ประวัติ ของ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ_มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ระบุไว้ว่า "บุคคลย่อมเสมอภาคกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสุขภาพของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และการบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ"

เมื่อปี พ.ศ. 2545 ประกาศใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายให้ประชาชนทุกคนได้รับบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ซึ่งการที่จะบรรลุตามเป้าหมายนั้นได้จะต้องมีบุคลากรด้านสุขภาพเพื่อให้บริการทางสาธารณสุขให้มีจำนวนเพียงพอ และมีประสิทธิภาพที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ที่จะช่วยตอบสนองนโยบายของรัฐในการผลิตบัณฑิตทางการพยาบาล เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาสุขภาพของประชาชน ตลอดจนความเสมอภาคของประชาชน ในการได้รับการบริการสุขภาพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศต่อไป

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตโดยคณะกรรมการมีหน้าที่วางแผนและกำหนดทิศทางในการเปิดสอนสาขาพยาบาลศาสตร์ และดำเนินโครงการจัดตั้งวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพจัดทำหลักสูตร ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปิดสอนและการจัดตั้ง "วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ" เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ

คณะกรรมการฯ ได้ยกร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และประชุมวิพากษ์หลักสูตร 2 ครั้ง โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากนั้นร่างหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย และคณะกรรมการสภาวิชาการของมหาวิทยาลัย และนำเข้าสู่การพิจารณาของสภามหาวิทยาลัยในคราวประชุม เมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 ซึ่งสภามหาวิทยาลัยมีมติให้ความเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่) พ.ศ. 2550 และอนุมัติการเปิดรับนักศึกษาในภาคเรียนที่ 1/2550 ต่อมาสภามหาวิทยาลัยมีมติในคราวประชุม

ต่อมาวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 สภามมหาวิทยาฯ ได้อนุมัติโครงการจัดตั้งวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ และสภาการพยาบาลมีมติให้การรับรองวิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและให้ความเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตในเมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2550

ปีพ.ศ. 2550 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ เริ่มเปิดสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเป็นรุ่นแรก รับโดยรับนักศึกษาจำนวน 80 คน จนกระทั่งปัจจุบัน[1]

ใกล้เคียง

วิทยา วิทยาศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาการหุ่นยนต์ วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาการข้อมูล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม