ประวัติ ของ วัดประเสริฐสุทธาวาส

วัดสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถเป็นรูปเก๋งจีน คาดว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดกลาง เหตุเพราะวัดตั้งอยู่กึ่งกลางของลำคลอง (อีกวัดเรียก วัดนอก หรือ วัดราษฎร์บูรณะ เพราะตั้งอยู่ตรงปากคลอง

ได้รับการบูรณะในสมัยรัชกาลที่ 3 มีเรื่องเล่าว่า มีชายชาวจีนซึ่งเลี้ยงหมูในแถบนั้น เมื่อพายเรือมาเก็บผักบุ้งมาเลี้ยงหมูได้ไปพบเงินเข้า 3 ตุ่ม จึงอธิษฐานว่า ถ้าได้เงินนี้แล้วไปประกอบอาชีพแล้วร่ำรวยจะกลับมาบูรณะวัด ต่อมาชายชาวจีนคนนั้นร่ำรวย จึงกลับมาบูรณะวัด และได้ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2381 ถือเป็นการบูรณะวัดครั้งแรก สันนิษฐานว่าชายชาวจีนคนนั้นคือ พระประเสริฐวานิช (เจ้าสัวเส็ง เศรษฐบุตร) ต้นสกุลเศรษฐบุตร ซึ่งต่อมาแตกสาแหรกวงศ์ตระกูล เป็น 5 ตระกูล คือ ตระกูลเศรษฐบุตร ตระกูลเสถบุตร ตระกูลภิรมย์ภักดี ตระกูลโษยะจินดา และตระกูลประนิช วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2382[1]

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปี พ.ศ. 2537[2]

ใกล้เคียง

วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วัดปริวาสราชสงคราม วัดประดู่ฉิมพลี วัดประดู่ทรงธรรม วัดปราสาท (จังหวัดนนทบุรี) วัดประสิทธิเวช วัดปรมัยยิกาวาส วัดปรินายกวรวิหาร วัดประเสริฐสุทธาวาส วัดประดู่บางจาก