คู่มือวิธีการเขียนบทความสัตว์ ของ วิกิพีเดีย:โครงการวิกิสัตววิทยา

คู่มือวิธีการเขียนบทความสัตว์ เป็นคู่มือแนะนำหลักการเขียนบทความสัตว์ในวิกิพีเดีย จากจุดเริ่มต้นของการเขียนบทความ จนสามารถไต่ระดับของการเขียนจาก {{โครง}} เพื่อให้ได้ระดับ {{บทความคัดสรร}} โดย ใช้แม่แบบ {{Taxobox}} หรือ {{ตารางจำแนกพันธุ์}} ในการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์สำหรับการจำแนกสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์ โดยดูรายละเอียดการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ได้ที่การอ่านตารางจำแนกพันธุ์

การใช้กล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์

การใช้กล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ เป็นการแนะนำเบื้องต้นของการเริ่มเขียนบทความสัตว์ ทุก ๆ คนที่มีความสนใจที่จะเริ่มต้นการเขียนบทความสัตว์ในวิกิพีเดีย สามารถเริ่มต้นก้าวแรกของบทความ ด้วยการคัดลอกเอา code ของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์จากบทความสัตว์จากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และนำมาใช้งานในวิกิพีเดียไทยได้ทั้งหมด เพราะการแสดงผลของกล่องข้อมูล ถูกกำหนดค่าไว้ให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทย โดยลักษณะเฉพาะของกล่องข้อมูลตาราจำแนกพันธุ์สำหรับสัตว์ มีรายละเอียดดังนี้

  1. สีกล่องข้อความ เป็นสีที่ใช้สำหรับแบ่งแยกสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ตามโดเมนและอาณาจักร โดยสีของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ จะจำแนกสีของกล่องข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ สำหรับสีของอาณาจักรสัตว์ เป็นสี
    • โดยกำหนดในส่วนของ | regnum =Animalia สีของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์จะกำหนดสีให้อัตโนมัติทันที
  2. ชื่อสามัญ เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกขานสิ่งมีชีวิตกันทั่ว ๆ ไป โดยเขียนชื่อสามัญเพื่อกำหนดให้รู้ว่า สิ่งมีชีวิตนี้คืออะไร? แต่ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ ไม่มีชื่อสามัญที่เป็นที่ยอมรับ ผู้เริ่มต้นการเขียนบทความสามารถนำชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตนั้นมาใส่แทนได้
  3. ภาพของสิ่งมีชีวิต เป็นภาพที่ใช้แสดงเพื่อบ่งบอกลักษณะทางกายภาพของสิ่งมีชีวิต ส่วนใหญ่เป็นภาพถ่ายของสิ่งมีชีวิต แต่ในกรณีที่ไม่สามารถหาภาพถ่ายของสิ่งมีชีวิตได้ เช่นสิ่งมีชีวิตนั้นได้สูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว สามารถใช้ภาพวาดของสิ่งมีชีวิตนั้นมาแทนได้
    • การนำภาพของสิ่งมีชีวิตมาใช้ประกอบในกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ สามารถใช้ได้ทั้งภาพแนวตั้งและแนวนอน โดยกำหนดขนาดของภาพที่นำมาใช้ที่ขนาด 250px
    • หากต้องการภาพของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ สามารถนำภาพสิ่งมีชีวิตสวย ๆ จากวิกิคอมมอนส์ อาณาจักรสัตว์มาประกอบบทความ
  4. คำบรรยาย เป็นคำบรรยายที่ใช้ในการอธิบายรายละเอียดภาพ แหล่งที่มา ชื่อผู้ถ่าย หรืออื่น ๆ ถ้าไม่สามารถกำหนดคำบรรยายได้ ให้ปล่อยว่างไว้ เช่นตัวอย่างคำบรรยายของภาพ "เสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำ ซึ่งแตกต่างจากเสือชนิดอื่น ๆ"
  5. การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ เป็นการแสดงการจัดสายวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะสัมพันธ์กับลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ซึ่งประกอบด้วยชื่อชั้นการจำแนกต่าง ๆ เช่น
  6. ข้อมูลทั่วไป
    • ชื่อทวินาม หรือ ชื่อไตรนาม (หรือชื่อวิทยาศาสตร์) เป็นการเขียนชื่อที่กำหนดให้แก่สิ่งมีชีวิตในแต่ละสปีชีส์ เพื่อให้เข้าใจได้โดยทั่วกัน ถ้ามีสองส่วนเรียกชื่อทวินาม และถ้ามีสามส่วนก็เรียกชื่อไตรนาม และชื่อย่อนักวิทยาศาสตร์ เป็นชื่อย่อของนักวิทยาศาสตร์ผู้ตีพิมพ์ชื่อวิทยาศาสตร์นั้นเป็นครั้งแรก มักใส่ไว้ท้ายชื่อวิทยาศาสตร์ เมื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในงานตีพิมพ์ต่าง ๆ โดยมีกฎเกณฑ์บางประการคือใส่ชื่อสกุลเต็ม เมื่อใช้กับสัตว์ (มักใส่ปีที่ตีพิมพ์ด้วย) เช่น
    • สถานะการอนุรักษ์ เป็นการแสดงเฉพาะสิ่งมีชีวิตบางสปีชีส์เท่านั้น โดยเฉพาะในอาณาจักรสัตว์ ที่มีสถานการณ์การดำรงเผ่าพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์หรือสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว แต่โดยส่วนมากในวิกิพีเดียไทยจะไม่นิยมเขียนไว้นอกจากสิ่งมีชีวิตนั้นอยู่ในสถานะที่วิกฤติต่อการสูญพันธุ์
  7. การกระจายและถิ่นอาศัย สิ่งมีชีวิตบางสปีชีส์ อาจมีข้อมูลสำรวจเรื่องถิ่นที่อยู่ นิยมที่จะทำแผนที่แสดงเขตถิ่นที่อยู่กำกับบทความ
  8. นอกเหนือจากนี้ อาจมีข้อมูลอื่น ๆ เช่นชื่อพ้อง (synonym) ฯลฯ

สถานะการอนุรักษ์

สถานะการอนุรักษ์ (Conservation status) เป็นตัวเลือกเสริมสำหรับแสดงสถานะอนุรักษ์ของสิ่งมีชีวิต ที่ทุกคนเลือกที่จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้ โดยกำหนดสถานะอนุรักษ์ลงในกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ ในรูปแบบดังต่อไปนี้

| status = code

หรือกำหนดสถานะอนุรักษ์ในกรณีที่สามารถระบุปีที่สูญพันธุ์ได้ เช่น

| status = EX| extinct = 1992

กรณีเป็นสถานะปกติที่ไม่ใช่สูญพันธุ์ (EX) ไม่ต้องใส่ปีที่สูญพันธ์ (| extinct = 1992) เพราะจะไม่แสดงผลใด ๆ โดยรหัสสถานะอนุรักษ์และผลลัพทธ์ที่ปรากฏในกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ มีดังนี้

ภาพสถานะอนุรักษ์รหัสความหมาย
SEปลอดภัยจากการคุกคาม
DOMเป็นสัตว์เลี้ยงหรือพืชสวน
LCความเสี่ยงต่ำ
NTความเสี่ยงต่ำแต่ควรรีบดำเนินการอนุรักษ์
VUมีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
ENมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญพันธุ์
CRกำลังจะสูญพันธุ์
PEWอาจจะสูญพันธ์ไปจากธรรมชาติแล้ว
PEอาจจะสูญพันธุ์ไปแล้ว
EWสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติ แต่ยังมีในการเพาะเลี้ยงหรือสวนสัตว์
EXสูญพันธุ์ไปจากโลกนี้แล้ว

วิธีใช้งาน

วิธีใช้งานกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์สำหรับบทความสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสัตว์ ให้ทำการคัดลอกข้อมูลทางด้านล่างนี้ แล้วนำไปใส่ไว้ในส่วนบนสุดของบทความสัตว์ที่เริ่มดำเนินการเขียน

code ของกล่องข้อมูลตารางจำแนกพันธุ์ที่นำมาใส่การจำแนกพันทางวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต
 {{Taxobox| name = | status = | trend = | status_ref = | image = | image_caption = | image_width = | regnum = | phylum = | classis = | ordo = | familia = | genus = | species = | binomial = | binomial_authority = | synonyms = | range_map = | range_map_caption = }}
-  เสือ-  EN-  down-  {{ส่วนนี้เป็นการอ้างอิงของบทความ ถ้าไม่มีอ้างอิงก็เว้นว่างไว้}}-  Tigerramki.jpg-  [[Bengal Tiger]] (''P. tigris tigris'') -  250px -  [[สัตว์]] ([[Animalia]])-  [[สัตว์มีแกนสันหลัง]] ([[Chordata]])-  [[สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม]] ([[Mammal]]ia)-  [[สัตว์กินเนื้อ]] ([[Carnivora]])-  [[วงศ์เสือและแมว]] ([[Felidae]])-  [[สกุลเสือ]] ([[Panthera]])-  [[เสือโคร่ง]] (P. tigris)-  Panthera tigris-  ([[Carolus Linnaeus|Linnaeus]], [[1758]])-  {{ส่วนนี้เป็นส่วนของชื่อพ้องของสิ่งมีชีวิต ถ้ามีก็ใส่ แต่ถ้าไม่มีก็เว้นว่างไว้}}-  Tiger_map.jpg-  Historical distribution of tigers (pale yellow) and 2006 (green) 

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา