วิปัสสนากรรมฐาน ของ วิปัสสนา

วิปัสสนากรรมฐาน หมายถึง การปฏิบัติกรรมฐานตามแนวทางในมหาสติปัฏฐานสูตร คือ การเจริญสติอันเป็นไปใน กาย เวทนา จิต และธรรม

วิปัสสนากรรมฐาน แบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ 1.มีฌานเป็นบาท และ2.วิปัสสนานิยม[4]

ในมหาสติปัฏฐานสูตร อิริยาปถบรรพะ สัมปชัญญบรรพะ ธาตุมนสิการบรรพะ เวทนาบรรพะ จิตตบรรพะ นีวรณบรรพะ ขันธบรรพะ อายตนบรรพะ โพชฌังคบรรพะ และสัจจะบรรพะ จัดเข้าในฝ่ายของวิปัสสนานิยม เพราะไม่สามารถทำให้บรรลุอัปปนาสมาธิได้, ส่วน อานาปานบรรพะ และปฏิกูลมนสิการบรรพะ จัดเข้าในฝ่ายของมีฌานเป็นบาท เพราะสามารถทำให้บรรลุอัปปนาสมาธิได้, ส่วน นวสีวถิกาบรรพะ จัดเข้าทั้งในฝ่ายมีฌานเป็นบาทและฝ่ายวิปัสสนานิยม เพราะบางศพในนวสีวถิกาบรรพะมีลักษณะเป็นอารมณ์ให้บรรลุอัปปนาสมาธิได้ แต่บางศพมีลักษณะไม่สามารถเป็นอารมณ์ให้บรรลุอัปปนาสมาธิได้ เช่น ศพที่กลายเป็นผงธุลี,และทุกบรรพะที่จัดเข้าในฝ่ายวิปัสสนานิยม มีเพียงธาตุมนสิการบรรพะเท่านั้นที่เป็นอารมณ์ให้บรรลุอุปจารสมาธิได้ นอกนั้นเป็นอารมณ์แห่งขณิกสมาธิทั้งสิ้น


การเจริญวิปัสสนาแบบมีฌานเป็นบาท หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อไปตามลำดับ ปกติจะหมายถึงผู้เจริญอานาปานสติ จนบรรลุอานาปานสติ16ขั้นตามลำดับจนบรรลุมรรคผลนิพพานเนื่องจากอานาปานบรรพะ บรรลุได้ถึงจตุตถฌาน จึงสามารถเข้าถึงเวทนานุปัสสนาโดยมีฌานเป็นบาทฐานได้ส่วนปฏิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะ แม้จะบรรลุอัปปนาสมาธิได้ แต่ก็บรรลุได้เพียงปฐมฌาน จึงไม่สามารถเข้าถึงเวทนานุปัสสนาโดยมีฌานเป็นบาทฐานได้ เพราะการจะเข้าเวทนานุปัสสนาโดยมีฌานเป็นบาทฐาน ต้องบรรลุทุติยฌานขึ้นไป เพราะละวิตก วิจาร มีปีติ สุข เอกกัคคตา เมื่อหายใจเข้าออกมีปีติก็รู้, ต้องบรรลุตติยฌานขึ้นไป เพราะละวิตก วิจาร ปีติ มีสุข เอกกัคคตา เมื่อหายใจเข้าออกมีสุขก็รู้ เพราะปฏิกูลมนสิการบรรพะและนวสีวถิกาบรรพะมีอารมณ์เป็นอสุภะเป็นอารมณ์ฝ่ายโทมมัส แม้บรรลุได้เพียงปฐมฌานแต่ก็เป็นบาทฐานให้พิจารณาพระไตรลักษณ์ได้อย่างชัดเจน เหมือนดังพระอรหันต์ในครั้งพุทธกาลที่บรรลุธรรมจากการพิจารณาเส้นผมในขณะปลงผม หรือ บรรลุธรรมในขณะพิจารณาซากศพ

ส่วนวิปัสสนานิยม หมายถึง ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน จนบรรลุโสฬสญาณ 16 ตามลำดับจนบรรลุมรรคผลนิพพานโดยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานแบบวิปัสสนานิยม จะทรงสมาธิไว้แค่ขณิกสมาธิ เน้นรู้เท่าทันอย่างมีสติ มีสมาธิไว้เพียงเพื่อช่วยให้กำกับจิตให้จดจ่ออยู่กับสติ,อยู่กับงานที่ทำ,อารมณ์กรรมฐานที่กำหนด โดยกำหนดสติรับรู้จากน้อยไปหามาก ยิ่งมีอารมณ์กำหนดน้อยก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย ถ้ามีอารมณ์ให้กำหนดกว้างมากสมาธิจะน้อยจนไม่เป็นอันปฏิบัติ เพราะสมาธิคือความตั้งใจของจิต ถ้าสมาธิมีมากเกินไปจิตจะดิ่งนิ่งไม่มีสติ อุบายคือเมื่อสมาธิมีมากเกินไป เพราะเริ่มชำนาญต่ออารมณ์กรรมฐานที่กำหนด ให้เพิ่มการรับรู้ของสติให้มากขึ้นกว้างขึ้นละเอียดขึ้นทีละน้อย ด้วยการเพิ่มอารมณ์ที่ต้องกำหนดให้มากขึ้นกว้างขึ้นละเอียดขึ้น ทีล่ะน้อย ถ้าเพิ่มมากเกินไปจะสูญเสียสมาธิที่ใช้ในการกำหนดอารมณ์กรรมฐานกลายเป็นฟุ้งซ่านหรือขี้เกียจไป ถ้าจิตรับรู้น้อยอย่างจะเกิดสมาธิได้ง่าย ถ้าจิตรับรู้มากอย่างจะเกิดสติมากแต่จะอ่อนสมาธิจนอาจไม่สนใจเจริญสติ จึงต้องค่อยๆเพิ่มทีล่ะน้อย เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติชำนาญจนเคยชินจะกลายเป็นสมาธิมากขึ้นเอง จึงต้องค่อยๆเพิ่มการรับรู้ของสติไปเรื่อยๆ เพื่อลดกำลังของสมาธิด้วยสติ, แต่แม้จะไม่เพิ่มการกำหนดของให้มากขึ้นกว้างขึ้นละเอียดขึ้น เพื่อหวังให้สมาธิคงอยู่นาน แต่การกระทำเช่นนั้น อาจทำให้สมาธิค่อยๆอ่อนกำลังได้เช่นกัน เหมือนการที่อะไรจนเคยชินจนคล่องมาก จะเริ่มไม่มีสมาธิต่อสิ่งนั้น เริ่มทำสิ่งนั้นไปพร้อมกับสิ่งอื่นได้ง่ายๆ ดังนั้นการจะสร้างสมาธิเมื่อจิตเริ่มชำนาญต่ออารมณ์ที่มีอยู่ ก็คือการกำหนดสติให้มากขึ้นกว้างขึ้นละเอียดขึ้น จิตจึงจะกลับมีสมาธิต่ออารมณ์กรรมฐานได้ดีต่อไป การใช้สติลดกำลังสมาธิแบบนี้ สติจะกล้าแข็งกว่าสมาธิไปทีล่ะระดับขั้น สติที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจะเกิดสภาวะธรรมที่เรียกโสฬสญานตามลำดับ