ประวัติ ของ วัดพุน้อย

ทางขึ้นพระอุโบสถไฟล์:26rrrr15.JPGศาสนสถานอื่นๆที่สำคัญภายในวัด

วัดพุน้อย 3 หมุ่ที่ 1 ตำบลชอนม่วง อำเภอบ้านหมี่จังหวัดลพบุรี แต่เดิม พุน้อยเป็นชื่อของ น้ำที่ผุดขึ้นมาคล้ายน้ำพุตลอดทั้งปี ไม่มีวันแห้ง จึงเป็นชื่อเรียกขานหมู่บ้านแห่งนี้ วันที่25 เมษายน พศ 2515 หมอเคลือบ และนาง บุญมา เหมือนเอี่ยม ได้มอบถวายที่ดิน จำนวน 6 ไร่ 1 งาน 53 ตารางวา เพื่อสร้างวัดพุน้อย หลวงพ่อชื้น บุญยกาโม นำชาวบ้านพุน้อยร่วมก่อสร้าง ได้ 4 พรรษาท่านจึงมรณภาพ ต่อมาปี พ.ศ. 2519 หลวงปู่แบน จนฺทสโร มาอยู่จำพรรษา และได้ซื้อที่ดินเพิ่มอีก15 ไร่ 2 งาน 80 ตารางวา จนกระทั่งท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2543 หลวงปู่แบน จนังทสโร ท่านเป็นเจ้าอาวาสนั้น ได้ร่วมกับชาวบ้านพุน้อยพัฒนาวัดจนเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทำให้วัดที่ไม่มีคนรู้จัก กลายเป็นวัดที่มีคนเชื่อถือเลือมใสศรัทธาเดินทางมากราบไหว้กันอย่างไม่ขาดสาย เพียงชั่วระยะเวลาไม่กี่ปี การเดินทางไปยังวัดพุน้อย มีถนนลาดยางถึงวัด สะดวกสบายตลอดการเดินทาง วัดพุน้อยก็มีสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุถายในวัดแทบจะครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ และอื่นๆอีกจำนวนมาก จากวัดเล็กๆที่ห่างไกลความเจริญ กลายเป็นวัดที่มีประชาชนรู้จักกันเกือบทั้งประเทศ มีการนำกฐินและผ้าป่าสามัคคี มาทอดกันอย่างล้นหลาม ตลอดจนการปฏิบัติธรรมปัจจุบัน พระครูสมุห์สุทิน สุทินนังโน เจ้าอาวาสวัดพุน้อย ท่านยังคงสืบสานวิชาอาคม ที่รับจากหลวงปู่แบน จนฺงทสโร ในเรื่องเมตตามหานิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการค้าขาย ที่หลวงปู่แบนได้สร้างเรือพุทธคุณขึ้นมา ซึ่งใครได้ไปบูชาจะประสบผลสำเร็จกันแทบทุกคน จึงมีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาที่วัดพุน้อยกันอย่างเนืองแน่นในแต่ละวัน


วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม 2552 เวลา 15.00 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ เสด็จไปทรงเป็นประธานทอดจุลกฐินสามัคคีโครงการสายใยรักแห่งครอบครัวฯ ที่วัดพุน้อย ในการดำเนินการประกอบพิธีทำผ้าจุลกฐินซึ่งเป็นการทำผ้าไตรจีวรให้แล้ว เสร็จทันประกอบพิธีทอดกฐินสามัคคี โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ฯภายในวันเดียวนี้ วัดพุน้อยได้รับแรงศรัทธา ตลอดจนความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจจากประชาชนในอำเภอ บ้านหมี่และอำเภอต่างๆของจังหวัดลพบุรี รวมถึงพุทธศาสนิกชนจากจังหวัดใกล้เคียงและ ผู้ที่อยู่ห่างไกล หลั่งไหลมาร่วมในพิธีการทำผ้าจุลกฐินโดยเสด็จพระราชกุศลกันอย่าง เนืองแน่น ซึ่งในปีนี้เป็นการจัดประเพณีจุลกฐินที่วัดพุน้อยต่อเนื่องเป็นปีที่ ๓ โดยชาวบ้าน และผู้มาร่วมงานต่างเริ่มช่วยกันเก็บฝ้ายตั้งแต่กลางวันวันเสาร์ที่ ๑๗ ตุลาคมและเริ่มดำเนินการหลังเวลา ๒๔.๐๐น.ตามขั้นตอนอิ้วฝ้าย ตีฝ้าย เข้าใจฝ้าย กรอหลอดฝ้าย เดิน เส้นด้าย ใส่กี่ เก็บตะกอ ทอเป็นผืน ตัดขันฝ้าย เย็บย้อมและซักรีดเป็นผ้าไตรจีวร จำนวน ๑ ชุด แล้วเสร็จภายในช่วงเวลาบ่ายวันอาทิตย์ที่ ๑๘ ตุลาคม