วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป
วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป

วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป

วิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรป หรือ วิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยยุโรป คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2558 จากการที่ผู้ลี้ภัยและผู้ย้ายถิ่นทางเศรษฐกิจ[1]เพิ่มขึ้นจากพื้นที่อย่างตะวันออกกลาง เอเชียใต้[2][3] ทวีปแอฟริกา และคาบสมุทรบอลข่านตะวันตก[4]หลั่งไหลสู่สหภาพยุโรปข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ และสมัครขอที่ลี้ภัย ผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่มาจากประเทศซีเรีย อัฟกานิสถานและเอริเตรีย มีการใช้คำนี้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2558[5] เมื่อเรืออย่างน้อยห้าลำที่บรรทุกผู้ย้ายถิ่นมุ่งทวีปยุโรปเกือบสองพันคนล่มในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยมียอดผู้เสียชีวิตรวมประเมินไว้กว่า 1,200 คนวิกฤตการณ์นี้เกิดในบริบทความขัดแย้งที่ดำเนินอยู่ในประเทศแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางหลายประเทศ ตลอดจนรัฐบาลสหภาพยุโรปหลายแห่งที่ปฏิเสธสมทบตัวเลือกช่วยเหลือปฏิบัติการมาเรนอสตรัม (Operation Mare Nostrum) ที่ประเทศอิตาลีดำเนินการ ซึ่งปฏิบัติการไทรทันของฟรอนเท็กซ์ (Frontex) รับช่วงต่อในเดือนพฤศจิกายน 2557 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2558 รัฐบาลสหภาพยุโรปตกลงอุดหนุนปฏิบัติการตระเวนชายแดนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นสามเท่าเพื่อให้เท่ากับขีดความสามารถของปฏิบัติการมาเรนอสตรัมก่อนหน้า แต่องค์การนิรโทษกรรมสากลพลันวิจารณ์การสั่งการของสหภาพยุโรปที่ไม่ "ขยายพื้นที่ปฏิบัติการของไทรทัน" ไปพื้นที่ซึ่งเดิมครอบคลุมในมาเรนอสตรัม หลายสัปดาห์ต่อมา สหภาพยุโรปตัดสินใจเริ่มปฏิบัติการใหม่ซึ่งมีฐานที่กรุงโรม ชื่อว่า อียูเนฟฟอร์เมด (EU Navfor Med) ภายใต้การบังคับบัญชาของพลเรือเอกชาวอิตาเลียน เอนรีโก กรีเดนดีโนตามข้อมูลของยูโรสแตด รัฐสมาชิกสหภาพยุโรปได้รับคำขอที่ลี้ภัย 626,000 ครั้งในปี 2557 เป็นจำนวนสูงสุดนับแต่คำขอ 672,000 ครั้งที่ได้ในปี 2535[6] ในปี 2557 การตัดสินใจเรื่องคำขอที่ลี้ภัยในสหภาพยุโรปในชั้นต้นส่งผลให้ผู้ขอที่ลี้ภัยกว่า 160,000 คนได้รับสถานภาพคุ้มครอง ขณะที่อีก 23,000 คนได้รับสถานภาพคุ้มครองระหว่างอุทธรณ์ (on appeal) อัตราการรับรองผู้ขอที่ลี้ภัยอยู่ที่ 45% ในชั้นต้นและ 18% ในชั้นอุทธรณ์ สี่รัฐ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี สวีเดน อิตาลีและฝรั่งเศสได้รับคำขอที่ลี้ภัยราวสองในสามของสหภาพยุโรปและให้สถานภาพคุ้มครองเกือบสองในสามในปี 2557 ขณะที่สวีเดน ฮังการีและออสเตรียติดประเทศที่รับคำขอที่ลี้ภัยของสหภาพยุโรปต่อหัวมากที่สุด เมื่อปรับกับประชากรของตนแล้ว[7][8]

ใกล้เคียง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป