วัดเขาอ้อ

วัดเขาอ้อ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุงวัดเขาอ้อสร้างเมื่อ พ.ศ. 1651 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งแต่ พ.ศ. 1661 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 20 เมตร กล่าวกันว่าวัดเขาอ้อ เคยเป็นสำนักพราหมณ์ผู้เรืองเวทย์มาก่อนอซึ่งเป็นสำนักทิศาปาโมกข์ เรียกว่า สำนักเขาอ้อ มีกษัตริย์หลายพระองค์ ส่งลูกหลานมาเรียนเพื่อรับเอาความรู้ด้านต่าง ๆ จากอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นพราหมณ์จากประเทศอินเดีย[1] ตามตำนานบอกว่า ความรู้ในสำนักตักศิลาเขาอ้อ แบ่งเป็น 2 คือความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์อันเกี่ยวข้องด้วยการปกครอง การสร้างบ้านแปลงเมือง และการทำมาหากิน และอีกสายเกี่ยวข้องด้วยเรื่องของพิธีกรรม ไสยศาสตร์การแพทย์[2]จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บันทึกใน สานส์ตราของเจ้าพระยาเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวว่าเมื่อ พ.ศ. 2284 สมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา พระมหาอินทราชจากปัตตานีได้มาเป็นเจ้าวัดและได้มาปฏิสังขรณ์วัดขึ้นมาใหม่โดยมีตาปะขาวขุนแก้วเสนาขุนศรีสมบัติ เป็นหัวหน้าฝ่ายคฤหัสถ์ช่วยกันซ่อมแซม[3] ได้ช่วยกันสร้างอุโบสถ มณฑป พระพุทธบาทจำลอง พระพุทธไสยาสน์ เจดีย์ และได้พระราชทานพระพุทธรูป 2 องค์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อทุกรูป เชื่อกันว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านไสยเวทย์ มีชื่อเสียงทางด้านคงกระพันชาตรี การแพทย์แผนโบราณ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับว่าน จึงมีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่อง คือ พิธีแช่ว่าน พิธีหุงข้าวเหนียวดำ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ของสำนักเขาอ้ออาคารเสนาสนะของวัดที่โดดเด่น คือ กุฏิทรงไทย วัดมีปูชนียวัตถุ ได้แก่ พระพุทธรูปสำริด (รูปเจ้าฟ้าอิ่ม) พระพุทธรูปเงิน (รูปเจ้าดอกมะเดื่อ) พระพุทธรูปไสยาสน์ปูนปั้น ทาสีทอง และรอยพระพุทธบาทจำลอง (สำริด) ศิลปะรัตนโกสินทร์[4]