เบื้องหลัง ของ วันประชาธิปไตยสากล

ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1997 สหภาพระหว่างรัฐสภา (IPU) ได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยประชาธิปไตย[2] ซึ่งได้ให้การรับรองหลักการของประชาธิปไตย ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ และให้ความสนใจของนานาประเทศในระบอบประชาธิปไตย

ที่ประชุมนานาชาติเกี่ยวกับประชาธิปไตยใหม่และได้รับการฟื้นฟู (ICNRD) เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1988[3] โดยในตอนเริ่มแรกนั้น ได้ใช้เป็นที่ประชุมระหว่างรัฐบาล ที่ประชุมดังกล่าวได้พัฒนาโครงสร้างสามฝ่าย อันประกอบด้วย รัฐบาล รัฐสภาและองค์การภาคประชาชน การประชุมครั้งที่หก ซึ่งจัดขึ้นในกาตาร์ ในปี ค.ศ. 2006 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญและหลักการดังกล่าว และยังได้มีการออกแผนปฏิบัติงานเพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการปกครองและคุณค่าของระบอบประชาธิปไตยอย่างลึกซึ้ง

ผลสืบเนื่องมาจากการประชุมดังกล่าว บอร์ดให้การแนะนำถูกจัดตั้งขึ้นโดยผู้นำของกระบวนการดังกล่าว คือ กาตาร์ ซึ่งตัดสินใจเพื่อที่จะส่งเสริมวันประชาธิปไตยสากล โดยกาตาร์ได้เป็นผู้นำในการร่างเนื้อความในมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และปรึกษาร่วมกันกับรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ

IPU ได้เสนอให้เลือกวันที่ 15 กันยายนถูกเลือกให้เป็นวันประชาธิปไตยสากล และประชาคมระหว่างประเทศควรจะมีการจัดงานเฉลิมฉลองประจำปีเนื่องในวันประชาธิปไตยสากลดังกล่าว โดยมติดังลก่าวได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ ของสหประชาชาติในความพยายามที่จะให้รัฐบาลส่งเสริมและทำให้ประชาธิปไตยมีความมั่นคงยิ่งขึ้น[4] ซึ่งมติดังกล่าวได้รับการรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007

ใกล้เคียง

วันปรีดี พนมยงค์ วันประกาศอิสรภาพ (สหรัฐ) วันประชาธิปไตยสากล วันประมงแห่งชาติ วันประชากรโลก วันประชาธิปไตย วันประดับธงในประเทศสวีเดน วันประกาศอิสรภาพ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร วันพระ