แนวปฏิบัติด้านความโดดเด่นทั่วไป ของ วิกิพีเดีย:ความโดดเด่น

หากหัวเรื่องใดได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญ (significant coverage) ในแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือและไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่องนั้น ให้สันนิษฐานว่าหัวเรื่องนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ในการสร้างเป็นบทความหรือรายชื่อใหม่

  • ในที่นี้ คำว่า "การกล่าวถึงอย่างสำคัญ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลได้กล่าวถึงหัวเรื่องในรายละเอียดโดยตรง ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีแหล่งข้อมูลต้นฉบับในการคัดย่อความเนื้อหา การกล่าวถึงอย่างสำคัญเป็นมากกว่าการกล่าวถึงในเชิงเกร็ด (trivial mention) แต่ไม่ถึงกับต้องเป็นหัวข้อหลักของแหล่งข้อมูลนั้น
  • ในที่นี้ คำว่า "ที่น่าเชื่อถือ" หมายความว่า แหล่งข้อมูลจะต้องมีความซื่อตรงต่อจรรยาบรรณ (editorial integrity) เพื่อให้สามารถประเมินความโดดเด่นพิสูจน์ยืนยันได้ แหล่งข้อมูลอาจเป็นได้ตั้งแต่งานตีพิมพ์ในทุกรูปแบบ ทุกสื่อ และทุกภาษา การมีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิที่ครอบคลุมเนื้อหาเป็นการทดสอบความโดดเด่นได้เป็นอย่างดี
  • ในที่นี้ "แหล่งข้อมูล" ควรเป็นแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อจุดประสงค์ในการตรวจสอบความโดดเด่นของหัวเรื่อง เพราะแหล่งข้อมูลเหล่านี้มักให้หลักฐานความโดดเด่นโดยอยู่บนพื้นฐานความจริงมากที่สุด ปริมาณและลักษณะแท้จริงของแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่จำเป็นในการยืนยันความโดดเด่นนั้นต่างกันไปขึ้นอยู่กับความลึกของรายละเอียดและคุณภาพของแหล่งข้อมูล โดยทั่วไปมักคาดว่าหัวเรื่องนั้นจะต้องมีแหล่งข้อมูลหลายแหล่ง แหล่งข้อมูลนั้นไม่จำเป็นต้องเข้าถึงได้ออนไลน์ และไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาไทย สิ่งพิมพ์เผยแพร่จากผู้เขียนหรือองค์การเดียวกันมักถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลเดียว เพื่อจุดประสงค์ในการพิสูจน์ความโดดเด่น
  • ในที่นี้ "ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับหัวเรื่อง" ไม่รวมผลงานที่ผลิตขึ้นจากบุคคลหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องนั้น ซึ่งมีทั้งการกล่าวถึงตนเอง การโฆษณา ผลงานตีพิมพ์ของตัวเอง อัตชีวประวัติ การแถลงข่าว เป็นต้น
  • ในที่นี้ คำว่า "สันนิษฐาน" หมายความว่า การกล่าวถึงอย่างสำคัญในแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ทำให้เกิดการสันนิษฐาน แต่มิใช่การรับประกัน ว่าหัวเรื่องนั้นเหมาะแก่การเพิ่มเป็นหัวเรื่องในวิกิพีเดีย ผู้เขียนอาจมีมติว่าหัวเรื่องหนึ่งหัวเรื่องใดไม่เหมาะแก่การแยกเป็นบทความใหม่ แม้หัวเรื่องเป็นไปตามเกณฑ์ดังนี้แล้วก็ตาม ซึ่งมีแนวโน้มมากว่าจะละเมิดข้อที่ว่า "วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งข้อมูลจิปาถะ"

หัวเรื่องที่ชุมชนมีมติเห็นว่าเข้าเกณฑ์ดังนี้โดยทั่วไปมักควรค่าแก่การรู้จัก และสอดคล้องกับเกณฑ์ข้อหนึ่งในการมีบทความของตนในสารานุกรม ข้อเท็จจริงและเนื้อหาที่พิสูจน์ยืนยันได้ซึ่งไม่ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลไม่มีส่วนได้ส่วนเสียหลายแหล่งอาจเหมาะแก่การรวมเข้าในบทความอื่น

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา