ประวัติ ของ วันทยหัตถ์

สมัยโบราณ อัศวินจะใส่ชุดเกราะเหล็ก จะมีหมวกเหล็กที่มีตะแกรงด้านหน้าเอาไว้ป้องกันตา เนื่องจากผู้ที่เป็นอัศวินล้วนเป็นผู้ที่มีชาติตระกูล ก่อนที่จะประลอง จะมีการเปิดตะแกรงด้านหน้าออกมาเพื่อให้ได้เห็นหน้าตาของคู่ต่อสู้ ถือว่าเป็นการให้เกียรติซึ่งกันและกัน คล้าย ๆ กับชาวจีนที่การต่อสู้แบบตัวต่อตัวนั้น จะต้องบอกชื่อของตัวเองให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ วิธีการเปิดตะแกรงด้านหน้าออก ทำโดยการใช้มือดันตะแกรงด้านหน้าขึ้นไป หลังจากนั้นต่อมา การแสดงความเคารพแบบนี้ก็ได้แพร่หลายในหมู่นักรบทั่วไป กลายเป็นการแสดงความเคารพในแบบปกติของชาวบ้านด้วย เนื่องจากยุโรปเป็นเมืองหนาว บุคคลทั่วไปจะสวมหมวก เวลาที่ทักทายกันโดยเฉพาะระหว่างทักทายกุลสตรี วิธีการคือใช้ปลายนิ้วมือจับปลายหมวกด้านหน้า ถอดแล้วเหวี่ยงไปถึงแขนตรงกันข้ามในลักษณะนี้มีพร้อมกับการก้มหัวเล็กน้อย แต่ต่อเมื่อที่วันๆ หนึ่งจะมีบุคคลต้องเคารพมากมายหรือเพียงแค่เร่งรีบ ชาวบ้านจึงใช้ปลายนิ้วมือจับปลายหมวกด้านหน้ายกขื้นและยกลงโดยที่ไม่ถอดหมวก จนในที่สุดการทหารก็ได้นำการทำความเคารพชนิดนี้มาใช้เป็นนโยบายหลักในการเคารพนายทหาร

ในทางการปฏิบัติเมื่อ 2000 ปีมาแล้ว กองทหารโรมันที่เป็นที่รู้จักกันดีว่ามีความเป็นระเบียบ ทหารจะสวมชุดเกราะที่เป็นโลหะ เวลามีการสวนสนามบรรดานายทหารที่ใส่ชุดเกราะนั่งอยู่บนอัฒจันทร์ กลางวันแดดจ้ามากสะท้อนแสง ดังนั้นเวลาหมู่ทหารที่เดินสวนสนามอยู่ข้างล่างต้องมองไปที่เหล่านายทหาร แสงแดดสะท้อนกับชุดเกราะ แสบตา เป็นเหตุให้ทหารทำหน้าตาน่ารังเกียจ เหล่านายทหารจึงได้อนุญาตให้ยกมือขึ้นป้องหน้าเพื่อให้มองนายทหารได้ชัดเจน นายทหารที่อยู่บนนั้นเห็นว่ามันเป็นระเบียบดีขึ้นและคล้ายกับเป็นท่าที่ทำความเคารพวิธีหนึ่ง จึงกำหนดให้ท่าป้องหน้า (ตะเบ๊ะ) เป็นวิธีทำความเคารพผู้บังคับบัญชา

ทฤษฎีหนึ่งเชื่อว่าการทำวันทยหัตถ์มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน แต่ก็ไม่มีหลักฐานยืนยันว่าทหารยุคนั้นยกมือขึ้นเพื่อทักทายกันอย่างเป็นทางการ และ อีกทฤษฎีเชื่อว่าการทำวันทยหัตถ์มีมาตั้งแต่สมัยยุคกลางของยุโรป เหล่าอัศวินใช้มือยกดาบขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าพวกเขามาอย่างเป็นมิตร ทว่าคำอธิบายนี้ก็ยังคงน่าเคลือบแคลง