ปูชนีวัตถุ ของ วัดท่าไชยศิริ

  • พระพุทธรูปสำคัญของวัดท่าไชยศิริ คือ พระประธานในอุโบสถ เป็นพระยืนปางห้ามพยาธิ (ห้ามโรคภัย) หรือปางประทานพร ศิลปะสมัยลพบุรี อายุ ๗๐๐ กว่าปี ขนาดสูง ๒.๗๕ เมตร ซึ่งเป็นของแปลกไม่เหมือนวัดทั่วไปเพราะตามปกติพระประธานในอุโบสถ หรือวิหารจะเป็นพระอิริยาบถ นั่งปางที่นิยมมาก คือ ปางมารวิชัย พระประธานยืนนี้ พบว่ามีเพียง ๓ แห่ง คือ ๑.พระประธานในอุโบสถวัดท่าไชยศิริ จังหวัดเพชรบุรี ศิลปะสมัยลพบุรี ๒.พระประธานในอุโบสถวัดเสาธงทอง จังหวัดลพบุริศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ๓.พระประธานในอุโบสถวัดเครือวัลย์วรวิหาร กรุงเทพมหานคร ศิลปะสมัยสุโขทัย พระประธานในอุโบสถวัดท่าไชยศิริ “ เป็นพระยืนสวมชฎาเทริดพระกรรณแบบพระพุทธรูปยอดป้านแบบพระลพบุรีทั่วไป เป็นพระยืนปางห้ามพยาธิ คลุมแบบพระร่วง ไม่มีสังฆาฎิเข้าใจว่าจะเป็นสมัยลพบุรีรุ่นหลัง (ปางห้ามญาติ มีลักษณะของพระพุทธรูปยกพระหัตถ์ ๒ ข้าง ทรงเครื่อง,ปางห้ามสมุทร มีลักษณะของพระพุทธรูปยกพระหัตถ์ ๒ ข้าง ไม่ทรงเครื่องห่ม) ด้านหลังพระประธานยืนนี้มีพระพุทธรูป สมัยลพบุรี ทำด้วยหินประทับบนฐานเตี้ย ๆ อยู่ติดผนัง ใบเสมาของวัดเป็นหินทรายแดงขนาดเล็ก มีแนวสันกลางไม่มีลวดลายอะไร ขนาด ๔๖ x ๒๙ x ๗ ซม. เป็นเสมาคู่พระพักตร์ของพระประธานองค์นี้แป้น และโอษฐ์สวยมาก พระขนงไม่โก่งมากนัก เป็นพระโลหะเป็นซุ้มเรือนแก้วอยู่เบื้องหลัง ตำนานของวัดนี้จะมีความจริงประการใด ยากที่จะค้นหลักฐานได้ เพราะตรวจดูโบราณวัตถุของวัด เห็นพระเป็นแบบลพบุรีรุ่นหลังอยู่ในอุโบสถถึงสององค์ใบเสมาก็เป็นของเก่า ชื่อนี้อาจจะมีก่อนพม่ารุกรานก็ได้”

วัดท่าไชยศิริมีเจดีย์โบราณสมัยอยุธยา และพระพุทธรูปอื่นๆ

  • พระประธานในอุโบสถท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ๒ ประการ คือ

๑. เป็นที่ตักน้ำใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก ๒. เป็นที่ตักน้ำสรง น้ำเสวย ๓ รัชกาล (รัชกาลที่ ๔ รัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๖) การใช้น้ำเพชรในพระราชพิธีต่างๆ นั้น คงจะใช้กันมานาน แต่ยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าเริ่มมีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ตามธรรมเนียมพระราชพิธีของไทยนั้น นิยมใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์จากสระทั้ง ๔ และแม่น้ำทั้ง ๕ นั้น รวมแม่น้ำเพชรอยู่ด้วย คือ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำเพชรบุรี สำหรับแม่น้ำเพชรบุรีนั้น จะเจาะจงตักที่ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริ และนำไปประกอบ พิธีที่วัดมหาธาตุก่อนส่งเข้าไปประกอบพิธีที่กรุงเทพฯ ต่อไป(สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ทั้ง ๔ อยู่ในเขตตำบลสระแก้ว จังหวัดสุพรรณบุรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาทอดพระเนตรสระศักดิ์สิทธิ์ที่ตำบลนี้ จึงเป็นเหตุให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น “บ้านท่าเสด็จ” สระศักดิ์สิทธิ์เดิมพบเพียง ๔ สระ คือ สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ ต่อมาพบอีก ๒ สระ คือ สระอมฤต และสระอมฤต และทรงพระราชหัตถเลขาไว้ว่า “แต่เหตุไฉนที่สระนี้ขลังนักไม่ปรากฏ คงจะมีตัวครูบาที่สำคัญเป็นอันมาก น้ำในสระก็ไม่ใช้ ปลาในสระก็ไม่กิน สระมีหญ้าขึ้นรกเต็มไปหมดมีจระเข้อาศัยอยู่ทั้งสี่สระน้ำสระคา สระยมนาไม่สู้สะอาดมีสีแดง แต่น้ำสระเกษ สระแก้วใสสะอาด”) น้ำในสระทั้งหมดนี้ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและพระราช พิธีสระน้ำมูรธาภิเษกตามลัทธิพราหมณ์ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนจัดตั้งสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ เป็นโบราณสถานไว้แต่น้ำที่ใช้ในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่หาหลักฐานได้ เป็นสารตราของทางราชการสั่งให้เจ้าเมืองเพชรบุรี ตักน้ำเพชรไปใช้ในพิธีบรมราชาภิเษก มีตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นมาจนถึงรัชกาลปัจจุบันก็ใช้น้ำเพชร และประกอบพิธีตักที่ท่าน้ำวัดท่าไชยศิริทั้งสิ้น โดยเฉพาะ พระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๕,๖,๗รอบ(๑๔ต.ค.๒๕๕๔) และพระราชพิธีครองราชย์ ๖๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้มีพิธีทำน้ำศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน ผู้เขียนได้ เข้าร่วมเป็น เจ้าหน้าที่ทำพิธีพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่ท่าน้ำวัดท่าไชยด้วย โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน มีขบวนแห่น้ำเสกน้ำศักดิ์สิทธิ์แล้ว เพื่อนำเข้าสู่พิธีต่อไป

  • ข้อสำคัญประการที่สอง แม่น้ำเพชรบุรี เป็นน้ำสรง น้ำเสวยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมาเลิกใช้ในรัชกาลที่ ๖ โดยเฉพาะรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดแม่น้ำเพชรมาก เพราะเป็นน้ำใสมีรสจืดสนิทดี มีรับสั่งให้พระยาเพชรบุรี จัดส่งน้ำเพชรไปถวายทุกเดือนและจะมาตักน้ำที่ท่าวัดท่าไชยศิริทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ยังมีบุคคลสำคัญในรัชกาลสมัยนั้น ใช้น้ำเพชรที่วัดท่าไชยศิริเป็นประจำอีก ๒ ท่าน คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) อีกท่านหนึ่ง คือ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) และยังใช้รับรองคณะทูตานุทูตจากต่างประเทศด้วย

ใกล้เคียง

วัดท่าหลวง (จังหวัดพิจิตร) วัดท่าถนน (จังหวัดอุตรดิตถ์) วัดท่าขนุน วัดท่าไชยศิริ วัดท่าไม้ (จังหวัดสมุทรสาคร) วัดท่าตอน วัดท่าพระ (กรุงเทพมหานคร) วัดท่าการ้อง วัดท่าโพธิ์วรวิหาร วัดท่าพูด