ประวัติ ของ วัดสะตือ

  • วัดสะตือ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๓ โดยพระธุดงค์รูปหนึ่งไม่ปรากฎนามและที่มา ได้จาริกผ่านมาแล้วเห็นว่าที่ตรงนี้เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรม เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำ(แม่น้ำป่าสัก)และไม่ห่างไกลจากหมู่บ้าน ต่อมาชาวบ้านมีความเลื่อมใสศรัทธา อีกทั้งลงความเห็นกันว่าน่าจะสร้างวัดไว้ในหมู่บ้านของตนบ้างจะได้ไม่ต้องลำบากเดินทางไปทำบุญวัดอื่นที่อยู่ไกลออกไป จึงได้ร่วมกันถวายที่ดินให้พระธุดงค์รูปนั้นสร้างวัด และตั้งนามวัดตามชื่อหมู่บ้าน เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัดนี้แต่เดิมมีต้นสะตือใหญ่อยู่สองต้นเป็นสัญลักณ์ชาวบ้านจึงเรียกชื่อบ้านสะตือ และเรียกนามวัดว่า "วัดเสะตือ" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดสะตือเจดีย์งาม" เพราะภายในวัดมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองที่มีความสวยงามและสมบูรณ์มาก ๑ องค์ ตั้งอยู่บริเวณหน้าอุโบสถ
  • วัดสะตือ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ มีฐานะเป็นวัดราษฎร์.[2]

อาคารเสนาสนะ

  • ๑. อุโบสถ บูรณะเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๔ กว้าง ๗.๒๖ เมตร ยาว ๑๙.๔๐ เมตร
  • ๒.เจดีย์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง เมตร
  • ๓. ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ – พ.ศ. ๒๕๓๕ กว้าง ๑๖.๔๕ เมตร ยาว ๕๒.๔๐ เมตร
  • ๔. หอสวดมนต์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ กว้าง ๑๑.๕๐ เมตร ยาว ๒๑ เมตร
  • ๕. หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ กว้าง ๔.๙๐ เมตร ยาว ๔.๙๐ เมตร
  • ๖. กุฏิสงฆ์รวม สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔ – พ.ศ. ๒๕๒๘ กว้าง ๑๑.๕๐ เมตร ยาว ๒๑ เมตร
  • ๗. ศาลาธรรมสังเวช สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๔.๔๓ เมตร
  • ๘. ฌาปณสถาน สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๖ กว้าง ๒๑.๕๐ เมตร ยาว ๓๑.๕๐ เมตร
  • ๙. ห้องน้ำ – ห้องสุขา จำนวน ๔ ห้อง สร้างเมื่อ ๒๕๒๔ กว้าง ๒.๓๐ เมตร ยาว ๗.๐๓ เมตร

ปูชนียวัตถุ

  • ๑. พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดพระเพลากว้าง - นิ้ว สูง - นิ้ว