กระบวนการผลิต ของ วัสดุทนไฟ

การใช้งานวัสดุทนไฟ โดยเบื้องต้น จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะในการติดตั้ง จากนั้นจึงเลือกวัสดุทนไฟ ที่มีองค์ประกอบที่เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน

สำหรับวิธีการผลิต มีแตกต่างหลายแบบ ส่วนใหญ่จะขึ้นกับลักษณะของวัสดุทนไฟ ได้แก่

  1. Shaped Refractory หลังจากผ่านกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ และผสมแล้ว จะนำมาขึ้นรูป โดยใช้วิธีต่างๆ กัน เช่น
    • การอัดขึ้นรูป (Pressing) อาจจะใช้เครื่องอัดขึ้นรูป (Machine Pressing) หรือใช้ การขึ้นรูปด้วยมือ (Handmould)
    • การรีด (Extruded)
    • การหล่อเทแบบ (Casting)
    • การหลอมเทแบบ (Fused Cast)
    • การขึ้นรูปโดยการปั้นแบบ (Plastic Hand Forming)
  2. Unshaped Refractory หรือ Monolithic หลังผ่านกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ และผสมแล้ว จะบรรจุในภาชนะบรรจุตามลักษณะของการใช้งาน เช่น ปูนทนไฟ , คอนกรีตทนไฟ เป็นต้น
  3. Fibrous Refractory ลักษณะการผลิตโดยเบื้องต้นจะคล้ายกับการผลิตใยแก้ว หลังจากได้เส้นใย (Bulk) มา จะทำให้เป็นแผ่นหนา (Blanket) หรือนำ Blanket มาทับซ้อน (Folding) กันเป็น Block เพื่อนำไปใช้งานตามความเหมาะสมต่อไป

ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการขึ้นรูปแล้ว จะถูกทำให้รูปร่างคงตัว และมีความแข็งแรงสูงขึ้น ซึ่งอาจจะใช้ปฏิกิริยาเคมี หรือการเผาที่อุณหภูมิแตกต่างๆ กันตามชนิดของวัสดุทนไฟดังกล่าว

บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยี หรือ สิ่งประดิษฐ์นี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มข้อมูล