วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์

ในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ วารสารวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งพิมพ์เผยแพร่ตามกำหนดเวลา ซึ่งตั้งใจเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมักเป็นการรายงานการวิจัยใหม่ ปัจจุบันมีวารสารวิทยาศาสตร์หลายพันฉบับกำลังตีพิมพ์อยู่ และมีอีกมากที่เคยตีพิมพ์มาก่อนช่วงใดช่วงหนึ่งในอดีต วารสารส่วนใหญ่ศึกษาเฉพาะเรื่องอย่างสูง แม้วารสารเก่าแก่ที่สุดบางฉบับ เช่น เนเจอร์ จะตีพิมพ์บทความและเอกสารวิทยาศาสตร์ในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ก็ตาม วารสารวิทยาศาสตร์มีบทความซึ่งผ่านการกลั่นกรอง ในความพยายามที่จะประกันว่าบทความเป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวารสาร และความถูกต้องตามวิทยาศาสตร์ แม้วารสารวิทยาศาสตร์มองเผิน ๆ แล้วจะคล้ายกับนิตยสารมืออาชีพ แต่แท้จริงแล้วทั้งสองค่อนข้างแตกต่างกันทีเดียว วารสารวิทยาศาสตร์ฉบับต่าง ๆ จะมีอ่านโดยบังเอิญน้อยครั้งนัก เพราะคนนิยมนิตยสารมากกว่า การพิมพ์ผลงานวิจัยเป็นส่วนสำคัญของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ หากงานวิจัยกำลังอธิบายถึงการทดลองหรือการคำนวณ งานเหล่านี้จะต้องให้รายละเอียดเพียงพอที่นักวิจัยอิสระจะทำการทดลองหรือการคำนวณซ้ำเพื่อพิสูจน์ผล บทความวารสารแต่ละบทนี้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของระบบวิธีทางวิทยาศาสตร์อย่างถาวรประวัติศาสตร์วารสารวิทยาศาสตร์เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1665 เมื่อวารสาร จูร์นาล เดส์ สกาวองส์ (Journal des sçavans) ของฝรั่งเศส และ ฟิโลโซฟิคัลทรานแซกชันส์ออฟเดอะรอยัลโซไซตี (Philosophical Transactions of the Royal Society) ของอังกฤษ เริ่มตีพิมพ์ผลการวิจัยอย่างเป็นระบบ วารสารอีกมากกว่าพัน ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุสั้น ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากนั้น[1]บทความในวารสารวิทยาศาสตร์สามารถใช้ในงานวิจัยและระดับอุดมศึกษาได้ บางชั้นเรียนบางส่วนเน้นการตีความบทความคลาสสิก และชั้นเรียนสัมมนาอาจมีการนำเสนองานคลาสสิกหรือปัจจุบันของนักเรียนแต่ละคน ในกลุ่มวิจัยทางวิทยาศาสตร์หรือฝ่ายวิชาการ เป็นธรรมดาที่เนื้อหาของวารสารวิทยาศาสตร์ปัจจุบันจะนำไปอภิปรายในชมรมวารสารมาตรฐานซึ่งวารสารใช้พิจารณาการพิมพ์นั้นอาจแตกต่างกันได้อย่างกว้างขวาง บางวารสาร เช่น เนเจอร์ ไซแอนซ์ มีชื่อเสียงเรื่องการตีพิมพ์บทความซึ่งเป็นการค้นพบอันยิ่งใหญ่ที่เป็นส่วนสำคัญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ในหลายสาขา มีลำดับขั้นของวารสารวิทยาศาสตร์อย่างไม่เป็นทางการอยู่ด้วย วารสารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสาขาใดสาขาหนึ่งมีแนวโน้มเลือกเฟ้นที่สุดในแง่ของบทความที่จะเลือกมาตีพิมพ์ และจะมีปัจจัยกระทบสูงที่สุดด้วย เป็นธรรมดาสำหรับวารสารที่จะมุ่งให้ความสนใจกับส่วนใดส่วนหนึ่งของโลก โดยเน้นเป็นพิเศษงานตีพิมพ์จากประเทศใดประเทศหนึ่งหรือภูมิภาคทางภูมิศาสตร์แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น African Invertebratesบทความมักเป็นเชิงเทคนิคอย่างสูง โดยแสดงงานวิจัยตามทฤษฎีและผลการทดลองล่าสุดในวิทยาศาสตร์สาขาที่วารสารนั้นรายงานอยู่ บทความนี้ผู้อ่านมักไม่เข้าใจยกเว้นนักวิจัยในสาขาและนักศึกษาขั้นสูงเท่านั้น ในบางวิชา ความซับซ้อนนี้เป็นธรรมชาติของเนื้อหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปกติ กฎอันเข้มงวดในการเขียนเชิงวิทยาศาสตร์บังคับโดยบรรณาธิการ อย่างไรก็ดี กฎเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละวารสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างวารสารจากสำนักพิมพ์คนละสำนักกัน

ใกล้เคียง

วารสารการแพทย์นิวอิงแลนด์ วารสารวิชาการ วารสารศาสตร์ข้อมูล วารสารสมาคมวิจัยพม่า วารสารศาสตร์เชิงคำนวณ วารสารวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์ วารสารเมืองโบราณ วารสารศาสตร์ วารสารประวัติศาสตร์ วารสารฟ้าเดียวกัน