แหล่งข้อมูลที่โดยปกติไม่น่าเชื่อถือ ของ วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้

แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย

"แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัย" หมายถึงแหล่งข้อมูลที่มีชื่อเสียงไม่ดีในการตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือซึ่งปราศจากการควบคุมคุณภาพ (editorial oversight) อย่างสำคัญ หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ แหล่งข้อมูลเช่นว่ารวมถึงเว็บไซต์หรือสิ่งตีพิมพ์ซึ่งแสดงมุมมองที่คนจำนวนมากเห็นว่าสุดโต่ง (extremist) หรือส่งเสริมการขาย หรือซึ่งอิงข่าวลือหรือความเห็นส่วนบุคคลเป็นหลัก แหล่งข้อมูลที่น่าสงสัยนี้ควรถูกใช้เฉพาะเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับเนื้อหาเกี่ยวกับหัวเรื่องนั้นเองเท่านั้น และไม่เหมาะสมที่จะใช้สำหรับอ้างอิงการอ้างเกี่ยวกับบุคคลที่สาม

แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เอง

ใคร ๆ ก็สามารถสร้างเว็บเพจส่วนตัวหรือจ่ายเงินเพื่อให้ตีพิมพ์หนังสือได้ แล้วอ้างตนว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง ด้วยเหตุนั้น สื่อที่ตีพิมพ์เอง อย่างหนังสือ สิทธิบัตร จดหมายข่าว เว็บไซต์ส่วนตัว วิกิเปิด บล็อกส่วนตัวหรือกลุ่ม โพสต์ในฟอรัมอินเทอร์เน็ต และข้อความทวิต ส่วนใหญ่ไม่อาจถือเป็นแหล่งอ้างอิงได้ แหล่งอ้างอิงที่ตีพิมพ์เองของผู้เชี่ยวชาญอาจถือว่าน่าเชื่อถือเมื่อทำขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับในหัวเรื่องของบทความนั้น ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของผลงานในสาขาที่เกี่ยวข้องและเคยตีพิมพ์ในสิ่งตีพิมพ์บุคคลที่สามที่น่าเชื่อถือแล้ว พึงเอาใจใส่เมื่อใช่แหล่งอ้างอิงเช่นว่านี้ ถ้าข้อมูลที่กล่าวถึงนั้นควรค่าแก่การรายงานโดยแท้จริง อาจมีผู้อื่นที่รายงานแล้วด้วยเช่นกัน อย่าใช้แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เองเป็นแหล่งข้อมูลบุคคลที่สามเกี่ยวกับบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ผู้ประพันธ์จะเป็นผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยอาชีพที่เป็นที่รู้จักกันดี หรือนักเขียนก็ตาม

การใช้แหล่งข้อมูลที่ตีพิมพ์เองและที่น่าสงสัยเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง

แหล่งข้อมูลตีพิมพ์เองและที่น่าสงสัยอาจใช้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเองได้ โดยมักปรากฏในบทความเกี่ยวกับตัวเองหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และไม่ต้องมีสิ่งจำเป็น ตราบเท่าที่:

  1. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่เอื้อประโยชน์แก่ตัวเองมากเกินไป
  2. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่มีการอ้างเกี่ยวกับบุคคลที่สาม
  3. แหล่งอ้างอิงนั้นไม่มีการอ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับแหล่งอ้างอิงนั้น
  4. ไม่มีข้อสงสัยอย่างสมเหตุสมผลถึงความถูกต้อง
  5. บทความนั้นไม่อิงอยู่บนแหล่งอ้างอิงเช่นว่าเป็นหลัก

นโยบายนี้ยังมผลต่อหน้าที่ว่าด้วยเว็บเครือข่ายสังคม อย่างทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก

วิกิพีเดียและแหล่งข้อมูลที่ลอกหรือใช้วิกิพีเดีย

อย่าใช้บทความจากวิกิพีเดียหรือจากเว็บไซต์ที่ลอกเนื้อหาจากวิกิพีเดียไปลงเป็นแหล่งข้อมูล เพราะมีค่าเท่ากับการอ้างตัวเอง เช่นเดียวกัน อย่าใช้แหล่งข้อมูลที่นำเสนอสื่อที่กำเนิดจากวิกิพีเดียสนับสนุนเนื้อหาเดียวกันในวิกิพีเดีย ซึ่งไม่ต่างอะไร วิกิพีเดียอาจใช้เป็นแหล่งอ้างอิงด้วยความระมัดระวังเป็นแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิหากเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวเอง เช่น ในบทความเกี่ยวกับวิกิพีเดีย

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา