานว่าสร้างก่อนรัฐชสมัย พระมหาธรรมราชา (ลิไท) หรือสร้างราวปีพุทธศักราช ๑๗๘๗ กรมศิลปากรตรวจสอบและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติแล้ว ยืนยันอายุขององค์หลวงพ่อยมไม่ต่ำกว่า750 ปี หรือสร้างก่อนพระพุธชินราช ที่เมืองพิษณุโลก (ชาวบ้านสมัยก่อนเชื่อว่า หลวงพ่อยมสร้างก่อนหลวงพ่อพระพุทธชินราช หลวงพ่อยมจึงเป็นพี่ของหลวงพ่อพระพุทธชินราช ) นอกจากหลวงพ่อยมแล้ว เบื้องหน้าขององค์หลวงพ่อยมยังมีสาวกประดิษฐานอยู่ด้วย 3องค์ ปางมารวิชัย สร้างในสมัยเดียวกัน ในอดีตเชื่อว่า บริเวณตำบลวัดตายม เป็นเมืองสองแควเดิม มีอาณาบริเวณกินพื้นที่นับพันไร่ มีตัวเมืองอยู่ที่บริเวณบ้านคลองละคร ( ปัจจุบันตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลวัดตายม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ) เดิมเป็นชุมชนโบราณขนาดใหญ่ มีคูเมือง มีกำแพงเมืองล้อมรอบ ภายในมีพระปรางค์ขนาดใหญ่ มีพระอุโบสถ วิหาร เจดีย์ พระพุทธรูปขนาดใหญ่ พระพิมพ์ เครื่องถ้วยชาม ลูกปัด ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ มากมาย และยังมีวัดที่ตั้งเรียงรายอยู่ภายนอกเมืองอีกมากมาย เช่น วัดมหาธาตุ พบเจดีย์ธาตุขนาดใหญ่ ที่บ้านแหลมพระธาตุ ( ปัจจุบันยังมีซากเจดีย์หลงเหลืออยู่ และได้เปลี่ยนชื่อเป็น " วัดแหลมพระธาตุ " ) วัดสระเศรษฐี ที่บ้านทุ่งเศรษฐี , วัดสายสมัน ( พบพระยืนขนาดใหญ่ ปัจจุบันถูกทำลายหมดแล้วเมื่อประมาณ พศ.2520 ) วัดตายม ( พบองค์หลวงพ่อยม ซากเจดีย์ ซากวิหารต่างๆ มากมาย ) ซึ่งทุกที่ดังกล่าวล้วนแต่มีร่องรอยการขุดหาของโบราณ ของมีค่าต่างๆ กระจัดกระจายไปทั่วทุกบริเวณ จนแทบจะไม่เลือซากโบราณวัตถุอันล้ำค่าดังเดิม ***ตามตำนานเล่าสืบต่อกันมาว่า........ ในอดีตบริเวณวัดตายมคือเมืองสองแคว(เดิม) ก่อนที่จะย้ายไปตั้งที่ริมแม่น้ำน่าน ( สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นชุมชนเก่าแก่แถววัดจุฬามณีเดิม ) และเปลี่ยนชื่อเป็นเมืองพิษณุโลกในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากแม่น้ำสายใหญ่เปลี่ยนกระแสทิศทางการไหล ชาวเมืองจึงขาดแคลนอาหาร รวมทั้งการสัญจรทางน้ำไม่สะดวกเหมือนเก่า ใม่เหมาะที่จะเป็นชัยภูมิในการตั้งเมืองให้ปลอกภัยจากศัตรู " เจ้าเมือง " จึงทำการเสี่ยงทายเพื่อหาทำเลที่ตั้งเมืองใหม่ โดยการบวงสรวงเทพยดา แล้วทำการเสี่ยงทาย โดยปล่อยโคหนึ่งคู่ อธิษฐานว่า " หากโคคู่นี้เอาเขาไปขวิดลงดิน ณ ที่ใด แสดงว่าดินที่นั้นอุดมสมบูรณ์ ให้สร้างเมืองใหม่ ณ ที่แห่งนั้น " ปรากฏว่าโคที่ไล่ต้อนขึ้นไปทางทิศเหนือนั้น เอาเขาขวิดดิน ณ ที่แห่งใหม่ห่างจากตัวเมืองเก่าประมาณ ๔๐ กิโลเมตร จึงย้ายเมืองใหม่ แต่ให้คงชื่อเดิมว่า " เมืองสองแคว " ( เมืองพิษณุโลกปัจจุบัน ) เมืองสองแควเก่าจึงถูกทิ้งล้างนับแต่นั้นมา สืบมาอีกหลายชั่วอายุ มีชาวบ้านอพยพมาอยู่อาศัยบริเวณเมืองร้างแห่งนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการอพยพของชาวบ้านจาก " เมืองบางยาง " ( เมืองเก่าในอำเภอนครไท จังหวัดพิษณุโลก ในปัจจุบัน ) โดยการนำของ นายยม ได้เข้ามาถากถางและจุดไฟเผาป่าที่รกทึบจนโล่งเตียนไปทั่วบริเวณ แต่มีอยู่จุดหนึ่งที่ไฟไม่สามารถลุกลามเข้าไปใกล้ได้ นายยมจึงเข้าไปดูใกล้ ๆ จึงพบพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะที่งดงามประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ไม่มีหลังคาปกปิด เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่งนัก นายยมจึงได้ริเรื่มชักชวนชาวบ้านให้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์ โดยนำไม้มาทำโครงหลังคาแล้วมุงด้วยแฝกกันแดดกันฝนให้องค์หลวงพ่อ หลังจากนั้นเรื่อยมา ก็มีพระภิษุเดินทางมาพำนักขณะออกธุดงค์ จนกลายเป็นที่พำนักสงฆ์ตลอดมา ชื่อของ " หลวงพ่อยม " นั้น ก็เรียกตามชื่อของ นายยม หรือ ตายม ผู้ที่พบองค์หลวงพ่อและเป็นผู้บูรณปฏิสังขรณ์นั่นเอง จนเป็นที่เคารพศรัทธา และเมื่อมีประชาชนมาอาศัยอยู่มากขึ้น ประชาชนจึงพร้อมใจกันสร้างวิหารที่ทำด้วยไม้ หลังคามุงด้วยสังกระสี แล้วบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด ด้วยความเก่าแก่และความศักดิ์สิทธิ์ จึงเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไปทั้งใกล้และไกล เดินทางมาสักการบูชา รวมทั้งบนบาลศาลกล่าวแทบทุกวันมิได้ขาด จึงเป็นเหตุแห่งความเจริญเรื่อยมา ปัจจุบัน " วิหารหลวงพ่อยม " ก่อด้วยอิฐถือปูนหลังคาทรงไทยมุงด้วยกระเบื้อง หน้าบันประดับตกแต่งอย่างสวยงามด้วยลวดรายปูนปั้นและแบบติดพิมพ์ ภายในมีภาพเขียนบอกเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ ( เมื่อประมาณ พ.ศ. 2510 มีชาวบ้านเข้ามาอาศัยมากขึ้น ประกอบกับช่วงนั้นวัตถุโบราณกำลังเป็นที่ต้องการของกลุ่มพ่อค้านายทุน จึงมีนักขุดหาสมบัติมากมาย ได้เข้ามาขุดค้นหาของมีค่า บรรดาโบราณสถานต่าง ๆ จึงถูกทำลายลง มีผู้เล่าว่าในเมืองโบราณนั้นมีพระพุทธรูปมากมายที่จมดินอยู่ บ้างก็โผล่ระดับพระอุระ บ้างก็โผล่แค่พระเกศ มีมากมายจนนับไม่ถ้วน ถ้วยชาม ลูกปัด ของใช้ และพระพิมพ์ต่าง ๆ บรรดาเจดีย์ ซากวิหาร พระปรางค์ พระพุทธรูปต่างๆ รวมทั่งโบราณสถานต่างๆจึงถูกทุบทำลายแทบหมดสิ้น บรรดาของมีค่าถูกขายให้นายทุนและถูกเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัว ) ไม่เว้นแม้แต่ " องค์หลวงพ่อยม " ที่มีคนเคยทำลายมาแล้วหลายครั้ง เพราะหวังที่จะหาของมีค่าภายในองค์หลวงพ่อ แต่คนที่คิดทำลายก็ต้องมีอันเป็นไปทุกราย เช่น มีคนประมาณ 4-5คน ลอบเข้าไปตัดเศียรหลวงพ่อยม แต่แล้วก็ไปไหนไม่ได้ คนร้ายเดินวนเวียน เดินแบกเศียรหลวงพ่ออยู่บริเวณวัดจนเช้า ซึ่งก็เป็นคนในหมู่บ้านอยู่ไม่ไกลวัดนัก หลังจากนั้นไม่กี่วัน พวกโจรก็ฆ่าลูกฆ่าเมียฆ่าพวกโจรด้วยกันเองตายจนหมดสิ้น และยังมีอีกกรณีหนึ่งโจรลักรอบเข้าไปตัดเศียรสาวกองค์ซ้ายสุดด้านหน้าหลวงพ่อยมด้วย แต่โจรก็ไปไหนไม่ได้ไกล โจรนำเศียรไปทิ้งไว้ห้างนาแห่งหนึ่งไม่ไกลจากวัดนัก และชีวิตก็มีอันเป็นไป กรมศิลปากรก็ได้นำเศียรกลับมาต่อให้คงสภาพเดิมไว้ทุกประการ จากนั้นมาชาวบ้านก็ได้ช่วยกันสอดส่องดูแลมาโดยตลอดแล้วยังได้ปิดช่องด้านหลังตรงแท่นบัวขององค์หลวงพ่อยมเสีย เพราะชาวบ้านเชื่อว่ามีสมบัติมากมายถูกเก็บรักษาไว้ภานในนั้น ( เนื่องจากมีคนเคยกลิ้งลูกมะกูดหรือลูกมะนาวเข้าไปภายในช่องนั้น จะได้ยินเสียงดังกังวานเป็นทางยาว เมื่อถึงพื้นจะได้ยินเสียงกระทบดังกลาวคล้ายเสียงสมบัติของมีค่าต่างๆอยู่ภานในมากมาย ) นอกจากนั้นชาวบ้านกลุ่มหนึ่งยังได้ช่วยกันขนซากอิฐ ซากกำแพงจากเมืองเก่ามาสร้างเจดีย์ไว้สามองค์ด้วยกัน อยู่ด้านหน้าวิหารองค์หลวงพ่อยม แต่ปัจจุบันนี้เหลือเพียงสององค์เท่านั้น ในปีพุทธศักราช 2495 ชาวบ้านวัดตายมได้จัดสร้างพระอุโบสถขึ้น แล้วผูกพัทธสีมาปิดทองผังลูกนิมิต วัดจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นวัดที่ถูกต้องสมบูรณ์กับ มหาเถระสมาคม กรมการศาสนา เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ ลักษณะของพระอุโบสถหลังนี้มีความเก่าแก่ คือ โครงสร้างทั้งหมดเป็นไม้ ผนังกำแพงก่ออิฐถือปูน พระประทานเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยขนาดใหญ่ แย้มพระศวรสวยงามมาก มีนามว่า " หลวงพ่อยิ้ม " หน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้นเล่าเรื่องราวพุทธประวัติ " มารผจน " หน้าทางเข้าทั้งสองด้านมีรูปปั้นสิงโตลอยตัว ศิลปะแบบจีน ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรมไปมากและได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้นทดแทน แล้วเสร็จทำการปิดทองฝังลูกนิมิตเมื่อ พศ.2551 และยังได้นำ " หลวงพ่อเย็น " พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ที่อดีตเคยเป็นพระประทานบนศาลาการเปรียญหลายสิบปี มาประดิษฐานด้านหน้าพระอุโบสถหลังใหม่ด้วย ......จากอดีตถึงปัจจุบัน...... ยังมีประเพณีที่สืบทอดกันมาและยังคงอยู่ตราบทุกวันนี้คือ ''''" งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อยม "'''' ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันเพ็ญเดือน 3 ขึ้น 14-15 ค่ำ เป็นที่ทราบกันโดยที่ไม่ต้องบอกกล่าวกันล่วงหน้า ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลต่างถิ่นฐานเมื่อถึงวันงานแทบทุกคนก็จะกลับมาร่วมงานกันอย่างเนืองแน่น ผู้คนที่หลั่งไหลมานมัสการปิดทององค์หลวงพ่อยมเต็มพระวิหาร ยิ่งเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่ผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างมาก ในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุกมากมาย รวมทั้งยังมีการอุปสมบทนาคหมู่ทุกปีด้วย มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธามาอุปสมบทในแต่ละปีหลายสิบองค์ ยิ่งสร้างแรงศรัทธาให้ผู้ที่พบเห็นตลอดมา ......( ไกรสร อ่ำสิงห์ วท.บ.ปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิต : ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีบ้านวัดตายม (บ้านเกิด) ) โทร. 086-7385509 .....จะนำรูปและข้อมูลอ้างอิงมาลงใหม่ภายหลัง