การจัดประเภทโดยการกระจายพลังงานสเปกตรัม ของ วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อย

ดาวฤกษ์ก่อตัวจากการรวมกันของวัสดุที่ตกลงสู่ดาวฤกษ์ก่อนเกิด จากจานรอบดาวฤกษ์หรือสิ่งที่หุ้มมันอยู่ วัสดุในจานเย็นกว่าบริเวณพื้นผิวของดาวฤกษ์ก่อนเกิด ดังนั้นมันจึงแผ่รังสีคลื่นยาวที่ยาวกว่าแสงที่ถูกปล่อยมาจากการปล่อยพลังงานอินฟราเรดส่วนเกิน เมื่อวัสดุในจานหมดลงไปแล้ว อินฟราเรดส่วนเกินจะลดลง ดังนั้น วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อยมันจะถูกจัดประเภทให้เป็นขั้นวิวัฒนาการ ขึ้นกับความชันของการกระจายพลังงานสเปกตรัมของมันในย่านมิดอินฟราเรด โดยใช้แผนซึ่งถูกเสนอโดยลาดา (1987) เขาเสนอให้แบ่งการจัดประเภทเป็นสามหมวด (I, II และ III) ขึ้นกับค่าอันตรภาคของดัชนีสเปกตรัม ( α {\displaystyle \alpha \,} ):[1]

α = d log ⁡ ( λ F λ ) d log ⁡ ( λ ) {\displaystyle \alpha ={\frac {d\log(\lambda F_{\lambda })}{d\log(\lambda )}}}

โดย λ {\displaystyle \lambda \,} คือความยาวคลื่น และ F λ {\displaystyle F_{\lambda }} คือความหนาแน่นของฟลักซ์

α {\displaystyle \alpha \,} ถูกคำนวณในช่วงความยาวคลื่นระหว่าง 2.2–20 μ m {\displaystyle {\mu }m} (ย่านใกล้อินฟราเรดและมิดอินฟราเรด) อันเดรและคณะ (1993) เป็นผู้ค้นพบหมวด 0 ซึ่งเป็นชั้นที่วัตถุมีการปลดปล่อยซับมิลลิเมตรอย่างรุนแรง แต่เจือจางมากที่ λ < 10 μ m {\displaystyle {\lambda }<10{\mu }m} [2] ต่อมากรีนน์และคณะ (1994) ได้เพิ่มหมวดที่ 5 หรือแหล่ง "สเปกตรัมราบ" เข้ามา[3]

  • แหล่ง หมวด 0 – ไม่สามารถตรวจพบได้ที่ค่า λ < 20 μ m {\displaystyle {\lambda }<20{\mu }m}
  • แหล่ง หมวด I มีค่า α > 0.3 {\displaystyle {\alpha }>0.3}
  • แหล่ง สเปตรัมราบ มีค่า 0.3 > α > − 0.3 {\displaystyle 0.3>{\alpha }>-0.3}
  • แหล่ง หมวด II มีค่า − 0.3 > α > − 1.6 {\displaystyle -0.3>{\alpha }>-1.6}
  • แหล่ง หมวด III มีค่า α < − 1.6 {\displaystyle {\alpha }<-1.6}

แผนการจัดประเภทนี้สะท้อนให้เห็นลำดับการวิวัฒนาการได้อย่างคร่าว ๆ เชื่อกันว่าสิ่งที่ฝังอยู่ลึกที่สุดในแหล่งหมวด 0 จะค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นหมวด I โดยการสลายตัวของสิ่งหุ้มรอบดาวฤกษ์ จนในที่สุดแล้วพวกมันจะปรากฎให้มองเห็นได้บนเส้นเวลาเกิดดาวฤกษ์ และบนดาวฤกษ์ก่อนแถบลำดับหลัก

วัตถุในหมวด II มีจานรอบดาวฤกษ์และสัมพันธ์กันอย่างคร่าว ๆ กับการจัดประเภทดาวฤกษ์ชนิด ที วัว ขณะที่หมวด III ดาวฤกษ์ได้สูญเสียจานของตัวเองไป และสัมพันธ์โดยประมาณกับดาวฤกษ์ชนิด ที วัวอย่างอ่อน โดยในขั้นกลางที่จานสามารถตรวจพบได้ที่ความยาวคลื่นช่วงยาว (เช่น ที่ 24 μ m {\displaystyle 24{\mu }m} ) วัตถุเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า วัตถุเปลี่ยนจาน (transition-disk objects)

ใกล้เคียง

วัตถุเวทมนตร์ในแฮร์รี่ พอตเตอร์ วัตถุมงคล วัตถุท้องฟ้าของเมซีเย วัตถุทางดาราศาสตร์ วัตถุที่เป็นไปไม่ได้ วัตถุอาร์โรคอท วัตถุดาวฤกษ์อายุน้อย วัตถุแข็งเกร็ง วัตถุเฮอร์บิก–อาโร วัตถุนิยมทางเศรษฐกิจ