ชนวนเหตุ ของ วิกฤตการณ์มาลายา

จากการถอนกำลังของจักรวรรดิญี่ปุ่น ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เศรษฐกิจของมาลายาได้รับความเสียหายอย่างมาก เกิดปัญหาการว่างงานและค่าจ้างที่ต่ำ รวมไปถึงอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น บ่อยครั้งที่แรงงานมากมายนัดหยุดงานและรวมตัวกันเพื่อประท้วงระหว่างปี ค.ศ. 1946 - 1948 ในห้วงเวลาอันยากลำบากนั้น อังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมของมลายูมีความพยายามอย่างยิ่งที่จะฟื้นระบบเศรษฐกิจของแหลมมลายู ซึ่งรายได้จากการค้าดีบุกและอุตสาหกรรมยางนี้เองเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กลุ่มผู้ประท้วงได้ออกมาเคลื่อนไหวอย่างรุนแรง ซึ่งรัฐบาลก็ได้มีมาตรการจับกุมและเนรเทศออกนอกดินแดน แต่ในทางกลับกันกลับกลายเป็นว่ากลุ่มผู้ประท้วงกลับแข็งข้อมากขึ้น ในวันที่ 16 มิถุนายน 1948 ชนวนเหตุได้ถูกจุดขึ้นเมื่อ 3 ผู้จัดการสวนชาวยุโรปได้ถูกฆ่าตายในเมืองซันกาย ซีปุด รัฐเปรัก

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อังกฤษได้จึงประกาศใช้มาตรการฉุกเฉิน จากนั้นในเดือนกรกฎาคมภายใต้มาตรการฯ พรรคคอมมิวนิสต์มาลายาและกลุ่มบุคคลคู่กรณีได้ถูกกล่าวหาว่าเป็นอาชญากร และตำรวจได้รับอำนาจในการจับกุมและกักขังบุลคลที่เป็นคอมมิวนิสต์และผู้ต้องสงใสว่าให้การช่วยเหลือแก่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ได้โดยไม่ต้องสอบสวน ในขณะนั้น พรรคคอมมิวนิสต์มาลายาซึ่งนำโดย จีนเป็ง ได้ถอยกลับไปยังชนบทและก่อตั้ง กองทัพปลดปล่อยชนชาติมาลายา ขึ้น หรืออีกชื่อหนึ่งคือ กองทัพประชาชนปลดปล่อยมาลายา ใช้การรบแบบกองโจร โดยมีเป้าหมายคือ กลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจของเจ้าอาณานิคม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกและยางพารา

ใกล้เคียง

วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2549 วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2548–2553 วิกฤตรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ค.ศ. 1975 วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป