วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ
วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

วัดพระฝาง หรือชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ. 1700 (ก่อนสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช) [2] วัดพระฝางนับว่าเป็นกลุ่มโบราณสถานของศูนย์กลางเมืองฝางสวางคบุรี เพียงแห่งเดียวที่ยังหลงเหลืออยู่ วัดนี้เป็นวัดพระมหาธาตุประจำเมืองสวางคบุรี ซึ่งในอดีตได้รับการนับถือเทียบเท่ากับพระธาตุเจดีย์หริภุญชัย[3] และพระพุทธบาทสระบุรี[4] นอกจากนี้ วัดพระฝางนั้น ยังเคยเป็นวัดที่จำพรรษาของ “เจ้าพระฝาง” เมืองสวางคบุรี ผู้นำชุมนุมเจ้าพระฝางในคราวเสียสมัยกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2[5] อีกด้วยวัดพระฝาง มีปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดคือพระธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่กลางกลุ่มโบราณสถานวัดพระฝาง สันนิษฐานว่าพระเจดีย์องค์นี้สร้างในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญของอาณาจักรมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตจากราชสำนักฝรั่งเศสซึ่งเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกไว้ในหนังสือของท่านว่า พระมหาธาตุองค์นี้ได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นพุทธปูชนียสถานสำคัญของอาณาจักรคู่กับรอยพระพุทธบาทสระบุรีในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระองค์ได้เสด็จขึ้นทำศึกชนะเจ้าพระฝางและตั้งงานสมโภชพระมหาธาตุเมืองพระฝางถึง 3 วัน เทียบเท่างานนมัสการพระพุทธชินราช แต่ความศรัทธาในพระมหาธาตุเมืองฝางคงได้เสื่อมถอยลงในช่วงหลัง จากความเสื่อมของเมืองสวางคบุรี หลังชุมนุมเจ้าพระฝางถูกตีแตกในสมัยธนบุรี จนในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์องค์เดิมได้ปรักหักพังไปมาก ทำให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณะพระมหาธาตุเมืองพระฝางใหม่ แปลงเป็นแบบเจดีย์ทรงลังกาดังที่เห็นในปัจจุบันนอกจากนี้ วัดพระฝางยังมีอุโบสถมหาอุด (มีประตูทางเข้าบานเดียว) อยู่ด้านทิศตะวันตกของกลุ่มโบราณสถาน ตัวอุโบสถมีสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเดิมภายในอุโบสถเคยเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระฝาง ซึ่งปัจจุบันตัวอุโบสถยังคงมีบานประตูไม้และหน้าบันแกะสลักศิลปะสมัยอยุธยาอันสวยงามอยู่ (บานปัจจุบันเป็นบานจำลอง) และด้านทิศตะวันออกของกลุ่มโบราณสถานมีพระวิหารหลวง เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเชียงแสน ปัจจุบันในพระวิหารหลวงมีบานประตูไม้แกะสลักวัดพระฝาง (เป็นบานประตูบานจำลอง สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2551 เพื่อนำมาติดตั้งแทนที่บานประตูเดิมที่ได้นำไปเก็บรักษาที่วัดธรรมาธิปไตยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2494)ปัจจุบัน วัดแห่งนี้ได้รับขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน[6] ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 52 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 มีพื้นที่ได้รับประกาศเป็นโบราณสถานประมาณ 32 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา[7]

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

หมายเหตุ ในอดีตเป็นวัดที่ชุมนุมของ ชุมนุมพระเจ้าฝางในสมัยธนบุรี
นิกาย เถรวาท (มหานิกาย)
ประเภท วัดราษฎร์
ความพิเศษ - ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ
- เป็นแหล่งโบราณสถาน ที่สำคัญของจังหวัด
พระประธาน พระฝางทรงเครื่องจำลอง
ชื่อ วัดพระฝาง, วัดมหาธาตุ[1]
พระพุทธรูปสำคัญ หลวงพ่อเชียงแสน
กิจกรรม - งานปริวาสกรรม วันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๔
ที่ตั้ง ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ 53000
จุดสนใจ นมัสการพระบรมธาตุ ชมโบราณสถานภายในวัด

ใกล้เคียง

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดพระธรรมกาย วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร วัดพระธาตุลำปางหลวง วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

แหล่งที่มา

WikiPedia: วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ http://phrafang3.moobanthai.com/about-us/ http://dl.kids-d.org/bitstream/handle/123456789/26... http://tor.gprocurement.go.th/06_tor/uploads2/2064... http://utt.onab.go.th/index.php?option=com_content... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00... http://www.admin.rtaf.mi.th/DOWNLOAD/%E0%B8%82%E0%... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Wat_Ph...