ประวัติ ของ วัดหน้าต่างนอก

วัดหน้าต่างนอก ตั้งขึ้นในสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา หรือ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๐ โดย หลวงปู่เณร เป็นผู้ก่อตั้ง วัดหน้าต่างนอกได้รับการรับรองสภาพวัดจาก สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หนังสือรับรองที่ พศ ๐๐๐๓/๖๒๐๕ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยมี นางบุญศรี พานะจิตต์ เป็นรองผู้อำนวยการ ปฏิบัติราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้เซ็นรับรอง[1]

  • เหตุที่ชื่อ “วัดหน้าต่างนอก” ก็มีการสันนิษฐานมาจากเหตุ ๒ ประการ คือ ประการที่ ๑ ในสมัยนั้นกองทัพพม่าที่ยกมาตีกรุงศรีอยุธยา ได้ตั้งค่ายใกล้กับสะพานสีกุก ทางกองทัพกรุงศรีอยุธยาก็ได้ให้ทหารหน่วยสอดแนมสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของกองทัพพม่า โดยให้ดูด้วยการเปิดหน้าต่าง หน้าต่างใน หมายถึง ใกล้ชายแม่น้ำน้อย ก็คือตรงที่ตั้งวัดหน้าต่างใน ส่วน หน้าต่างนอก ก็หมายถึง ทางนอกทุ่ง ก็คือที่ตั้งวัดหน้าต่างนอก ประการที่ ๒ ในสมัยนั้น พระภิกษุสงฆ์ท่านมีความเคร่งครัดในแนวทางปฏิบัติพระกัมมัฏฐาน และได้มีการมีการสันนิษฐานว่า เดิมทีตรงที่ตั้งวัดหน้าต่างนอก เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดหน้าต่างใน ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ใช้เป็นที่สำหรับปฎิบัติธรรมกัมมัฏฐาน และ คงจะมีการสร้างเสนาสนะขึ้นด้วย เพื่อความสดวกในการปฏิบัติ ต่อมา หลวงปู่เณร จึงได้ตั้งเป็นวัดขึ้น อาจจะตั้งชื่อวัดโดยอรรถโดยธรรมก็ได้ เช่น วัดหน้าต่างนอก ท่านหมายเอาอายตนะภายนอก คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธัมมารมณ์ วัดหน้าต่างใน ท่านหมายเอา อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ.

ปูชนียวัตถุ

  • ๑.๑ พระประธานในอุโบสถ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง ๑๓๙ นิ้ว สูง - นิ้ว
  • ๑.๒ พระประธานในศาลาการเปรียญ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง ๑๓๙ นิ้ว สูง - นิ้ว
  • ๑.๓ พระพุทธรูปในศาลาการเปรียญ พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง ๓ ศอก สูง - นิ้ว
  • ๑.๔ พระพุทธรูป ปูนปั้น พุทธลักษณะ ปางสมาธิ ขนาดพระเพลากว้าง ๒ ศอก สูง - นิ้ว
  • ๑.๕ พระปูนปั้น หลวงพ่อสมใจนึก ลักษณะพระสังกัจจายน์ ขนาดหน้าตัก กว้าง - ศอก สูง - นิ้ว


เสนาสนะ

  • ๑.๑ อุโบสถ กว้าง ๒๔.๘๘ เมตร ยาว ๓๙.๑๖ เมตร
  • ๑.๒ กุฏิสงฆ์ กว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๓.๕๐ เมตร จำนวน ๒๒ หลัง
  • ๑.๓ ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๗.๘๐ เมตร ยาว ๓๑.๓๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
  • ๑.๔ วิหารคู่ กว้าง - เมตร ยาว - เมตร จำนวน ๑ หลัง
  • ๑.๕ มณฑปเรือนแก้ว กว้าง - เมตร ยาว - เมตร จำนวน ๑ หลัง
  • ๑.๖ มณฑปหลวงพ่อจง กว้าง - เมตร ยาว - เมตร จำนวน ๑ หลัง
  • ๑.๗ อาคารเฉลิมพระเกียรติ กว้าง ๒๔.๕๐ เมตร ยาว ๓๕.๕๐ เมตร จำนวน ๑ หลัง
  • นอกจากนี้ ยังมี ซุ้มประตูวัด หอระฆัง ๑ หลัง ฌาปนสถาน ๑ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ๑ หลัง เรือนเก็บพัสดุ ๑ หลัง และ โรงครัว ๑ หลัง


ใกล้เคียง

วัดหนองป่าพง วัดหน้าพระเมรุ วัดหนองแขม (กรุงเทพมหานคร) วัดหนังราชวรวิหาร วัดหนองแวง (จังหวัดขอนแก่น) วัดหนองโพธิ์ (จังหวัดสระบุรี) วัดหนองปล้อง วัดหนามแดง (จังหวัดสมุทรปราการ) วัดหนองหอย (จังหวัดราชบุรี) วัดหน้าต่างนอก