วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก
วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก

วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก

วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก (อังกฤษ: sedentary lifestyle) เป็นรูปแบบหนึ่งของวิถีการใช้ชีวิตที่ประกอบด้วยการมีกิจกรรมทางกายน้อยมากจนถึงไม่มีเลย บุคคลที่มีวิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากมักนั่งหรือนอนขณะทำกิจกรรมจำพวกอ่านหนังสือ, เข้าสังคม, ชมโทรทัศน์, เล่นวิดีโอเกม หรือใช้โทรศัพท์มือถือ/คอมพิวเตอร์ เป็นเวลาส่วนใหญ่ของวันหนึ่ง ๆ วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ และอาจนำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตที่ป้องกันได้[1][2]เวลาบนหน้าจอ หรือ สกรีนไทม์ (อังกฤษ: screentime) เป็นคำศัพท์ยุคปัจจุบันที่หมายถึงระยะเวลาที่บุคคลหนึ่งใช้ในการจ้องหน้าจอทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสาร สกรีนไทม์ที่มากเกินไปนั้นมีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อสุขภาพในทางลบ[3][4][5][6]อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากนั้นไม่เหมือนกันกับการขาดการเคลื่อนไหวทางกาย (physical inactivity) โดยที่วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากนั้นมีการให้คำนิยามไว้ว่าเป็น "พฤติกรรมขณะตื่น (waking behaviours) ที่มีลักษณะการใช้พลังงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เมทาบอลิกอีควิวาเลนต์ (metabolic equivalents; METs) ในขณะนั่ง นอน หรือนอนแผ่" การใช้เวลาส่วนใหญ่ขณะตื่น (waking hours) หมดไปกับการนั่งเฉย ๆ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมีสิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากเสมอไป[7] ถึงแม้มันจะถูกเรียกว่าเป็นแบบนั้นอยู่บ่อยครั้งก็ตาม[8]