ประเด็นถกเถียง ของ วิดีโอเกมในประเทศไทย

ใน พ.ศ. 2551 เกมแกรนด์เธฟต์ออโต 4 เป็นประเด็นถกเถียงในประเทศไทยหลังจากเด็กนักเรียนมัธยมปลาย อายุ 18 ปีคนหนึ่งแทงคนขับรถแท็กซี่เสียชีวิต เด็กอายุ 18 ปีสารภาพว่าขโมยรถแท็กซี่และฆ่าคนขับรถอายุ 54 ปีหลังจากเขาต่อสู้กลับ ต่อมากล่าวว่า "การฆ่าคนในเกมนั้นง่าย" ต่อมา เกมดังกล่าวที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกาถูกห้ามจำหน่ายในประเทศไทย[7][8]

หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติสั่งห้ามจำหน่ายวิดีโอเกม ทรอปิโก 5 ซึ่งผู้เล่นสามารถเป็นผู้เผด็จการในรัฐที่เป็นเกาะ นงลักษณ์ สหวัฒนพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขายของนิวอีราไทยแลนด์ กล่าวว่า "บางส่วนของเนื้อเรื่องในเกมกระทบสถานการณ์ในประเทศไทย" และแม้ว่านงลักษณ์จะรู้สึก "ผิดหวัง" กับการตัดสินใจครั้งนี้ บริษัทจำต้องปฏิบัติตามคำสั่งห้าม[9][10]

ใกล้เคียง

วิดีโอเกม วิดีโอ วิดีโอเกมใน พ.ศ. 2562 วิดีโอเกมใน พ.ศ. 2556 วิดีโอเกมในปี พ.ศ. 2552 วิดีโอเกมในประเทศไทย วิดีโอเกมยิงมุมมองบุคคลที่หนึ่ง วิดีโอโฟน วิดีโอเกมยิงเชิงยุทธวิธี วิดีโอบล็อก

แหล่งที่มา

WikiPedia: วิดีโอเกมในประเทศไทย http://www.gamesindustry.biz/articles/2015-10-15-c... http://tech.firstpost.com/news-analysis/sony-start... http://fortune.com/2015/02/05/southeast-asia-video... http://kotaku.com/military-ruled-thailand-bans-gam... http://www.sanukgames.com/ http://news.bbc.co.uk/newsbeat/hi/technology/newsi... http://www.independent.co.uk/life-style/gadgets-an... http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/tha... https://www.techinasia.com/6-games-thai-game-studi... https://www.techinasia.com/asiasoft-founder-story-...