ประวัติ ของ วัดบางเตย

วัดบางเตย ปรากฏหลักฐานว่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2371 (ต้นรัชกาลที่ 3) เมื่อพื้นที่ดังกล่าวมีชุมชนได้เข้ามาอยู่อาศัย และมีการตั้งวัดเป็นศูนย์รวมจิตใจ และปฏิบัติตามหลักศาสนา ดังปรากฏมีหลักฐานเป็น อุโบสถ (หลังเก่า) ทรงจีน ก่ออิฐถือปูน เสาไม้ หลังคามุงด้วยกระเบื้อง สี่เหลี่ยม มีขนาดเล็กจุคนได้ประมาณ 30 คน ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 จนกระทั่งมีการสลับสับเปลี่ยนเจ้าอาวาสไปตามช่วงเวลา และวัดก็มีพัฒนาการต่อเนื่องเป็นศูนย์กลางของชุมชนทางศาสนานับแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

ลำดับเจ้าอาวาส

  • หลวงปู่ท้วม
  • พระป๋อ
  • พระนิ่ม
  • พระเพิ่ม
  • พระชม
  • พระเอม
  • พระไสว
  • พระครูธรรมกิจวรคุณ
  • พระครูประภัสร์ธรรมพิสุทธิ์
  • พระครูใบฎีกาเทพฤทธิ์ ยสสธมโม  (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน)

ศาสนาสถานในวัด

  • พระอุโบสถ มีขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 28 เมตร ลักษณะทรงไทยประยุกต์สมัยพระเจ้าปราสาททอง สร้างเมือ พ.ศ. 2512
  • ศาลาการเปรียญ
  • ฌาปนสถาน/ศาลาคู่ฌาปนสถาน
  • อาคารหอปริยัติ
  • หอระฆัง
  • ศาลาท่าน้ำ
  • เสาหงส์

กิจกรรมสำคัญในวัด

  • โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ช่วงเดือนเมษายน
  • โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
  • โรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม (แผนกธรรม)
  • โรงเรียนสอนเด็กก่อนเกณฑ์ (เด็กก่อนวัยเรียน)
  • ฌาปนสงเคราะห์

แหล่งข้อมูลอื่น