อาคารเสนาสนะ ของ วัดเกวียนหัก

อุโบสถหลังเก่า สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน  ผังอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้องทรงจั่ว ด้านข้างชักปีกนก หน้าบันตกแต่งด้วยลายเทพนมประดับลายก้านขด ซุ้มประตูหน้าต่างประดับลวดลายปูนปั้น หน้าบันมีลายเขียนสี ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัยทรงเครื่องและพระอัครสาวก เดิมเคยมีจิตรกรรมฝาผนังแต่ถูกทาสีทับ ที่มุมอุโบสถทั้ง 4 มุม มีเจดีย์ก่ออิฐถือปูนย่อมุมไม้สิบสองสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

อุโบสถหลังใหม่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2502 นำรูปแบบของอุโบสถหลังเก่ามาสร้างแต่ขนาดใหญ่ขึ้นและนำเครื่องถ้วยเคลือบประดับหน้าบันช่อฟ้าใบระกาและได้รับการบูรณะทาสีใหม่เมื่อ พ.ศ. 2544 ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อ พ.ศ. 2487 เป็นอาคารคอนกรีตโครงสร้างหลังคาไม้ ยกพื้นใต้ถุนโปร่งด้านข้างก่ออิฐฉาบปูนรูปวงโค้งเป็นช่วงทั้ง 4 ด้าน อาคารเรียนหลังเก่า สร้างเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2496 เป็นอาคารคอนกรีตโครงสร้างไม้ รูปตัวแอล หลังคามุงด้วยกระเบื้องลอนคู่ มีบันไดทางขึ้น 1 บันได ใต้ถุนโปร่งสูง มีการก่ออิฐฉาบปูนเป็นวงโค้งรอบอาคารเหมือนศาลาการเปรียญ[3]

ใกล้เคียง

วัดเกาะพญาเจ่ง วัดเกตุมดีศรีวราราม วัดเกริ่นกฐิน วัดเกาะ (กรุงเทพมหานคร) วัดเกยไชยเหนือ (บรมธาตุ) วัดเกษมสุทธาราม วัดเกาะแก้ว (จังหวัดสมุทรสงคราม) วัดเกาะ (จังหวัดสมุทรสาคร) วัดเกษมจิตตาราม วัดเกาะแก้วสุทธาราม