อิทธิพลของวิชวลเคในสังคมไทย ของ วิชวลเค

วงจีว่าวงที่มีภาพลักษณ์แบบวิชวลเควงแรกๆในเมืองไทย

วัฒนธรรมวิชวลเคเข้ามามีอิทธิพลในสังคมไทยราวปลายทศวรรษที่ 1980 (ราว พ.ศ. 2530) โดยวัฒนธรรมที่ถูกนำเข้ามาในยุคนี้นั้นเป็นวัฒนธรรมในช่วงที่วิชวลเคยังถูกเรียกว่าวิชวลร็อกอยู่ ซึ่งทำให้ในปัจจุบันสังคมไทยยังเข้าใจวัฒนธรรมวิชวลเคด้วยการติดภาพของวงวิชวลร็อกในยุคแรกนี้

วัฒนธรรมวิชวลเคที่ถูกนำเข้ามาสู่สังคมไทยในส่วนของดนตรีนั้นที่เด่นชัดที่สุดคือเพลง "Say Anything" ของวงเอ็กซ์ที่ถูกนำมาเรียบเรียงเนื้อร้องใหม่เป็นเพลง "เธอไม่เคยตาย" โดยวงทู(อังกฤษ: Two) และในช่วงเวลาเดียวกันนี้วงวิชวลเคจำนวนมากได้กลายเป็นที่รู้จักในสังคมไทย โดยสังคมไทยมักเรียกวงเหล่านี้ว่าวงเจร็อก และเจป็อป ซึ่งวงเหล่านี้ก็สร้างแฟนคลับได้มากพอสมควร ในเวลาต่อมาวงจิว่า (อังกฤษ: Jiwa) [16] และ เพาเวอร์แพท(อังกฤษ: Power Pat) เป็นวงดนตรีไทยวงแรกๆที่นำเสนอภาพลักษณ์ของวงในแบบโคเทะโอสะเค รวมถึงการเรียบเรียงเนื้อร้องและทำนองแบบวิชวลเค นอกจากนี้ไมเคิล ตั๋ง ยังเคยใช้ภาพลักษณ์แบบโคเทะเคมาประกอบการแสดงในวง ฮ็อทด็อก (อังกฤษ: Hot Dog) นอกจากนี้วัฒนธรรมวิชวลเคโดยเฉพาะวัฒนธรรมโคเทะโคเทะยังมีความสัมพันธ์กับจุดเริ่มต้นของกิจกรรมการแต่งคอสเพลย์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสังคมไทยช่วงราว พ.ศ. 2541 อีกด้วย[17] ในปัจจุบันวัฒนธรรมวิชวลเคแนวต่างๆก็ยังเป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีในสังคมไทย และมีนักดนตรีจำนวนหนึ่งที่ยังคงเล่นเพลงของวงวิชวลเคทั้งในแบบเพลงคัพเวอร์ และเพลงต้นฉบับ อาทิ วง ครักซ์ (อังกฤษ: Crux), วงเดิรท บีช (อังกฤษ: Dirt Beach), วงลาเมนเทีย (อังกฤษ: Lamentia)[18] , วงเมลโรส (อังกฤษ: Malerose)[19], วงชายกะสัน[20] เป็นต้น

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิชวลเค http://www.bounce.com/article/article.php/3419/ http://jrock-explosion.exteen.com/bands-1 http://moonclock.exteen.com/20100121/j-rock http://www.facebook.com/pages/%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E... http://www.gojapango.com/culture/j_rock.html http://www.jame-world.com/us/articles-6156-nagoya-... http://www.propsops.com/cosplaywiki/%E0%B8%84%E0%B... http://www.siamzone.com/board/view.php?sid=1775112 http://www.urbandictionary.com/define.php?term=ang... http://www.urbandictionary.com/define.php?term=ang...