วิกฤตการณ์การเงิน_พ.ศ._2550–2551

วิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 ถูกนักเศรษฐศาสตร์จำนวนมากมองว่าเป็นวิกฤตการณ์การเงินครั้งเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930[1][2] วิกฤตการณ์ดังกล่าวส่งผลให้สถาบันการเงินขนาดใหญ่จำนวนหนึ่งเสี่ยงต่อการล้ม รัฐบาลแห่งชาติให้เงินช่วยเหลือธนาคาร และตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกมีแนวโน้มตกต่ำลง ในหลายพื้นที่ ตลาดการเคหะได้รับผลกระทบเช่นกัน ทำให้เกิดการฟ้องขับไล่ การยึดทรัพย์จำนอง (foreclosure) และการว่างงานที่ยาวขึ้น วิกฤตการณ์ดังกล่าวมีบทบาทสำคัญในการล้มละลายของธุรกิจสำคัญ การถดถอยของความมั่งคั่งผู้บริโภคประเมินในระดับล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ และการถดถอยของกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก พ.ศ. 2551–2555 และมีส่วนต่อวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรป[3][4] วิกฤตการณ์นี้ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นวิกฤติสภาพคล่อง สามารถสืบย้อนไปได้ถึงวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 เมื่อบีเอ็นพี พารีบาส์เพิกถอนการถอนเงินจากเฮดจ์ฟันด์ (hedge fund) 3 แห่ง โดยอ้าง "การเหือดแห้งสมบูรณ์ของสภาพคล่อง" (a complete evaporation of liquidity)[5]การระเบิดของฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ซึ่งถึงจุดสูงสุดใน พ.ศ. 2549[6] ทำให้มูลค่าของหลักทรัพย์ที่ถูกติดกับการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์ตกฮวบฮาบ และสร้างความเสียหายแก่สถาบันการเงินทั่วโลก[7][8] วิกฤตการณ์การเงินดังกล่าวถูกกระตุ้นโดยการมีปฏิกิริยาต่อกันอย่างซับซ้อนของนโยบายรัฐที่ส่งเสริมการเป็นเจ้าของบ้าน ให้ผู้กู้ซับไพรม์เข้าถึงแหล่งเงินกู้ได้ง่ายขึ้น การตีราคาการจำนองซับไพรม์สูงเกินจริงโดยอิงทฤษฎีที่ว่าราคาการเคหะจะสูงขึ้นต่อไป วิธีปฏิบัติการซื้อขายที่น่าสงสัย รวมทั้งการที่ยึดสูตรแบล็ก-โชลส์-เมอร์ตอน ทั้งในส่วนของผู้ซื้อและผู้ขาย และการขาดสินทรัพย์ทุนที่เพียงพอจากธนาคารและบริษัทประกันภัยเพื่อหนุนหลังข้อผูกมัดทางการเงินที่พวกเขากำลังทำอยู่[9][10][11] คำถามเกี่ยวกับความสามารถในการชำระหนี้ได้ของธนาคาร การเสื่อมถอยวงเงินเครดิตและความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เสียไปมีผลต่อตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก โดยหลักทรัพย์ประสบการขาดทุนครั้งใหญ่ในช่วง พ.ศ. 2551 และต้น พ.ศ. 2552 เศรษฐกิจทั่วโลกเติบโตช้าลงระหว่างช่วงนี้ เนื่องจากมีการเพิ่มความรัดกุมของเครดิตและการค้าระหว่างประเทศลดลง[12] รัฐบาลและธนาคารกลางสนองโดยการกระตุ้นทางการเงิน การขยายนโยบายการคลังและการให้เงินช่วยเหลือสถาบันอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แม้ว่าจะมีผลกระทบตามมาอยู่บ้าง แต่ตัววิกฤตการณ์การเงินเองสิ้นสุดไปแล้วระหว่างปลาย พ.ศ. 2551 และกลาง พ.ศ. 2552[13][14][15] ในสหรัฐอเมริกา รัฐสภาได้ผ่านรัฐบัญญัติการฟื้นตัวและการลงทุนใหม่อเมริกัน พ.ศ. 2552 ในสหภาพยุโรป สหราชอาณาจักรสนองด้วยมาตรการรัดเข็มขัด ซึ่งเป็นการลดรายข่ายและเพิ่มภาษี โดยไม่มีการเติบโตของการส่งออก ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบสอง (double-dip recession)[16][17]

ใกล้เคียง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการณ์การเงิน_พ.ศ._2550–2551 http://www.bloomberg.com/apps/news?pid=20601170&re... http://money.cnn.com/2006/05/03/news/economy/reale... http://latimesblogs.latimes.com/world_now/2012/05/... http://www.nytimes.com/2011/01/26/business/economy... http://www.reuters.com/article/pressRelease/idUS19... http://ssrn.com/abstract=1924831 http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id... http://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id... http://www.theatlantic.com/business/archive/2012/0... http://business.time.com/2011/08/02/why-a-weaker-d...