ประวัติและการเฉลิมฉลอง ของ วันกีฬาแห่งชาติ_(ญี่ปุ่น)

โยชิโนริ ซาไก ในพิธีเปิดโอลิมปิกฤดูร้อน 1964

รัฐบาลฯ ได้กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันเปิดพิธีของโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 เป็นวันพลศึกษาในปี 1966 เพื่อจุดประสงค์ที่จะให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง[3] ในวันดังกล่าวโรงเรียนหรือชุมชนท้องถิ่นจะจัดงานกีฬาสี (ญี่ปุ่น: 運動会; โรมาจิ: Undōkai; งานออกกำลังกาย) โดยก่อนที่จะเริ่มเล่นกีฬา ก็จะออกกำลังกายเพื่อยืดเส้นยืดสายด้วยการบริหารกาย (ญี่ปุ่น: ラジオ体操; โรมาจิ: Rajio Taisō) ถึงจะเริ่มเล่นกีฬา[4] โดยกีฬาที่เล่นจะสามารถเล่นเป็นหมู่ได้ง่าย เช่น ชักเย่อ โยนลูกบอล การวิ่งผลัด โยนถุงถั่วให้ลงตระกร้าที่ผูกไว้บนเสาไม้ค้ำสูงที่เรียกว่าทามะอิเระ (ญี่ปุ่น: 玉入れ; โรมาจิ: Tamaire) หรือการกลิ้งลูกบอลขนาดใหญ่ไปหาสมาชิกทีมอีกฝั่ง (ญี่ปุ่น: お玉転がし; โรมาจิ: Otama Korogashi) เป็นต้น[5][6][7]

แต่ต่อมาในปี 2000 ได้มีการเปลี่ยนวันพลศึกษาเป็นวันจันทร์ที่สองของเดือนตุลาคมตามระบบแฮปปี้ซันเดย์ที่ย้ายวันหยุดราชการต่าง ๆ ไปเป็นวันจันทร์เพื่อสร้างวันหยุดติดต่อกันสามวัน และในปี 2018 ได้มีการเปลี่ยนชื่อวันพลศึกษาเป็นวันกีฬาแห่งชาติ โดยมีผลบังคับใช้ในปี 2020 เป็นต้นมา ด้วยเหตุผลที่คำว่า "พลศึกษา" ให้ความรู้สึกที่โน้มไปทางการศึกษาในโรงเรียนมากกว่าและชูความสำคัญของการเล่นกีฬาเพื่อให้สอดคล้องกับโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[8][9]

ใกล้เคียง

วันกีฬาแห่งชาติ (ญี่ปุ่น) วันพีซ วันพีซ สแตมปีด วันรีพับลิก วันกองทัพ วันพีซ ฟิล์ม แซด วันดี ศรีตรัง วันพีซ ฟิล์ม เรด วันกาชาดและเสี้ยววงเดือนแดงโลก วันดีมหาวินาศ คนอึดตายยาก

แหล่งที่มา

WikiPedia: วันกีฬาแห่งชาติ_(ญี่ปุ่น) https://www.japanesepod101.com/blog/2019/09/09/spo... https://olympics.com/ja/news/2020%E5%B9%B4%E3%81%A... https://www.tofugu.com/japan/undoukai-sports-festi... https://monahansintokyo.wordpress.com/2015/10/10/j... https://www.youtube.com/watch?v=VvtFqsdiI_w https://elaws.e-gov.go.jp/document?law_unique_id=3... https://www.kantei.go.jp/jp/headline/tokyo2020/shu... https://www.shugiin.go.jp/internet/itdb_housei.nsf... https://hugkum.sho.jp/162027