ประวัติ ของ วิทยาลัยประชากรศาสตร์_จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อปี พ.ศ. 2501 ม.จ.อธิพรพงศ์ เกษมศรี ผู้อำนวยราชการสถิติ สำนักงานสถิติกลาง ได้ให้การสนับสนุนคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อส่งอาจารย์ไปศึกษาต่อด้านประชากรศาสตร์และกลับมาสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการติดต่อกับสภาประชากรแห่งนครนิวยอร์ก ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2505 มูลนิธิฟอร์ด ได้ส่งคณะทำงาน ซึ่งมีศาสตราจารย์ฟิลลิป เอ็ม เฮาเซอร์ จาก มหาวิทยาลัยชิคาโก เป็นหัวหน้าคณะ เสนอให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการแก่หน่วยงานราชการไทย รวมทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางด้านประชากร โดยทางคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่างโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร เมื่อปี พ.ศ. 2508 ซึ่งได้รับทุนดำเนินการเริ่มแรกมาจากสภาประชากรแห่งนครนิวยอร์ก และนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2509 แต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา กรรมการบริหาร และเจ้าหน้าที่ของ "ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร" เพื่อเริ่มดำเนินงานเป็นทางการ ต่อมาเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2513 "ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมทางประชากร" ได้รับการยกฐานะเป็น "สถาบันประชากรศาสตร์" ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยแห่งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ และสถาบันประชากรศาสตร์ได้รับการยกฐานะอีกครั้งเป็น "วิทยาลัยประชากรศาสตร์" เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาด้านการวิจัย รวมทั้งเป็นแหล่งข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ของประเทศ และระดับนานาชาติ

ใกล้เคียง