ประวัติการพัฒนา ของ วิกิสนเทศ

A layout of the four main components of a phase 1 Wikidata page, the label, description, aliases, and interlanguage links.ระบบลิงก์ข้ามภาษาแบบเดิมก่อนมีโครงการวิกิสนเทศ สำหรับแต่ละบทความในทุก ๆ ภาษาจะมีรายการลิงก์ข้ามภาษาของตัวเอง วิกิสนเทศเข้ามาช่วยเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมลิงก์เหล่านี้ลิงก์โยงไปหาโครงการวิกิสนเทศเพื่อแก้ไขลิงก์ข้ามภาษา

วิกิสนเทศเปิดตัวเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 และเป็นโครงการใหม่ของมูลนิธิวิกิมีเดียโครงการแรกนับแต่ พ.ศ. 2549[1][3][4]

โครงการได้รับการสนับสนุนด้วยเงินบริจาคจาก Allen Institute for Artificial Intelligence, Gordon and Betty Moore Foundation, และกูเกิล รวมทั้งสิ้น 1.3 ล้านยูโร[5][6] การพัฒนาในระยะแรกกำกับดูแลโดย Wikimedia Deutschland และแบ่งออกเป็นสามระยะ

  1. การรวมศูนย์ลิงก์ข้ามภาษา – ลิงก์ที่เชื่อมโยงระหว่างบทความวิกิพีเดียในหัวข้อเดียวกันแต่อยู่คนละภาษา
  2. เป็นศูนย์กลางสำหรับข้อมูลในกล่องข้อมูลสำหรับวิกิพีเดียทุกภาษา
  3. สร้างและปรับปรุงบทความรายชื่อโดยใช้ข้อมูลจากวิกิสนเทศ

การดำเนินการระยะแรกได้เปิดตัวเมื่อ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555 โดยเปิดให้สร้าง item และใส่ข้อมูลพื้นฐาน a label—a name or title, aliases—alternative terms for the label, a description, and interlanguage links สำหรับบทความวิกิพีเดียในหัวข้อหนึ่ง แต่ละ item จะมีหมายเลขประจำตัวกำกับโดยมีตัวอักษร Q นำหน้า เช่น item สำหรับการเมืองคือ Q7163 วิธีการนี้ทำให้สามารถแปลข้อมูลเป็นภาษาต่าง ๆ ได้โดยไม่เอนเอียงไปยังภาษาใดภาษาหนึ่ง

ช่วงแรกนั้นวิกิสนเทศเป็นแหล่งรวมลิงก์ข้ามภาษาของวิกิพีเดีย โดยที่วิกิพีเดียยังไม่อาจเข้าถึงวิกิสนเทศได้โดยตรงและต้องมีชุดข้อมูลลิงก์ข้ามภาษาของตนเอง วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียภาษาฮังการีเป็นวิกิพีเดียภาษาแรกที่เริ่มให้ใช้ลิงก์ข้ามภาษาผ่านวิกิสนเทศ[7] ความสามารถใหม่นี้ได้ขยายออกไปสู่วิกิพีเดียภาษาฮิบรูและภาษาอิตาเลียน ในวันที่ 30 มกราคม[8] ต่อมาจึงขยายสู่วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ และจะขยายสู่ทุกภาษาในวันที่ 6 มีนาคม[9]

การดำเนินการระยะที่สองได้เริ่มเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 โดยเริ่มนำ key-value pair มาเชื่อมโยงวิกิพีเดียและวิกิสนเทศเข้าด้วยกัน โดยค่าที่ใช้ได้ยังจำกัดอยู่เฉพาะข้อมูลสองชนิด คือ (items และภาพบนวิกิมีเดียคอมมอนส์) โดยข้อมูลประเภทอื่น เช่น พิกัดภูมิศาสตร วันที่ จะตามมาในภายหลัง วิกิพีเดียภาษาต่าง ๆ ยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ที่เป็นส่วนของการพัฒนาระยะที่สองได้[10]

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิกิสนเทศ http://articles.businessinsider.com/2012-03-30/tec... http://techcrunch.com/2012/03/30/wikipedias-next-b... http://blog.wikimedia.de/2013/01/14/first-steps-of... http://blog.wikimedia.de/2013/01/30/wikidata-comin... http://blog.wikimedia.de/2013/02/13/wikidata-live-... http://wikidata-test.wikimedia.de http://www.wikimedia.de/wiki/Pressemitteilungen/PM... http://www.webcitation.org/6AbXpDAbW http://www.webcitation.org/6AbXpnJB6 http://www.webcitation.org/6AbXqFps3