วิธีการอ้างอิง ของ วิกิพีเดีย:การอ้างอิงแหล่งที่มา

เชิงอรรถ

ภาพแสดงมาร์กอัพ <ref></ref> ในกล่องแก้ไข

การอ้างอิงประเภทนี้เป็นบรรทัดข้อความที่ระบุถึงแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้กับข้อความที่สนับสนุน นับเป็นการอ้างอิงข้อมูลประเภทข้อความอย่างถูกต้อง ถ้าคำใดคำหนึ่งหรือวลีใดวลีหนึ่งเป็นที่โต้เถียงกันอย่างมาก คุณสามารถใช้อ้างอิงประเภทนี้ติดกับคำหรือวลีดังกล่าวได้โดยไม่ต้องรอจนจบประโยคก็ได้ แต่โดยทั่วไปแล้วการใส่อ้างอิงจุดเดียวในบทความที่ท้ายประโยคที่ต้องการจะอ้างอิงก็เพียงพอแล้ว ตราบใดที่เป็นที่อธิบายได้ว่าแหล่งข้อมูลใดสนับสนุนส่วนใดของข้อความ

การอ้างอิงในบทความวิกิพีเดียส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของเชิงอรรถ ซึ่งปรากฏในรูปของวงเล็บเหลี่ยมและมีตัวเลขอยู่ภายในที่สามารถคลิกได้และลิงก์ไปยังรายการตัวเลขอ้างอิงที่อยู่ตอนท้ายของบทความ

หลังจากประโยค หรือย่อหน้าที่อ้างอิง ให้ใส่:

<ref>ที่มาของอ้างอิง</ref>

ซึ่งจะปรากฏในลักษณะนี้

คนส่วนมากเชื่อเรื่องผี[1]

เครื่องหมายอ้างอิงโดยปกติจะวางไว้ท้ายประโยคหรือย่อหน้าที่ต้องการอ้างอิง แต่บางครั้งหากคำหรือวลีนั้นเป็นที่โต้เถียงกันมาก และอยู่กลางประโยค ก็อาจเพิ่มเครื่องหมายดังกล่าวติดกับข้อความนั้นได้ทันที แต่โดยทั่วไปแล้ว การอ้างอิงท้ายประโยคหรือย่อหน้าก็เพียงพอแล้ว ตราบเท่าที่ประจักษ์ว่าแหล่งข้อมูลนั้นสนับสนุนส่วนใดของข้อความ หากกล่องข้อมูลหรือตารางต้องการอ้างอิง แต่ไม่สามารถใช้การอ้างอิงแบบเป็นจุดได้ ควรใช้คำบรรยายหรือข้อความอื่นที่อภิปรายถึงเนื้อหานั้นแทน

การสร้างรายการอ้างอิง

ผู้ใช้คนแรกที่เพิ่มเชิงอรรถเข้าไปในบทวามต้องสร้างส่วนที่ข้อความอ้างอิงนั้นปรากฏ การอ้างอิงจะปรากฏที่ท้ายบทความตรงที่คุณพิมพ์ว่า {{รายการอ้างอิง}} การพิมพ์ดังกล่าวจะสร้างรายการเชิงอรรถที่ใช้ในบทความขึ้น และควรตั้งชื่อหัวข้อนั้นว่า "อ้างอิง" หรือ "เชิงอรรถ" โดยเขียนดังนี้:

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}

โดยรายชื่อแหล่งอ้างอิงจะแสดงและเรียงลำดับให้โดยอัตโนมัติ

หากส่วนอ้างอิงกินเนื้อที่มากเกินไป แลดูไม่สวยงาม สามารถแบ่งการแสดงผลเป็นสอง หรือสามคอลัมน์ โดยใส่

{{รายการอ้างอิง|2}} หรือ {{รายการอ้างอิง|3}}

อ้างอิงหลายจุดในบทความ จากแหล่งเดียวกัน

ในครั้งแรก หลังจากประโยค หรือส่วนที่อ้างอิง ให้ใส่ตัวแปร "name" และระบุชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิงนี้

<ref name="name">ที่มาของแหล่งอ้างอิง</ref>

การอ้างอิงครั้งต่อไป ไม่จำเป็นต้องใส่ชื่อเว็บไซต์หรือชื่อหนังสือ ให้ใส่เพียงชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิง:

<ref name="name"/>

หมายเหตุ: หากชื่อเรียกสำหรับแหล่งอ้างอิงนั้น (1) เป็นภาษาอังกฤษ (2) ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยตัวเลข และ (3) ไม่มีการเว้นวรรค สามารถละเครื่องหมาย "..." (อัญประกาศ) ได้ เช่น <ref name=abc>

อ้างอิงแบบย่อ

ในหลายบทความมีการใช้การอ้างอิงแบบย่อในเชิงอรรถ โดยเขียนเฉพาะผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และหมายเลขหน้า ตัวอย่างเช่น <ref>Smith 2010, p. 1.</ref> รายการเชิงอรรถจะปรากฏขึ้นโดยอัตโนมัติตามที่ได้ระบุไว้ด้านบนแล้ว สำหรับแหล่งข้อมูลเต็มจะระบุไว้ในส่วน "บรรณานุกรม" หรือคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น

ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือข้าพเจ้าได้เห็นมา<ref>กุหลาบ สายประดิษฐ์, 2500, หน้า 5</ref>
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
== บรรณานุกรม ==
* กุหลาบ สายประดิษฐ์, ข้าพเจ้าได้เห็นมา, สำนักพิมพ์ สุภาพบุรุษ, 2494

ซึ่งจะปรากฏในบทความดังนี้:

ประโยคนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากหนังสือข้าพเจ้าได้เห็นมา[1]

อ้างอิง


  1. กุหลาบ สายประดิษฐ์, 2494, หน้า 5

บรรณานุกรม


  • กุหลาบ สายประดิษฐ์, ข้าพเจ้าได้เห็นมา, สำนักพิมพ์ สุภาพบุรุษ, 2494

อ้างอิงทั่วไป

อ้างอิงทั่วไปเป็นการอ้างอิงไปยังแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือซึ่งสนับสนุนเนื้อหา แต่ไม่แสดงเป็นอ้างอิงแทรกในเนื้อหา อ้างอิงทั่วไปโดยปกติจะทำรายการไว้ท้ายบทความในส่วน "อ้างอิง" และมักเรียงตามชื่อของผู้ประพันธ์ ตัวอย่างของอ้างอิงแบบทั่วไปมีให้ด้านบนในส่วนอ้างอิงแบบย่อแล้ว

นอกเหนือไปจากการใช้อ้างอิงทั่วไปเมื่อใช้อ้างอิงแบบย่อหรือแบบวงเล็บแล้ว ส่วนอ้างอิงทั่วไปยังรวมในบทความที่ใช้อ้างอิงแทรกในเนื้อหาครบถ้วนสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากการอ้างอิงนั้นยังมิได้ให้แก่ข้อมูลทั้งหมดในบทความ ในบทความที่ยังไม่ได้พัฒนา ส่วนอ้างอิงทั่วไปอาจมีได้แม้ว่าจะยังไม่มีอ้างอิงแทรกในเนื้อหาเลยก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีเนื้อหาทั้งบทความได้รับการสนับสนุนด้วยแหล่งข้อมูลเพียงแหล่งเดียว ข้อเสียของการใช้อ้างอิงทั่วไปเป็นอย่างเดียวคือ ความถูกต้องของการอ้างอิง (text-source integrity) จะเสียไป เว้นเสียแต่บทความนั้นสั้นมาก

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาอาหรับอียิปต์