ความร่วมมือในทางปฏิบัติและปัญหาสังคมภายใน ของ วิกิพีเดีย:วิกิพีเดียไม่ดีอย่างไร

ระบบข้าราชการ

  • ถึงแม้จะกล่าวอ้างในทางตรงกันข้าม วิกิพีเดียกลับมีระบบข้าราชการเสียเอง เนื่องจากมันมีกฎจำนวนมากที่อธิบายว่าเป็น "นโยบาย" และ "แนวปฏิบัติ" โดยมีการจัดระบบตามลำดับชั้นซึ่งมีเป้าหมายที่จะบังคับกฎระเบียบเหล่านี้ (ซึ่งในบางครั้งปฏิบัติตรงกันข้าม) ในบางครั้ง กฎระเบียบเหล่านี้ถูกใช้เพื่อลบข้อมูลและภาพที่เป็นประโยชน์ และทำให้บทความมีตำหนิจากการใช้กระบวนการบังคับกฎระเบียบมากเกินไป ถึงกับมีการกล่าวว่ากระบวนการข้าราชการทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขและปรับปรุงบทความได้

ปัญหาพฤติกรรม/วัฒนธรรม

  • มีคนจำนวนมากแสดงความคัดค้านในหน้าอภิปรายโดยไม่หยุดหย่อน แทนที่จะแก้ไขสิ่งที่เป็นปัญหา ในอีกทางหนึ่ง คนอีกกลุ่มหนึ่งกล้าเกินไปที่จะอัปเดตหน้าก่อนอภิปรายการเปลี่ยนแปลงในหน้าอภิปรายก่อน เป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายอย่างละเอียดเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่มีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนนอกเหนือไปจากคำอธิบายอย่างย่อ และการแก้ไขหน้าที่ค่อนข้างถี่เมื่อไม่นานมานี้
  • การยกย่องตัวเองของผู้ใช้ที่เลวซึ่งมีอีโก้ที่เปราะบางอาจสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่นซึ่งพยายามแก้ไขการเขียนที่แย่ ความซ้ำซ้อน ไวยากรณ์เลวและการสะกด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าทำมากกว่าแก้ไขข้อผิดพลาด และพยายามอบรมบุคคลที่เขียนนั้น บางทีผู้ใช้นั้นอาจไม่รู้สึกตัวว่าตัวเองยังเด็กหรือกำลังใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ ซึ่งเป็นการบั่นทอนการแก้ไขโดยผู้ใช้ที่ต้องการปรับปรุงอคติบางอย่างหรือแก้ไขปัญหา
  • ถ้าคุณมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสะกด ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอน หรือการจัดหน้าอย่างถูกต้องในหลักภาษาไทย คุณจะลงเอยกับการแก้ไขจุดเล็กจุดน้อยมากกว่าที่จะให้ความสำคัญกับความผิดพลาดของเนื้อหา การตรวจทานไวยากรณ์นั้นสำคัญก็จริง แต่น่าเศร้าที่ผู้ใช้เหล่านี้จะไม่ได้รับการยกย่องหรือได้รางวัลใด ๆ ในกฎเกณฑ์การควบคุมในปัจจุบัน
  • หากคุณย้อนการแก้ไขหรือบล็อกผู้ใช้เร็วเกินไป บางครั้งผู้ใช้ที่เป็นประโยชน์ก็จะถอนตัวออกไป ถ้าหากคุณย้อนการแก้ไขหรือบล็อกช้าเกินไป ผู้ใช้ก็จะต้องเสียเวลาจัดการข้อมูลขยะที่กองทิ้งไว้เพิ่มขึ้น สำหรับผู้ดูแลระบบที่ก่อกวนเสียเอง มีการควบคุมที่อ่อนแอ และไม่มีอำนาจที่มีประสิทธิภาพที่จะถอดถอนผู้ดูแลระบบเหล่านี้ ถึงแม้ว่าในวิกิพีเดียภาษาอื่นจะมีการถอดถอนผู้ดูแลระบบที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่ก็มีจำนวนน้อยเท่านั้น
  • ผู้ใช้สามารถแสดงความเป็นเจ้าของเหนือเรื่องที่ตนเขียน คนเหล่านี้จะใช้เวลาและพลังงานเพื่อปกป้องผลงาน "ของพวกเขา" ผู้ใช้ที่เซ็นเซอร์ข้อความ คลั่งไคล้ หรืออุทิศตัวแบบอื่น อาจตั้งระเบียบของตัวเองหรือห้ามการเพิ่มข้อมูลใหม่ ๆ โดยให้ความสนใจเฉพาะหน้าใดหน้าหนึ่งโดยเฉพาะ
  • ผู้ใช้ส่วนใหญ่ย้อนการแก้ไขโดยไม่อธิบายเหตุผล (คำอธิบายที่สมเหตุสมผลเหมาะสำหรับหน้าอภิปรายมากกว่าในส่วนคำอธิบายอย่างย่อ) จากนั้น เมื่อมีคนอื่นมาย้อนการแก้ไขกลับ โดยไม่มีคำอธิบายเช่นกัน สงครามแก้ไขก็จะเกิดขึ้น ไม่มีการอธิบายในมารยาทวิกิพีเดียว่าการย้อนการแก้ไขที่ไม่มีคำอธิบายเป็นสิ่งที่หยาบคายและแทบจะไม่อาจยอมรับได้ ยกเว้นการลบสแปมและการก่อกวนเพียงประการเดียวเท่านั้น และถึงแม้จะเป็นการย้อนการแก้ไขที่มีลักษณะดังนี้ มันก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องระบุเหตุผลไว้เพื่อที่จะให้สืบสาวหาสาเหตุได้
  • ในวิกิพีเดียมีวัฒนธรรมของความเป็นปรปักษ์และความขัดแย้ง มากกว่าความปรารถนาดีและความร่วมมือ แม้กระทั่งผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ก็ล้มเหลวที่จะเชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี การต่อสู้ขับไล่คนป่าเถื่อนที่หน้าบ้านเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยกว่าการเชิญชวนให้พวกเขาเข้ามาร่วมในประชาคมของเรา ไม่เคยมีการยอมรับว่า "ประชาคมทั้งหลาย" ที่อาจกำลังใช้วิกิพีเดียอยู่ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นเพราะพวกเขารู้สึกว่า พวกเขาต้องตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงหรือต่อผู้คนที่กำลังใช้วิกิพีเดีย

การควบคุมผู้ใช้ที่เป็นปัญหากับการเปิดโอกาสแก่ส่วนรวม

  • ปัญหาที่เลวร้ายที่สุด คือ การที่ผู้คนคิดในแง่ของ "การควบคุม" ผู้ใช้ และการจำกัดความว่าพวกเขาเป็น "ปัญหา" ราวกับว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีมุมมองพิพากษาที่จะบรรลุอย่างยุติธรรม เป็นคุณจะพูดถึง "การควบคุมปัญหาพลเมือง" ในระบอบประชาธิปไตยหรือเปล่า ย่อมไม่ใช่แน่นอน แทนที่จะทำอย่างนั้น เราจะต้องควบคุมคำที่มีเนื้อหาทำนองนี้อย่างใกล้ชิดและเข้มงวด เช่น "ต้องสงสัย" "อาชญากร" และ "ผิดกฎหมาย" โดยทำให้คำเหล่านี้ปราศจากความหมายและไม่มีผลโดยสมบูรณ์ยกเว้นแต่ในบริบทของกระบวนการที่มีการต่อสู้และการตัดสินอย่างยุติธรรมโดยมีประวัติยาวนาน แต่กระบวนการดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นเมื่อชาววิกิพีเดียที่มีอิทธิพลบางคนตราหน้าผู้อื่นว่าเป็นปัญหา
  • มีปัญหาด้านความสมดุลและอคตินำมาซึ่งการขาดการควบคุม ผู้ใช้นิรนามที่มีความคิดเห็นที่หนักแน่นมากและมีเวลาว่างสามารถเปลี่ยนแปลงบทความจำนวนมากเพื่อสนับสนุนความคิดเห็นของพวกเขา นอกเหนือไปจากการบล็อกหมายเลขไอพีและแบนสำหรับพฤติการณ์ส่วนใหญ่ ไม่มีวิธีอื่นใดในการป้องกันการกระทำเช่นนี้ยกเว้นแต่การให้ความสนใจของผู้แก้ไขที่มีประสบการณ์ ซึ่งพบได้ยาก วิกิพีเดียไม่มีการจัดลำดับชั้นของผู้ใช้ธรรมดา ผู้ใช้อาวุโส หรือผู้ใช้เฉพาะทางเพื่อกำหนดกฎเกณฑ์สุดท้ายในประเด็นปัญหาที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง เช่น การให้ความคิดเห็นที่แตกออกเป็นสองฝ่ายตกลงกันได้
  • หากวิกิพีเดียมีรูปแบบตามลักษณะของ "ฟอรั่มประชาคม" อื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตแล้ว คนกลุ่มเล็ก ๆ ก็จะมีอำนาจในการแยกตัวออกจากคนกลุ่มอื่น ๆ และด้วยเรื่องสิทธิพิเศษ ปัญหาอคติและความเป็นปรปักษ์อันเป็นปกติวิสัยจะค่อย ๆ เลวร้ายลงเรื่อย ๆ คำว่า "เกรียน" ที่มีความหมายคลุมเครือสามารถถูกใช้เป็นข้ออ้างในการกีดกันผู้คนออกจากกระบวนการตัดสินใจเบื้องหลังสารานุกรม
  • วิกิพีเดียกลายมาเป็นสิ่งที่มีลำดับชั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อที่จะ "ป้องกันเสรีภาพ" จาก "การก่อกวน" ซึ่งขัดต่อข้อเท็จจริงที่ว่าเกรียนบนอินเทอร์เน็ตจะมีพฤติการณ์ส่อชัดเจนตามความหมายของคำ และมันกลายมาเป็นคำที่รุนแรงที่ถูกใช้เพื่อทำร้ายผู้อื่น วิกิพีเดียมีผู้ดูแลระบบผู้ซึ่งสามารถลบบทความได้ แต่ไม่มีการตรวจสอบหรือการถ่วงดุลอำนาจดังกล่าวนำเข้ามาในระบบ นอกเหนือไปจากความสนใจของผู้ร่วมแก้ไขที่มีเวลาที่จะสละ ผู้ดูแลระบบยังสามารถทำลายไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การรวมประวัติของหน้า
  • ผู้ร่วมแก้ไขได้เรียนรู้ว่าการก่อรูปแบบของ "แก๊ง" เป็นรูปแบบที่ทรงประสิทธิภาพที่สุดในการนำเสนอความคิดเห็นต่อผู้ร่วมแก้ไขที่มีความคิดเห็นตรงกันข้าม เช่นเดียวกับการอภิปรายเพื่อลบหน้า กลุ่มของผู้แก้ไขอาจก่อตัวขึ้นเพื่อลงคะแนนเสียงให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งสามารถเขียนบทความต่อไปได้ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับความสนใจของแก๊ง หรือผลักดันให้มีการลบหน้าหากเจตนาของแก๊งคือการลบ บางครั้ง แก๊งสร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย และด้วยการรวมกลุ่มกัน พวกเขาจะสามารถเขียนระเบียบได้เกือบทุกอย่าง

ผลประโยชน์ส่วนบุคคลของผู้ร่วมพัฒนาและอื่น ๆ

  • วิกิพีเดียกำลังก่อให้เกิดผู้ที่มีอาการติดวิกิพีเดียเป็นจำนวนมาก ผู้ซึ่งสามารถทำอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่มีประโยชน์มากกว่า การเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "ผู้มีอาการติด" หรือ "สาวกลัทธิ" อาจไม่ถือว่าผิดเสียทีเดียว
  • ผู้เขียนไม่สามารถอ้างสิทธิ์ความเป็นเจ้าของเหนือบทความใด ๆ ได้ นี่ทำให้เป็นการยากที่จะใช้แม้กระทั่งการเขียนบทความที่ดีอย่างน่าตื่นตาตื่นใจเป็นหนังสือรับรอง บางส่วนเนื่องมาจากบทความนี้อาจถูกเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะมีผู้มาพบเห็น
  • การใส่มุมมองที่เป็นพิษภัยหรือโง่เขลาในวิกิพีเดียอาจเรียกสาวกจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว และผู้ปกป้องมุมมองใดมุมมองหนึ่งก็จะโน้มเอียงไปทางสร้างกลุ่มที่จะเกิดขึ้นในโลกออฟไลน์ในไม่ช้า และกลุ่มที่ทราบว่าตนเองประสบความยุ่งยากลำบากหรือเสียเปรียบจะจำกลุ่มรวมกับอีกกลุ่มหนึ่งโดยฉับพลัน วิกิพีเดียเป็นที่ผสมพันธุ์ของลัทธิสำหรับศตวรรษนี้หรือ
  • แทนที่จะกล่าวถึงข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียว ผู้เขียนหลายคนมักรู้สึกต้องการโจมตีสิ่งที่เป็นหัวเรื่องของบทความเดียว กลุ่มคนเหล่านี้มักจะใช้ถ้อยคำที่ฟังดูอวดอ้างว่าพวกเขาได้ระบุ "ความเชื่อทั่วไป" อย่างถูกต้องหรือ "สมมุติฐานแบบผิด ๆ" ในขณะที่ข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียวก็เพียงพอแล้ว
  • ข้อเท็จจริงที่ว่าผู้เขียนคนใดก็สามารถแก้ไขบทความใดก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความสามารถในหัวเรื่องของบทความอาจเป็นอันตรายต่อคุณภาพของบทความเฉพาะทาง ในกรณีที่เกิดข้อขัดแย้งในเนื้อหาของบทความดังกล่าวเกิดขึ้น ผู้เขียนที่ไม่มีความสามารถเฉพาะทางอาจเขียนเนื้อหาตามความเข้าใจผิด ๆ ของตนได้
  • การพิจารณาการลบขึ้นอยู่กับผู้ใช้ที่ทำการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลสำหรับวิกิพีเดีย ในทางปฏิบัติ ผู้ใช้พิจารณาว่าบทความใดควรลบหรือไม่ราวกับเป็นการประกวดความเป็นที่นิยมของบทความมากกว่าการทำตามนโยบาย ในทางทฤษฎี ผู้ดูแลระบบควรจะปรับปรุงระบบดังกล่าวโดยการตรวจสอบการร่างนโยบาย แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ดูแลระบบมักจะนับการออกเสียงแทนที่จะใช้วิธีการอื่นที่เหมาะสม

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา