ประวัติ ของ วันมิลเลียนดอลลาร์พารานอร์มัลชาเลนจ์

นักมายากลและนักแฉเรื่องหลอกลวง นายเจมส์ แรนดี้ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิการศึกษาเจมส์แรนดี้

นักมายากลและนักแฉเรื่องหลอกลวง นายเจมส์ แรนดี้ ได้เกิดไอเดียนี้ขึ้น เมื่อเขาร่วมอยู่ในการสนทนาทางวิทยุที่นักปรจิตวิทยา (ผู้ศึกษาปรากฏการณ์ทางจิตที่อธิบายไม่ได้) ท้าให้เขาเดิมพันสิ่งที่เขาพูด[1]ดังนั้นในปี พ.ศ. 2507 เขาจึงได้เริ่มเงินรางวัลหนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ (เท่ากับเงินประมาณ 274,136 บาทในปัจจุบัน) และต่อจากนั้นจึงเพิ่มเป็นหมื่นดอลลาร์ต่อมา บริษัทกระจายเสียงเล็กซิงตันต้องการให้เขาทำรายการโชว์ชื่อว่า $100,000 Psychic Prize (รางวัลผู้มีอำนาจทางจิตวิญญาณหนึ่งแสนเหรียญสหรัฐ) ดังนั้น บริษัทจึงเพิ่มให้อีกเก้าหมื่นเหรียญเพิ่มเงินทุนเริ่มต้นที่ได้ในที่สุดในปี 2539 เพื่อนของเขาคือนายริก อะดัมส์ ผู้เป็นนักบุกเบิกอินเทอร์เน็ต ได้บริจาคเงินหนึ่งล้านเหรียญสหรัฐเพื่อใช้เป็นรางวัล[2]

โดยวันที่ 1 เมษายน 2550 ผู้ที่มีชื่อเสียงทางสื่อและการรับรองจากนักวิชาการเท่านั้น ที่จะสามารถสมัครชิงรางวัลได้ข้อแม้นี้มีเพื่อจะไม่ต้องทดสอบคนสมัครที่ไม่มีชื่อเสียงหรือเป็นโรคจิต แล้วให้เวลากับพวกนักจิตวิญญาณและผู้อ้างว่ามีอำนาจเหนือธรรมชาติที่มีชื่อเสียง โดยเผยแพร่เรื่องทางสื่อ[3]

ในวันที่ 4 มกราคม 2551 มีการประกาศว่าจะมีการยกเลิกรางวัลในวันที่ 6 มีนาคม 2553 เพื่อที่จะใช้เงินรางวัลทำอย่างอื่น แต่ก่อนที่จะยกเลิก คนที่ต้องการก็สามารถสมัครชิงรางวัลนั้นได้ เหตุผลที่ให้ในการยกเลิกก็คือผู้อ้างอำนาจเหนือธรรมชาติที่มีชื่อเสียงไม่เต็มใจที่จะสมัครชิงรางวัล[4]ต่อมา ในงานประชุมจอมมหัศจรรย์ (The Amazing Meeting) ครั้งที่ 7 จึงมีการประกาศว่า จะไม่ยกเลิกรางวัลและในวันที่ 30 กรกฎาคม 2552 มูลนิธิจึงได้ปรับข้อมูลเว็บไซต์อย่างเป็นทางการประกาศว่า รางวัลจะดำเนินต่อไป และกล่าวว่า จะให้ข้อมูลในภายหลังเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของกฎระเบียบและวิธีการ[5]

โดยทำเป็นการเล่นตลกในวันที่ 1 เมษายน 2551 (วันเมษาหน้าโง่) นายแรนดี้แกล้งให้รางวัลกับนักมายากลอีกคนหนึ่งหลังจากที่ทดสอบ "ความสามารถทางจิตวิญญาณ" ของเขา[6]

ต่อมาวันที่ 8 มีนาคม 2554 มูลนิธิประกาศว่า มีการเปลี่ยนคุณสมบัติในการสมัครเพื่อให้มีผู้สมัครชิงรางวัลได้มากขึ้น ก่อนหน้านี้ ผู้สมัครต้องส่งเรื่องที่เผยแพร่ในสื่อมวลชน และจดหมายจากสถาบันวิชาการเพื่อที่จะสมัครชิงรางวัล แต่กฏใหม่ให้ผู้สมัครส่งเรื่องที่เผยแพร่ในสื่อมวลชน หรือจดหมายจากสถาบันวิชาการ หรือวิดีโอสาธารณะที่แสดงความสามารถของตนมูลนิธิอธิบายว่า กฎใหม่จะทำให้ผู้ไม่มีหลักฐานทางสื่อมวลชนหรือจากสถาบันวิชาการสามารถสมัครได้ และมูลนิธิก็จะสามารถใช้วิดีโอออนไลน์และบริการเครือข่ายสังคมเพื่อจะเข้าถึงคนเป็นจำนวนเพิ่มขึ้นได้[7]

ตั้งแต่ตั้งรางวัลนี้ในปี 2507 มีผู้สมัครชิงรางวัลแล้วประมาณพันคน แต่ยังไม่มีใครได้รางวัล[1]นายแรนดี้แจ้งว่า ผู้สมัครที่ล้มเหลวเพียงไม่กี่คนเท่านั้น ที่ได้พิจารณาตนเองอย่างจริงจังว่า การทำไม่สำเร็จอาจเป็นเพราะตนไม่มีอำนาจตามที่เชื่อว่ามี[8]

ใกล้เคียง

วันมิลเลียนดอลลาร์พารานอร์มัลชาเลนจ์ วันวิสาขบูชา วันมูหะมัดนอร์ มะทา วันมาฆบูชา วันพิฆาตสะกดโลก วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ วัดมิ่งเมือง วันมอร์แชนซ์ (เพลงไมเคิล แจ็กสัน) วันสิ้นโลก วันมหิดล

แหล่งที่มา

WikiPedia: วันมิลเลียนดอลลาร์พารานอร์มัลชาเลนจ์ http://arstechnica.com/gadgets/2015/07/even-vegas-... http://arstechnica.com/staff/2015/02/to-the-audiop... http://transcripts.cnn.com/TRANSCRIPTS/0103/06/lkl... http://transcripts.cnn.com/TRANSCRIPTS/0106/05/lkl... http://transcripts.cnn.com/TRANSCRIPTS/0109/03/lkl... http://transcripts.cnn.com/TRANSCRIPTS/0701/26/lkl... http://www.nytimes.com/2014/11/09/magazine/the-unb... http://www.sfweekly.com/2009-08-26/news/the-demyst... http://www.wired.com/news/technology/0,72482-0.htm... http://www.youtube.com/watch?v=-_hit23Tyak