เหตุการณ์ ของ วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1979 กลุ่มนักศึกษาปฏิวัติมุสลิมเคร่งศาสนา โกรธที่สหรัฐอเมริการับอดีตกษัตริย์ชาห์ ปาห์เลวี (Shah Pahlavi) แห่งอิหร่านให้ลี้ภัยในแผ่นดินสหรัฐอเมริกาได้ จึงได้จับตัวผู้ทำงานสถานทูตสหรัฐในกรุงเตหะราน (Tehran) ผู้ทำงานด้านการทูตสหรัฐ 52 คน ถูกกักตัวไว้นาน 444 วัน

เหตุการณ์นี้ นับเป็นความรุนแรงที่ทำให้มีการตัดความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อชาวอิหร่านสายกลางได้สิ้นสุดลง นายกรัฐมนตรี Mehdi Bazargan ผู้ไม่เห็นด้วยกับการจับตัวประกันได้ลาออกในเวลาต่อมา ส่วนฝ่ายที่จับตัวประกันให้เหตุผลว่า เป็นการตอบโต้ต่อสหรัฐ อันเป็นผลจากการที่สหรัฐหนุนหลังให้มีการรัฐประหารล้มอำนาจของนายกรัฐมนตรี Mosaddeq ในอิหร่านในปี ค.ศ. 1953 โดยกล่าวว่า “ท่านไม่มีเหตุผลใดที่ได้จับประเทศอิหร่านเป็นตัวประกันในปี ค.ศ. 1953” นอกจากนี้ ชาวอิหร่านบางส่วนกังวลว่าสหรัฐอเมริกาจะวางแผนรัฐประหารในปี ค.ศ. 1979ในที่สุดตัวประกันการทูตของสหรัฐอเมริกา ก็ได้รับการปล่อยตัว แต่การกักตัวทูตและผู้ทำงานการทูตในครั้งนั้น นับเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศเรื่อง ความละเมิดมิได้เกี่ยวกับสถานที่ของคณะผู้แทนทางการทูต ตามข้อ 22 แห่งอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายทางการทูต ค.ศ. 1961

ส่วนในช่วงการกักตัวประกันไว้ในสถานทูต สหรัฐอเมริกาได้ใช้ความพยายามช่วยตัวประกัน โดยมี “ปฏิบัติการกรงเล็บอินทรี” (Operation Eagle Claw) ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1980 แต่ล้มเหลว ทำให้เสียทหารไป 8 นาย และต้องล้มเลิกแผนงาน เหตุวิกฤติจบลงในที่สุด เมื่อมีการลงนามในสัญญา Algiers Accords ในประเทศแอลจีเรียในวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 1981 และมีการปล่อยตัวประกัน ในข้อตกลง มีการปล่อยตัวคนอเมริกันที่ถูกกักตัวในอิหร่าน และอีกด้านหนึ่ง มีการปล่อยตัวคนสัญชาติอิหร่านที่ต้องโทษในสหรัฐอเมริกา

แต่สนธิสัญญานี้ครอบคลุมเพียงด้านกฎหมาย แต่ในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ. 1980 สหรัฐอเมริกาได้ตัดสัมพันธ์กับอิหร่าน ในวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1981 รัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์สหรัฐในอิหร่าน และสถานทูตปากีสถานในกรุงวอชิงตันดีซี ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของอิหร่านในสหรัฐอเมริกา แต่เพื่อเป็นการตอบโต้ต่ออิหร่าน จึงมีการลงโทษทางเศรษฐกิจ ทรัพย์สินของรัฐบาลอิหร่านในต่างประเทศ ในธนาคารต่างประเทศถูกอายัด มีการห้ามทุกประเทศทำการค้าขายกับอิหร่าน ด้วยเหตุดังกล่าว อิหร่านจึงได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ฝ่ายรัฐบาลกลับยิ่งใช้นโยบายกร้าวต่อประชากรที่เอนเอียงไปทางการรับวัฒนธรรมตะวันตก และกลุ่มที่เรียกร้องเสรีภาพ

สังคมอิหร่านเริ่มเปลี่ยนแปลง เมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่ในอิหร่าน ประธานาธิบดีสายเหยี่ยวที่กร้าวต่อตะวันตกหมดอำนาจไป ส่วนผู้ได้รับการเลือกตั้งให้เข้ามารับตำแหน่งคนใหม่ ฮัสซัน รูฮาห์นี (Hassan Rouhani) ประธานาธิบดีคนที่ 7 ของอิหร่าน ซึ่งเป็นพวกเดินสายกลาง และต้องการมีสัมพันธภาพใหม่กับทางตะวันตก

ใกล้เคียง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน http://www.aiipowmia.com/other/iranhostages.html http://www.avenueofflags.com http://www.cnn.com/2005/WORLD/meast/06/30/iran.pre... http://irannegah.com/video_browse.aspx?keyword=hos... http://jahannews.com/vdcf1cd0jw6deca.igiw.html http://www.rescueattempt.com http://www.scribd.com/doc/25722912/This-Week-in-Te... http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,9... http://repository.library.georgetown.edu/handle/10... http://repository.library.georgetown.edu/handle/10...