วันนักขัตฤกษ์

วันนักขัตฤกษ์ คือวันหยุดตามกฎหมายและมักไม่ใช่วันทำงาน ประเทศและดินแดนมีวันนักขัตฤกษ์ตามเทศกาลต่าง ๆ ที่อิงจากเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ อย่างเช่น วันชาติ ตัวอย่างเช่น ชาวออสเตรเลียจะฉลองวันชาติออสเตรเลีย ในวันที่ 26 มกราคม ซึ่งแต่ละประเทศมีวันนักขัตฤกษ์ที่แตกต่างกันไป ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีวันนักขัตฤกษ์มากที่สุด คือ 36 วัน แต่เนปาลต้องทำงาน 6 วันต่ออาทิตย์ ประเทศอินเดียเป็นอันดับสอง คือ มีวันนักขัตฤกษ์ 21 วัน ตามมาด้วยโคลัมเบียและฟิลิปปินส์ ประเทศละ 18 วัน ส่วนจีนและฮ่องกงมีวันนักขัตฤกษ์ 17 วันในหนึ่งปี[1] แต่บางประเทศอย่างกัมพูชา ที่ทำงานอาทิตย์ละ 6 วัน มีวันหยุดรวมวันนักขัตฤกษ์ 28 วัน[2] โดยปกติแล้ว วันนักขัตฤกษ์เป็นวันเฉลิมฉลอง เช่น วันครบรอบเหตุการณ์สำคัญในประว้ติศาสตร์ และอาจเป็นวันสำคัญทางศาสนา เช่น ทีปาวลี วันหยุดเหล่านี้อาจจะเฉพาะเจาะจงว่าเป็นวันไหนเดือนไหนของปี หรืออาจจะตามปฏิทินจันทรคติ

ใกล้เคียง

วันนักบุญแพทริก วันนั้น วันไหน หัวใจบรรเลง วันนั้น...วันไหน หัวใจจะเป็นสีชมพู วันนักบุญมาร์ติน วันนักประดิษฐ์ วันนักข่าว วันนักบินอวกาศ วันนักมวย วันนักขัตฤกษ์ วันอัฏฐมีบูชา