การจัดเข้าหมวดหมู่ ของ วิกิพีเดีย:การจัดหมวดหมู่

ต้นไม้หมวดหมู่อย่างง่าย
สิ่งมีชีวิต
/
สัตว์

พืช 
/
หมา

แมว

หน้าวิกิพีเดียทุกหน้าควรอยู่ในหมวดหมู่อย่างน้อยหนึ่งหมวดหมู่ ทั้งนี้ ยกเว้นหน้าคุย หน้าเปลี่ยนทาง หรือหน้าผู้ใช้ซึ่งไม่จำเป็นต้องจัดเข้าหน้าหมวดหมู่ แต่อาจจัดเข้าหมวดหมู่ได้ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ หน้าที่จัดเข้าหมวดหมู่แล้วยังควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ที่เจาะจงที่สุดทั้งหมดตามตรรกะ ตามตัวอย่างซ้ายมือ หากบทความ โกลเดินริทรีฟเวอร์ จัดเข้าหมวดหมู่หมาแล้ว ก็ไม่ควรจัดเข้าหมวดหมู่สัตว์อีก เพราะจะไปปรากฏหลายที่ และในบทความสัตว์ก็ไม่เจาะจงพอกับเนื้อหา[lower-alpha 1]

แม้ปกติหมวดหมู่ควรชัดเจนจากชื่อของหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วซึ่งควรจัดหน้านั้นเข้าไป แต่บางทีข้อความของหน้าหมวดหมู่อาจให้สารสนเทศเพิ่มเติมหรือเนื้อหาหมวดหมู่ที่อาจมีได้ การตัดสินว่ามีหมวดหมู่ที่เหมาะสมสำหรับหน้าใดหน้าหนึ่งแล้วหรือยังทางหนึ่งนั้นคือการตรวจสอบหมวดหมู่ของหน้าที่มีหัวข้อคล้ายกันหรือเกี่ยวข้องกัน อีกทางหนึ่งคือการค้นหาชื่อหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วดังที่อธิบายไว้ใน วิธีใช้:การค้นหา โดยใช้กล่องบนขวาของหน้า เนื่องจากทุกหมวดหมู่เป็นส่วนหนึ่งของลำดับชั้น ห้ามใส่หมวดหมู่ในหน้าราวกับว่าเป็นป้ายระบุ (tag)

บทความ

การจัดหมวดหมู่ของบทความต้องสามารถพิสูจน์ยืนยันได้ ควรชัดเจนจากสารสนเทศที่พิสูจน์ยืนยันได้ในบทความว่าเหตุใดบทความนี้จึงจัดอยู่ในทุกหมวดหมู่ การจัดหมวดหมู่ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวอาจถูกลบออก

การจัดหมวดหมู่จะต้องรักษามุมมองที่เป็นกลางด้วย เพราะการจัดหมวดหมู่ปรากฏในหน้าบทความโดยไม่มีความเห็นประกอบหรือการอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลหรืออธิบายการใส่นั้น ผู้เขียนควรมีสำนึกถึงความจำเป็นในการรักษามุมมองที่เป็นกลางเมื่อสร้างหมวดหมู่หรือเพิ่มหมวดหมู่ในบทความ การจัดหมวดหมู่โดยทั่วไปไม่ควรเป็นที่โต้เถียง ถ้าหัวข้อของหมวดหมู่น่าจะก่อให้เกิดข้อถกเถียงอย่างมาก ควรใช้บทความรายการแทนดีกว่า (เพราะสามารถให้ความเห็นประกอบและใส่อ้างอิงได้) ตัวอย่างเช่น นักการเมืองที่ยังไม่ต้องโทษฐานอาชญากรรมใด ๆ ไม่ควรใส่เข้าหมวดหมู่อาชญากร เป็นต้น

มโนทัศน์ศูนย์กลางที่ใช้จัดหมวดหมู่บทความ คือ มโนทัศน์คุณลักษณะนิยามของหัวเรื่องบทความ "คุณลักษณะนิยาม" ( defining characteristic) หมายถึง คุณลักษณะที่แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือนิยามหัวเรื่องนั้นโดยทั่วไปและตรงกัน ตัวอย่างเช่น สัญชาติหรือวิชาชีพที่สำคัญ (ในกรณีบุคคล) ชนิดของสถานที่หรือภูมิภาค (ในกรณีสถานที่) ตัวอย่างเช่น ในบทความ การาวัจโจ คำว่า ชาวอิตาลี, ศิลปิน และ บาโรก ทั้งหมดอาจถือเป็นคุณลักษณะนิยามของหัวเรื่องการาวัจโจ

มีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้ในการจัดบทความเข้าหมวดหมู่

  • ให้ใส่ประกาศหมวดหมู่ เช่น [[หมวดหมู่:ความงาม]] ไว้ท้ายข้อความวิกิ แต่ก่อนแม่แบบโครง ซึ่งรวมข้ามหมวดหมู่ของมันเอง
  • หมวดหมู่ที่มีชื่อเดียวกับหัวเรื่องควรขึ้นก่อน แต่นอกเหนือจากนั้นไม่มีกฎว่าด้วยการเรียงลำดับการจัดหมวดหมู่หน้า แต่ปกติหมวดหมู่ที่สำคัญหรือโดดเด่นที่สุดน่าจะขึ้นต้นก่อน
  • ปกติบทความไม่ควรมีหมวดหมู่ว่าง (ลิงก์แดง)
  • การจัดหมวดหมู่ไม่ควรจัดโดยชนิดของบทความ บทความชีวประวัติเกี่ยวกับคน ๆ หนึ่งไม่จัดอยู่ใน หมวดหมู่:ชีวประวัติ
  • บทความเกี่ยวกับเรื่องแต่งไม่ควรจัดหมวดหมู่ในแบบเดียวกับที่จะทำให้สับสนกับหัวเรื่องจริง

หน้าผู้ใช้

เพื่อป้องกันการสับสนระหว่างหมวดหมู่ชีวประวัติของบทความกับผู้ใช้ ผู้ใช้จึงไม่ควรจัดหน้าผู้ใช้เข้าหมวดหมู่ อย่างไรก็ตาม สามารถจัดเข้าหมวดหมู่ผู้ใช้ได้ เช่น หมวดหมู่:ผู้ใช้แบ่งตามจังหวัด เพื่อช่วยการร่วมมือกันระหว่างผู้ใช้

ด้วยเหตุผลเดียวกัน หน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ซึ่งใช้ร่างบทความก็ไม่พึงจัดไว้ในหมวดหมู่สำหรับบทความ ถ้าลอกเนื้อหาจากบทความมาลงหน้าย่อยของหน้าผู้ใช้ ก็ให้ลบหมวดหมู่สำหรับบทความออก แล้วค่อยใส่หมวดหมู่เหล่านั้นเข้าไปตอนเผยแพร่งานร่างนั้นเป็นบทความแล้ว

ภาพ

เช่นเดียวกับการจัดหมวดหมู่บทความ เช่น

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา