อาคารเสนาสนะ ของ วัดทองบางเชือกหนัง

อุโบสถเดิมเป็นอาคารทรงไทย กว้าง 6 เมตร ยาว 14 เมตร ซ่อมแซม พ.ศ. 2514[3] ภายในมีพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยหน้าตัก 1.5 เมตร ศิลปะแบบสมัยอยุธยา เช่นเดียวกับพระอัครสาวกที่ประดิษฐานอยู่ด้วยกัน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเก่าแก่ที่ประตูอุโบสถ แสดงเรื่องราวในชาดก[4]

อุโบสถหลังใหม่สร้างประชิดอุโบสถเดิมด้านทิศใต้ เริ่มสร้าง พ.ศ. 2536 เป็นอุโบสถ 2 ชั้น หน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ผนังบุกระเบื้อง ก่อสร้างด้วยแรงงานของพระสงฆ์ในวัดเป็นหลัก ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ทางวัดจัดสร้างขึ้นใหม่

อาคารเสนาสนะอื่น ๆ ได้แก่ ศาลาการเปรียญซึ่งเป็นของเดิม ซ่อมแซมใน พ.ศ. 2476 และ พ.ศ. 2547 วิหารกระจาดทองซึ่งประดิษฐานรูปเหมือนพระครูปราจิณมุนี (อดีตเจ้าอาวาส) เจดีย์ซึ่งเป็นเจดีย์ทรงกลม กุฏิสงฆ์ซึ่งเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ราว 10 หลัง หอระฆังซึ่งสร้างขึ้นใหม่ หลังคาเป็นหน้าจั่ว 2 ด้าน ก่ออิฐถือปูนหน้าบันเป็นไม้ มีลวดลายเทพนม มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ และศาลาซึ่งประดิษฐานรูปหล่อหลวงพ่อวัดบ้านแหลม หลวงพ่อพุทธโสธรจำลอง พระสังกัจจายน์ หลวงปู่แจ้ง และหลวงปู่เอม (อดีตเจ้าอาวาส)[5]

ใกล้เคียง

วัดทองนพคุณ (กรุงเทพมหานคร) วัดทองธรรมชาติวรวิหาร วัดทองทั่ว วัดทองบางเชือกหนัง วัดทอง (เขตบางพลัด) วัดทองสุทธาราม วัดทองจันทริการาม วัดทอง (เขตตลิ่งชัน) วัดทองเนียม วัดทองบน