ประวัติ ของ วัดน้ำริดใต้

วัดในหมู่บ้านน้ำริด เดิมมีวัดเดียว ตั้งอยู่กลางหมู่บ้าน ( ปัจจุบันเป็นโรงเรียนน้ำริดราษฎร์บำรุง ) แต่ต่อมาหมู่บ้านทางเหนือมีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงพากันย้ายวัดไปตั้งที่ ม่อนปู่ท่อง ( โรงเรียนไผ่ล้อมสามัคคี ในปัจจุบัน ) เป็นเหตุให้ชาวบ้านตอนใต้ไม่ยอม และเล็งเห็นว่า ที่ดินตรงที่น้ำพัดไม้มากองอยู่นั้น เป็นลานกว้าง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันที่จะสร้างวัดตรงลานกว้างที่วางอยู่ เพราะว่าน้ำไม่ได้ท่วมตลอดปี

นับตั้งแต่นั้นมา ขุนวารีฤทธิ์ดำรง เป็นหัวหน้า ( กำนัน ) ได้ขอตั้งวัดเมื่อ ปี พ.ศ. 2401 หมู่บ้านน้ำริดจึงมีวัดเพิ่มเป็น 2 วัด และวัดนี้เรียกว่าวัดใต้ เพราะเหตุว่าอยู่ตอนใต้ของหมู่บ้าน วัดนี้ร้างอยู่ประมาณ ปีเศษ ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2402 มีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา ซึ่งเป็นพระที่มีจิตตั้งมั่นในการพัฒนาทำนุบำรุงวัดได้เป็นอย่างดี จึงมีชาวบ้านเห็นดีด้วย จึงให้ความร่วมมือร่วมกันสร้างอุโบสถ แบบอุดตัน คืออาคารอุดตัน ไม่มีมุขหน้า หลัง ก่อสร้างด้วยอิฐแดงขนาดใหญ่ ฉาบด้วยปูนขาว มุงด้วยกระเบื้องดินเผา

ซุ้มประตูวัดน้ำริดใต้

ต่อมา เมื่อ ปี พ.ศ. 2453 ได้มีหัวหน้าพนักงานวานตรวจดึงเส้น ทำระดับ ว่าจะมีการตัดถนนทางรถไฟผ่านที่วัดนี้กึ่งกลางของวัดพอดี ในขณะนั้นมี หลวงปู่โท้ เป็นเจ้าอาวาสอยู่ จึงได้ขอร้องไม่ให้ผ่านที่วัด แต่ทางเจ้าหน้าที่แจ้งว่า เป็นคำสั่งของรัชกาลที่ 5 ว่าจะต้องทำถนนรถไฟผ่านตรงที่วัดให้ได้ ประกอบกับชาวบ้านเล็งเห็นว่า ที่ของทางวัดยังมีที่เหลือติดกับคลองน้ำริดก็คงพอสำหรับตั้งวัดแล้ว จึงยกที่ให้กับทางราชการไป

ดังนั้น เมื่อ ปี พ.ศ. 2454 ได้มีพนักงานมาจากทางราชการ โดยมากจะเป็นคนจีน และชาวจีนส่วนใหญ่จะชอบกินยาฝิ่นเสียเป็นส่วนใหญ่ ต่างก็มาพักอยู่ที่วัดใต้ทางทิศตะวันออก และเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2456 ทางการรถไฟได้ดำเนินการวางรางรถไฟตัดผ่านหน้าวัด ดำเนินงานวางรางรถไฟ จนพ้นหมู่บ้าน ใช้เวลาการดำเนินงานโดยประมาณ 5 เดือน ขุนประชา ตำบลน้ำริด ได้ขอแรงจากคนไทย และ คนจีน ได้ร่วมมือช่วยกันซ่อมแซมอุโบสถ และทำการเปลื่ยนกระเบื้องหลังคา ประมาณ พ.ศ. 2465 ได้ขุนวารีฤทธิ์ดำรง เป็นหัวหน้า ( กำนัน ) ได้ตั้งบ้านเลขที่ให้ และเห็นว่าวัดมีความสำคัญมาก จึงตั้งเลขที่ให้กับทางวัด ได้เลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำริด เป็นต้นมา

ตั้งแต่นั้นมา ชาวบ้าน และ พระภิกษุ จึงได้ช่วยกันทำนุบำรุง ดูแล รักษากันมาโดยตลอด มาจนถึงยุคของ ท่านพระครูโอภาสวิมลกิจ ดูแลปกครองมาจนถึงปัจจุบัน และท่านยังได้สมณะศักดิ์พัดยศ เป็นรูปแรกของตำบลน้ำริด นับว่าเป็นประวัติของวัดอันดีงามมาโดยตลอด และหลังจากท่านพระครูโอภาสวิมลกิจมรณภาพลง โดยมี รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลน้ำริด พระอธิการชราวุฒิ วุฒฺธิโก จึงแต่งตั้งรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดน้ำริดใต้ คือ พระธนพร ธมฺมปาโล รูปปัจจุบัน[1]


ใกล้เคียง

วัดน้ำริดใต้ วัดน้อย (จังหวัดน่าน) วัดน้อยนางหงษ์ (จังหวัดสมุทรสาคร) วัดน้อยใน วัดน้อมประชาสรรค์ วัดน้ำวน วัดน้ำรอบ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) วัดน้อยนพคุณ วัดน้ำปาด วัดน้ำจั้น (อำเภอเมืองลพบุรี)